ครม. ไฟเขียวร่างแถลงการณ์ ASEM CMM 8 มุ่งขับเคลื่อนปีมรดกวัฒนธรรมแห่งยุโรป เน้นค้นคว้าวิจัยด้านวัฒนธรรม - เสนอร่วมมือต้านลักลอบขนย้ายมรดกทางวัฒนธรรม พร้อมเห็นชอบบันทึกความเข้าใจฯ “ไทย - ฮ่องกง” เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ - ภาพยนตร์
วันนี้ (27 ก.พ.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่าง กระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกิจการภายในแห่งรัฐบาลแห่งเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และเห็นชอบให้ รมว.วธ. เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อปี 2559 กระทรวงกิจการภายในแห่งรัฐบาลแห่งเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ มีหนังสือแจ้งความประสงค์จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ มายัง วธ. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ฮ่องกง
สำหรับบันทึกความเข้าใจดังกล่าวถือว่าเป็นฉบับแรก โดยสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะของทั้งสองประเทศ มีกรอบระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามร่วมกัน ทั้งนี้ นาย Lau Kong-wah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในของฮ่องกง มีกำหนดการมาเยือนไทย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2561 ดังนั้น วันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้จะมีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับแรกระหว่างไทยกับฮ่องกง
โดยไทยและฮ่องกงมีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง อาทิ ภาพยนตร์และการบริหารจัดการด้านวัฒนธรรม การลงนามบันทึกความเข้าใจนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สำคัญของภูมิภาคและเป็นหนึ่งในตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย รวมทั้งมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งและมีศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนมีย่านวัฒนธรรมเกาลูน ตะวันตกที่เป็นศูนย์บริการด้านวัฒนธรรมระดับโลก ที่สำคัญ ปัจจุบันฮ่องกง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้นโยบาย ประเทศไทย 4.0
นายวีระ กล่าวด้วยว่า ครม. มีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8(The 8th ASEM Culture Ministers' Meeting - ASEM CMM 8) จัดขึ้นวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2561 ณ กรุงโซเฟีย สาธารณรัฐบัลแกเรีย โดยมีประเทศสมาชิกASEM เข้าร่วมประชุม ซึ่งหัวข้อการประชุมครั้งนี้ คือ “บทบาทของวัฒนธรรมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ:แนวทางสำหรับอนาคต” และที่ประชุม ครม. เห็นชอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมและรับรองเอกสารแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมดังกล่าว
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ดังกล่าว มุ่งเน้นการสนับสนุนบทบาทของวัฒนธรรม ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประชาชนและส่งเสริมความเชื่อมโยงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการคุ้มครอง ฟื้นฟู ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เนื่องในปี 2561 เป็นปีมรดกวัฒนธรรมแห่งยุโรป
นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับความร่วมมือ ได้แก่ 1. สนับสนุนให้วัฒนธรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่านความร่วมมือระหว่างเมืองในด้านวัฒนธรรม และส่งเสริมความรู้ในระดับสากล เพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ 2. ส่งเสริมและหารือระหว่างวัฒนธรรม เพี่อความสัมพันธ์ในสังคมโลกที่สงบสุข ผ่านการแลกเปลี่ยนศิลปินและผู้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมเพี่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการค้นคว้าวิจัยโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมทั้งระดับท้องถิ่นและภูมิภาค การต่อต้านการลักลอบขนย้ายมรดกทางวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานในปีมรดกวัฒนธรรมแห่งยุโรป ในประเด็นหลักๆ อาทิ นวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐซึ่งคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ การสอนเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมในโรงเรียนและสำหรับเยาวชน
วันนี้ (27 ก.พ.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่าง กระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกิจการภายในแห่งรัฐบาลแห่งเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน และเห็นชอบให้ รมว.วธ. เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อปี 2559 กระทรวงกิจการภายในแห่งรัฐบาลแห่งเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ มีหนังสือแจ้งความประสงค์จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ มายัง วธ. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ฮ่องกง
สำหรับบันทึกความเข้าใจดังกล่าวถือว่าเป็นฉบับแรก โดยสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะของทั้งสองประเทศ มีกรอบระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามร่วมกัน ทั้งนี้ นาย Lau Kong-wah รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในของฮ่องกง มีกำหนดการมาเยือนไทย วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2561 ดังนั้น วันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้จะมีพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับแรกระหว่างไทยกับฮ่องกง
โดยไทยและฮ่องกงมีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง อาทิ ภาพยนตร์และการบริหารจัดการด้านวัฒนธรรม การลงนามบันทึกความเข้าใจนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากฮ่องกงเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สำคัญของภูมิภาคและเป็นหนึ่งในตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย รวมทั้งมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งและมีศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่ได้มาตรฐานสากล ตลอดจนมีย่านวัฒนธรรมเกาลูน ตะวันตกที่เป็นศูนย์บริการด้านวัฒนธรรมระดับโลก ที่สำคัญ ปัจจุบันฮ่องกง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ภายใต้นโยบาย ประเทศไทย 4.0
นายวีระ กล่าวด้วยว่า ครม. มีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8(The 8th ASEM Culture Ministers' Meeting - ASEM CMM 8) จัดขึ้นวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2561 ณ กรุงโซเฟีย สาธารณรัฐบัลแกเรีย โดยมีประเทศสมาชิกASEM เข้าร่วมประชุม ซึ่งหัวข้อการประชุมครั้งนี้ คือ “บทบาทของวัฒนธรรมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ:แนวทางสำหรับอนาคต” และที่ประชุม ครม. เห็นชอบให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมและรับรองเอกสารแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมดังกล่าว
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ดังกล่าว มุ่งเน้นการสนับสนุนบทบาทของวัฒนธรรม ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างประชาชนและส่งเสริมความเชื่อมโยงทางสังคมและวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการคุ้มครอง ฟื้นฟู ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เนื่องในปี 2561 เป็นปีมรดกวัฒนธรรมแห่งยุโรป
นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับความร่วมมือ ได้แก่ 1. สนับสนุนให้วัฒนธรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่านความร่วมมือระหว่างเมืองในด้านวัฒนธรรม และส่งเสริมความรู้ในระดับสากล เพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ 2. ส่งเสริมและหารือระหว่างวัฒนธรรม เพี่อความสัมพันธ์ในสังคมโลกที่สงบสุข ผ่านการแลกเปลี่ยนศิลปินและผู้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมเพี่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการค้นคว้าวิจัยโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมทั้งระดับท้องถิ่นและภูมิภาค การต่อต้านการลักลอบขนย้ายมรดกทางวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานในปีมรดกวัฒนธรรมแห่งยุโรป ในประเด็นหลักๆ อาทิ นวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐซึ่งคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆ การสอนเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมในโรงเรียนและสำหรับเยาวชน