กระทรวงสาธาณสุข (สธ.) อยู่ระหว่างจัดทำแผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยว่า จังหวัดไหนมีผู้ป่วยโรค COVID-19 จำนวนเท่าไร เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินความเสี่ยงในการใช้ชีวิตของตนเองได้ ซึ่ง สธ.จะพัฒนาให้ประชาชนเช็กได้ผ่านแอปพลิเคชัน COVID Tracker by MOPH แต่จากการตรวจสอบยังไม่มีการเปิดให้บริการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 วันที่ 20 มี.ค. ในการแถลงข่าวได้มีการแสดงภาพแผนที่เบื้องต้นที่แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเป็นข้อมูลจำนวนผู้ป่วยของวันที่ 19 มี.ค. 2563 คือ จำนวนผู้ป่วย 272 รายกระจายในพื้นที่ 24 จังหวัด ประกอบด้วย
กรุงเทพมหานคร 213 ราย จาก 13 เขต
สมุทรปราการ 12 ราย จาก 4 อำเภอ
เชียงใหม่ 7 ราย จาก 2 อำเภอ
ปัตตานี 6 ราย จาก 2 อำเภอ
ชลบุรี 5 ราย จาก 2 อำเภอ
ภูเก็ต 5 ราย จาก 1 อำเภอ
ยะลา 3 ราย จาก 2 อำเภอ
นครราชสีมา 2 ราย จาก 1 อำเภอ
นราธิวาส 2 ราย จาก 1 อำเภอ
ปทุมธานี 2 ราย จาก 1 อำเภอ
ประจวบคีรีขันธ์ 2 ราย จาก 1 อำเภอ
เพชรบูรณ์ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครปฐม นครศรีธรรมราช นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทุรสาคร สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากการแถลงข่าวจำนวนผู้ป่วยของ สธ.ในวันนี้ (20 มี.ค.) พบว่า มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ สงขลา นครสวรรค์ และนครนายก ทำให้วันที่ 20 มี.ค. มีผู้ป่วยกระจายจำนวน 27 จังหวัด
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ความเสี่ยงติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน อย่างที่เห็นจะพบว่ากระจุกตัวอยู่ใน กทม. ซึ่งผู้ป่วยพื้นที่ภาคกลาง และหลายจังหวัด ความเสี่ยงมาจากสนามมวยและสถานบันเทิง ส่วนภาคใต้ตอนล่างเป็นผลมาจากการระบาดของประเทศมาเลเซียและมีคนไทยส่วนหนึ่งไปทำพิธีทางศาสนาที่นั่น ดังนั้น แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน จึงขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไม่ต้องตระหนก แต่ให้ตระหนัก ตอนนี้มติ ครม.ชัดเจน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาปิดพื้นที่เสี่ยง
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า อีกส่วนที่ต้องย้ำคือ ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ไหน วิธีปฏิบัติตัวให้ปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง คือ รู้วิธีการป้องกัน ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่น แยกของใช้ แยกสำรับอาหาร งดการเดินทางที่ไม่จำเป็น งดกิจกรรมสังคมที่มีคนหมู่มาก และที่สำคัญมากที่สุดคือกรณีป่วยต้องรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว และสังคมด้วยการไม่ไปไหนให้อยู่กับบ้าน ถ้าต้องไปสถานพยาบาลควรประสานล่วงหน้า ตามที่กรมการแพทย์และเครือข่ายสถานพยาบาลจัดให้มีคลินิกแยกเฉพาะเพื่อไม่ปะปนกับผู้ใช้บริการคนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคได้
อย่างไรก็ตาม ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 วันที่ 20 มี.ค. ในการแถลงข่าวได้มีการแสดงภาพแผนที่เบื้องต้นที่แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเป็นข้อมูลจำนวนผู้ป่วยของวันที่ 19 มี.ค. 2563 คือ จำนวนผู้ป่วย 272 รายกระจายในพื้นที่ 24 จังหวัด ประกอบด้วย
กรุงเทพมหานคร 213 ราย จาก 13 เขต
สมุทรปราการ 12 ราย จาก 4 อำเภอ
เชียงใหม่ 7 ราย จาก 2 อำเภอ
ปัตตานี 6 ราย จาก 2 อำเภอ
ชลบุรี 5 ราย จาก 2 อำเภอ
ภูเก็ต 5 ราย จาก 1 อำเภอ
ยะลา 3 ราย จาก 2 อำเภอ
นครราชสีมา 2 ราย จาก 1 อำเภอ
นราธิวาส 2 ราย จาก 1 อำเภอ
ปทุมธานี 2 ราย จาก 1 อำเภอ
ประจวบคีรีขันธ์ 2 ราย จาก 1 อำเภอ
เพชรบูรณ์ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครปฐม นครศรีธรรมราช นนทบุรี ร้อยเอ็ด สมุทุรสาคร สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากการแถลงข่าวจำนวนผู้ป่วยของ สธ.ในวันนี้ (20 มี.ค.) พบว่า มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ สงขลา นครสวรรค์ และนครนายก ทำให้วันที่ 20 มี.ค. มีผู้ป่วยกระจายจำนวน 27 จังหวัด
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ความเสี่ยงติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน อย่างที่เห็นจะพบว่ากระจุกตัวอยู่ใน กทม. ซึ่งผู้ป่วยพื้นที่ภาคกลาง และหลายจังหวัด ความเสี่ยงมาจากสนามมวยและสถานบันเทิง ส่วนภาคใต้ตอนล่างเป็นผลมาจากการระบาดของประเทศมาเลเซียและมีคนไทยส่วนหนึ่งไปทำพิธีทางศาสนาที่นั่น ดังนั้น แต่ละพื้นที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน จึงขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไม่ต้องตระหนก แต่ให้ตระหนัก ตอนนี้มติ ครม.ชัดเจน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาปิดพื้นที่เสี่ยง
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า อีกส่วนที่ต้องย้ำคือ ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ไหน วิธีปฏิบัติตัวให้ปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง คือ รู้วิธีการป้องกัน ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่น แยกของใช้ แยกสำรับอาหาร งดการเดินทางที่ไม่จำเป็น งดกิจกรรมสังคมที่มีคนหมู่มาก และที่สำคัญมากที่สุดคือกรณีป่วยต้องรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว และสังคมด้วยการไม่ไปไหนให้อยู่กับบ้าน ถ้าต้องไปสถานพยาบาลควรประสานล่วงหน้า ตามที่กรมการแพทย์และเครือข่ายสถานพยาบาลจัดให้มีคลินิกแยกเฉพาะเพื่อไม่ปะปนกับผู้ใช้บริการคนอื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคได้