สธ.แนะงานอีเวนต์ หากเลื่อนได้ก็ควรเลื่อน ป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 แม้สถานการณ์ยังดูสมดุล แต่หากยังจัดอีเวนต์ ต้องคัดกรองไข้ก่อนเข้างาน หากมีอาการ้ามเข้า คนเข้างานต้องสวมหน้ากากอนามัย ตั้งจุดล้างมือ ชี้หากเริ่มมีการแพร่ระบาดมาก อาจต้องเปลี่ยนคำแนะนำ ยกกรณีไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดในไทยมากขึ้นจากการจัดคอนเสิร์ตเกาหลี
วันนี้ (18 ก.พ.) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีความเสี่ยงที่คนไทยอาจไปเจอกับคนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ค่อนข้างต่ำ เพราะไม่เจอผู้ติดเชื้อมากนัก แต่คำแนะนำปฏิบัติตัวยังต้องเข้มข้นเหมือนเดิม โดยกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เช่น คนขับรถสาธารณะ รถตู้ รถแท็กซี่ พนักงานขายของที่นักท่องเที่ยวมาซื้อ ก็ยังต้องปกป้องตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ก็จะช่วยลดการแพร้เชื้อได้ ส่วนผู้ป่วย สธ.พูดเสมอว่า พลังอำนาจหยุดเชื้อไวรัสอยู่ที่ผู้ป่วยเป็นหลัก ถ้าผู้ป่วยร่วมมือดี เป็นไข้ไอเจ็บคอแล้วอยู่กับบ้าน หากออกไปต้องใส่หน้ากากอนามัย ไอจามใช้ท่อนแขนหรือข้อศอกปิดบัง ไม่ใช้มือปิดปาก เพราะมืออาจไปจับสิ่งอื่นต่อ และเลี่ยงไปที่มีคนมากมาย ก็จะช่วยได้ ส่วนการติดเชื้อทางการสัมผัส ย้ำว่าไม่ว่าเชื้ออยู่ในสภาวะแวดล้อมได้นานแค่ไหน ก็ต้องดูแลพื้นผิวสม่ำเสมอ ด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสบู่ หากไปจับสิ่งต่างๆ ให้หลีกเลี่ยงการเอามือโดนใบหน้า และล้างมือบ่อยๆ จะช่วยให้เราปลอดจากโรคนี้ได้
เมื่อถามว่าสถานการณ์ขณะนี้มีคำแนะนำในการควรเลื่อนการจัดงานประชุม หรืองานอีเวนต์ต่างๆ ออกไปหรือไม่ นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ตามหลักการ ในระยะแพร่ระบาดทั่วไป การเอาคนมารวมตัวกันจำนวนมาก ก็เป็นการสร้างโอกาสการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น หากมองย้อนหลับไป การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แบบหนักแน่นจริงๆ ตอนไหน ก็นึกถึงเหตุการณ์คอนเสิร์ตของศิลปินเกาหลีกลุ่มหนึ่งที่เดินทางมา แล้วมีคนไปดูมากมาย ดังนั้น คำแนะนำทั่วไป คือ งานใหญ่งานไหนเลื่อนได้ สธ.แนะนำให้เลื่อน และพิจารณาตามความเสี่ยงที่จะทยอยขึ้นไปเรื่อยๆ ตอนนี้อาจจะดูว่าไม่เสี่ยง แต่ว่าถ้าจัดวันนี้หรุ่งนี้ความเสี่ยงอาจจไม่เท่าไรแต่ข้างหน้าเราพยากรณ์ไม่ได้ เหมือนกับอยู่ในจุดที่สมดุลมาก ไม่รู้ว่าจะเทคออฟเมื่อไร ถ้าเริ่มระบาดมากขึ้น การให้เลื่อนจัดงานก็จะหนักแน่นขึ้นเรื่อยๆ
นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า หากไม่เลื่อนจะทำอย่างไร อยากจแนะนำหลยอย่าง พื้นฐานคือการคัดกรองอุณหภูมิหน้างาน ใครจะเข้างานขอให้มีการวัดไข้ แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่มาเดินในงาน หากเอาคนมีอาการออกทั้งหมด คนเข้าไปในงานก็จะปลอดเชื้อ แต่ก็แนะนำใช้หน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ติดตั้งเต็มที่ หรือมีที่ล้างมือ ให้ล้างมือได้บ่อยๆ ถ้าเป็นงานในศูนย์การประชุม ก็แนะนำให้คนทั้งศูนย์การประชุม แม้แต่ฝั่งซัพพอร์ดสวมหน้ากากอนามัย ร้านอาหาร ร้านบริการอื่นๆ ในศูนย์ประชุม เป็นการป้องกันเต็มที่ และอยากเรียกร้องภาคเอกชนช่วยกันลงทุนส่วนนี้ด้วย เช่น ศูนย์ประชุม อย่างอิมแพค มีเครื่องเทอร์โมสแกนของตัวเอง อยากให้ศูนย์ประชุมแบบนี้มีเทอรโมสแกนเพียงพอสำหรับงานอีเวนต์ที่จำเป็นต้องจัดต่อไป ศูนย์ประชุมอื่นๆ และศูนย์ประชุมโรงแรม ซึ่งเครื่องก็ไม่ได้ราคาแพงเกินไป หรือมิเช่นนั้นก็อาจใช้เครื่องสแกนแบบมือถือ อย่างไรก็ตาม หากเลื่อนได้อยากให้เลื่อน และประเมินตามความเสี่ยง ถ้าสมมติว่าเหตุการณ์ไปเรื่อยๆ มีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้น ระยะถัดไป ก็คงแนะนำต่างไปจากทุกวันนี้
เมื่อถามถึงกรณีการจัดปาร์ตี้ในผับบาร์สถานที่ปิด นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า คำแนะนำตั้งแต่แรกสำหรับคนมีอาการ คือ ไม่ควรไปไหน โดยเฉพาะสถานที่แออัดเหล่านี้ เช่น สถานบันเทิง โรงหนัง เพราะไปก็เท่ากับไปแพร่เชื้อ ควรพักอยู่กับบ้าน ก็จะช่วยประเทศชาติได้มาก สำหรับประชาชนทั่วไปก็หลีกเลี่ยงที่มีผ๔คนแออัด ถ้าเมื่อไรที่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคในประเทศเพิ่มขึ้น คำแนะนำจะชัดเจนเข้มข้นมากขึ้น ก็แนะนำว่าอย่าไปสถานที่พวกนี้ สถานที่มีผู้คนไปจำนวนมาก ต้องจัดระบบป้องกันเต็มที่เหมือนกัน ถ้าสถานการณ์การระบาดเริ่มกว้างขวาง การไปสถานที่พวกนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่จะไปติดเชื้อได้เหมือนกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เลื่อนการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 17 ซึ่งมีกำหนดจัดงานวันที่ 4-8 มี.ค. 2563 ที่ฮอลล์ 10-12 อิมแพคเมืองทองธานี ออกไปเป็นวันที่ 2-6 ก.ย.