โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
หาก “ซาอุดีอาระเบีย” มี “น้ำมัน” เป็นขุมทรัพย์ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล ประเทศไทยก็มีขุมทรัพย์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า “สมุนไพร” ซึ่งหากมีการส่งเสริม สนับสนุนอย่างถูกทิศทาง ก็สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศไทยได้อย่างมากมายเช่นกัน
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ “สมุนไพร” หลายตัวเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตทั้งอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง ซึ่งต้องยอมรับว่า กลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ และมูลค่าทางการตลาดมีแต่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปี 2558 ตลาดสมุนไพรในตลาดโลกมีมูลค่ากว่า 91,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่า ในปี 2563 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารและการรักษาด้วยสมุนไพรในตลาดโลกจะมีมูลค่าเพิ่มสูงเท่ากับ 1.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและความงามเพิ่มมากขึ้น ต้องการผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรเพิ่มขึ้นมาก
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเรียกได้ว่ามี “สมุนไพร” เป็นคลังขุมทรัพย์อันมหาศาล เพราะจากภูมิประเทศที่เป็นเขตร้อนชื้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีพืชพันธุ์ไม่น้อยกว่า 20,000 ชนิด โดยขณะนี้มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิด
การจะนำสมุนไพรเหล่านี้มาต่อยอดสร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ประเทศนั้น สิ่งสำคัญคือการศึกษา วิจัย และพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ “โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร” จ.ปราจีนบุรี ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร รองผู้อำนวยการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เล่าว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร พัฒนางานด้านสมุนไพรและแผนไทยอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี โดยจุดเริ่มต้นมาจากพัฒนายาสมุนไพรขึ้นใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งริเริ่มทำการศึกษาผลิตภัณฑ์จากเสลดพังพอนตัวเมียในการรักษาโรคเริมและงูสวัด เป็นครั้งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมีการลงไปเก็บข้อมูลองค์ความรู้จากหมอยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ เพราะความรู้ต่างๆ อยู่กับหมอยาแต่ขาดการสืบทอด จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาจำนวนมาก และทำให้ “อภัยภูเบศร” กลายเป็นคลังความรู้ด้านสมุนไพรระดับชาติ
ส่วนการจะพัฒนาให้ประเทศสามารถนำ “สมุนไพร” มาใช้การได้อย่างเต็มที่นั้น คือ การสร้างเมืองสมุนไพร (HerbalCity) ขึ้น ซึ่ง จ.ปราจีนบุรี ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องในการสร้างเมืองสมุนไพร โดยมี รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นแกนนำ และถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจที่เรียกว่า มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า การสร้างเมืองสมุนไพรเป็นตัวอย่างหนึ่งในการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเฉพาะพื้นที่ ซึ่งหากดูตัวอย่างจากต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ที่มีSancheong World Traditional Medicine Fair ในการแสดงสมุนไพร ตามรอยหมอโฮจุน ก็ช่วยส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ถือเป็นการระดมทรัพยากรและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางอย่างชัดเจน
แล้วการสร้างเมืองสมุนไพรจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือข้อดีอย่างไรบ้าง ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เมืองสมุนไพรจะเชื่อมโยงการพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางถึงปลายทาง คือ ตั้งแต่เกษตรกรในการปลูกสมุนไพร การวิจัยสมุนไพรและแปรรูป ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งในทุกกระบวนการสามารถช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
“ขณะนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน 394 ล้านบาท โดยวางแผนจะนำมาพัฒนาโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ (หาดยาง) 158 ล้านบาท โครงการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 7.8 ล้านบาท พัฒนานวัตกรรมการสกัด 37 ล้านบาท พัฒนาสมุนไพรบางตัวให้เป็นผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาศูนย์สมุนไพร บริการการแพทย์แผนไทย ฯลฯ” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
ส่วนการสร้างรายได้ให้เกษตรกรนั้น ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในการผลิตยาสมุนไพรในระดับอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่ต้องควบคุม คือ เรื่องของปริมาณสารสำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าทุกๆ ล็อตมีคุณภาพเหมือนกัน ได้ตัวยาสำคัญเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของยาสมุนไพรคือบางอย่างเราไม่รู้ว่าสารออกฤทธิ์คืออะไร แม้จะรู้ก็ไม่มีสารมาตรฐานขาย ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ระหว่างการของบนายกรัฐมนตรี ในการพัฒนาสารมาตรฐาน ซึ่งถ้ามีตรงนี้จะช่วยอุตสาหกรรมได้อย่างมาก
“การให้ได้สารสำคัญมาใช้ในการผลิตก็ต้องดูตั้งแต่วัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรต้นทางเลย อย่างมะขามป้อมก็ 90% มาจากเชียงราย จากชาวเขาที่ปลูกมะขามป้อม สำหรับปราจีนบุรีเองก็จะมีการสำรวจว่าต้นไม้ชนิดไหนให้สารสำคัญที่สูงในพื้นที่ไหนบ้างก็จะไปส่งเสริมการปลูก อย่าง “บัวบก” ที่เคยส่งเสริมการปลูกในปราจีนบุรี ก็พบว่าสารเอเชียติโคไซด์ไม่สูงเท่ากับทางมหาสารคาม เมื่อก่อนรับซื้อจากปราจีนบุรี แต่พอทราบว่าสายพันธุ์ทางมหาสารคามเป็นอย่างไร ก็เอากล้าพันธุ์ไปให้มหาสารคามปลูก ขณะที่ปราจีนบุรีก็ปลูกอย่างอื่นแทนที่ได้ผลผลิตสูงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” ภญ.ผกากรอง กล่าว
ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า ตอนนี้ปราจีนบุรีจะปลูกไพล ขมิ้น ฟ้าทะลายโจร พญายอ และหญ้าปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม นอกจากการดูปริมาณสารสำคัญ จริงๆ แล้วสมุนไพรบางอย่างสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ไม่มีความแตกต่าง อย่างฟ้าทะลายโจรปลูกได้ทุกพื้นที่ เพราะมีสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงพอกัน มักไม่ค่อยตกมาตรฐานหากเก็บสมุนไพรเมื่ออายุถึง แต่การจะเลือกว่าไปปลูกที่ไหน จะดูจากการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณาเรื่องจำนวนกลุ่มมีมากน้อยแค่ไหนต้องการรายได้เท่าไร เพื่อให้เขาอยู่ได้ เอาสมุนไพรที่มีผลผลิตสูงไปลงพื้นที่นั้นก่อน แล้วส่วนที่เหลือที่รู้ว่าปลูกที่ไหนก็ได้ก็กระจายให้เขาอยู่ได้ การบริหารจัดการเช่นนี้ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
“จริงๆ แล้วเรื่องการให้ราคาวัตถุดิบสมุนไพรอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอกับเกษตรกร เพราะราคาวัตถุดิบสมุนไพรมีการขึ้นลง ชาวบ้านก็จะอยู่ลำบาก อย่างกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี ซึ่งไม่ได้ขายวัตถุดิบให้อภัยภูเบศรอย่างเดียว ส่วนที่เหลือส่งให้กับบริษัทโรงงานอื่นด้วย และมีผลิตภัณฑ์อย่างอื่นด้วยที่เราไปช่วยสอน เช่น ไพลดำ ซึ่งบอกว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระดีกว่าไพลเหลือง แต่สารออกฤทธิ์เรื่องการลดปวดเหมือนกัน เราก็ไปสอนเขาทำ เขาก็มีผลิตภัณฑ์ของเขาเอง มีรายได้จากการปลูกผัก จากดูงาน ก็จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้” ภญ.ผกากรอง กล่าว
การดำเนินงานของ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในเรื่องของพัฒนา “สมุนไพร” และยกระดับจนเป็นเมืองสมุนไพร จึงเป็นหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ จากการให้ข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนว่าพื้นที่ใดปลูกอะไรจะได้ตัวยาหรือสารที่จะนำมาใช้ในการผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่ในพื้นที่ปราจีนบุรีเท่านั้น ยังรวมไปถึงพื้นที่อื่นด้วย ส่วนในอนาคตที่ต้องจับตา คือ การกำเนิดของแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพ ซึ่งจะยิ่งช่วยสร้างรายได้ตามมาให้แก่คนในพื้นที่
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถือเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการผลิตยาสมุนไพรระดับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานสากล GMP/PICs ซึ่ง อย.เน้นเรื่องมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร เพราะถือเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการผลิต และสร้างความน่าเชื่อถือ นอกจากการกำกับเรื่องมาตรฐานการผลิตแล้ว การจะช่วยส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรของไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ อย. ยังมีการเปิดฟาสต์แทร็กในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนได้รวดเร็วขึ้นเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะผลิตขายในประเทศหรือส่งออก เพราะเป็นการเร่งกระบวนการให้รวดเร็วขึ้นในการช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ
หาก “ซาอุดีอาระเบีย” มี “น้ำมัน” เป็นขุมทรัพย์ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล ประเทศไทยก็มีขุมทรัพย์อย่างหนึ่งที่เรียกว่า “สมุนไพร” ซึ่งหากมีการส่งเสริม สนับสนุนอย่างถูกทิศทาง ก็สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศไทยได้อย่างมากมายเช่นกัน
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะ “สมุนไพร” หลายตัวเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตทั้งอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง ซึ่งต้องยอมรับว่า กลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ และมูลค่าทางการตลาดมีแต่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในปี 2558 ตลาดสมุนไพรในตลาดโลกมีมูลค่ากว่า 91,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่า ในปี 2563 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารและการรักษาด้วยสมุนไพรในตลาดโลกจะมีมูลค่าเพิ่มสูงเท่ากับ 1.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มในการดูแลสุขภาพและความงามเพิ่มมากขึ้น ต้องการผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและสมุนไพรเพิ่มขึ้นมาก
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยเรียกได้ว่ามี “สมุนไพร” เป็นคลังขุมทรัพย์อันมหาศาล เพราะจากภูมิประเทศที่เป็นเขตร้อนชื้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีพืชพันธุ์ไม่น้อยกว่า 20,000 ชนิด โดยขณะนี้มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิด
การจะนำสมุนไพรเหล่านี้มาต่อยอดสร้างมูลค่าและรายได้ให้แก่ประเทศนั้น สิ่งสำคัญคือการศึกษา วิจัย และพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานได้ ซึ่งหน้าที่เหล่านี้ “โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร” จ.ปราจีนบุรี ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร รองผู้อำนวยการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เล่าว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร พัฒนางานด้านสมุนไพรและแผนไทยอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปี โดยจุดเริ่มต้นมาจากพัฒนายาสมุนไพรขึ้นใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งริเริ่มทำการศึกษาผลิตภัณฑ์จากเสลดพังพอนตัวเมียในการรักษาโรคเริมและงูสวัด เป็นครั้งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมีการลงไปเก็บข้อมูลองค์ความรู้จากหมอยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ เพราะความรู้ต่างๆ อยู่กับหมอยาแต่ขาดการสืบทอด จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาจำนวนมาก และทำให้ “อภัยภูเบศร” กลายเป็นคลังความรู้ด้านสมุนไพรระดับชาติ
ส่วนการจะพัฒนาให้ประเทศสามารถนำ “สมุนไพร” มาใช้การได้อย่างเต็มที่นั้น คือ การสร้างเมืองสมุนไพร (HerbalCity) ขึ้น ซึ่ง จ.ปราจีนบุรี ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องในการสร้างเมืองสมุนไพร โดยมี รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นแกนนำ และถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจที่เรียกว่า มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า การสร้างเมืองสมุนไพรเป็นตัวอย่างหนึ่งในการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเฉพาะพื้นที่ ซึ่งหากดูตัวอย่างจากต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ที่มีSancheong World Traditional Medicine Fair ในการแสดงสมุนไพร ตามรอยหมอโฮจุน ก็ช่วยส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ถือเป็นการระดมทรัพยากรและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางอย่างชัดเจน
แล้วการสร้างเมืองสมุนไพรจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือข้อดีอย่างไรบ้าง ภญ.ดร.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เมืองสมุนไพรจะเชื่อมโยงการพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางถึงปลายทาง คือ ตั้งแต่เกษตรกรในการปลูกสมุนไพร การวิจัยสมุนไพรและแปรรูป ไปจนถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งในทุกกระบวนการสามารถช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
“ขณะนี้รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน 394 ล้านบาท โดยวางแผนจะนำมาพัฒนาโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ต้นแบบ (หาดยาง) 158 ล้านบาท โครงการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 7.8 ล้านบาท พัฒนานวัตกรรมการสกัด 37 ล้านบาท พัฒนาสมุนไพรบางตัวให้เป็นผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการพัฒนาศูนย์สมุนไพร บริการการแพทย์แผนไทย ฯลฯ” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
ส่วนการสร้างรายได้ให้เกษตรกรนั้น ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในการผลิตยาสมุนไพรในระดับอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่ต้องควบคุม คือ เรื่องของปริมาณสารสำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าทุกๆ ล็อตมีคุณภาพเหมือนกัน ได้ตัวยาสำคัญเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของยาสมุนไพรคือบางอย่างเราไม่รู้ว่าสารออกฤทธิ์คืออะไร แม้จะรู้ก็ไม่มีสารมาตรฐานขาย ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ระหว่างการของบนายกรัฐมนตรี ในการพัฒนาสารมาตรฐาน ซึ่งถ้ามีตรงนี้จะช่วยอุตสาหกรรมได้อย่างมาก
“การให้ได้สารสำคัญมาใช้ในการผลิตก็ต้องดูตั้งแต่วัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรต้นทางเลย อย่างมะขามป้อมก็ 90% มาจากเชียงราย จากชาวเขาที่ปลูกมะขามป้อม สำหรับปราจีนบุรีเองก็จะมีการสำรวจว่าต้นไม้ชนิดไหนให้สารสำคัญที่สูงในพื้นที่ไหนบ้างก็จะไปส่งเสริมการปลูก อย่าง “บัวบก” ที่เคยส่งเสริมการปลูกในปราจีนบุรี ก็พบว่าสารเอเชียติโคไซด์ไม่สูงเท่ากับทางมหาสารคาม เมื่อก่อนรับซื้อจากปราจีนบุรี แต่พอทราบว่าสายพันธุ์ทางมหาสารคามเป็นอย่างไร ก็เอากล้าพันธุ์ไปให้มหาสารคามปลูก ขณะที่ปราจีนบุรีก็ปลูกอย่างอื่นแทนที่ได้ผลผลิตสูงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด” ภญ.ผกากรอง กล่าว
ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า ตอนนี้ปราจีนบุรีจะปลูกไพล ขมิ้น ฟ้าทะลายโจร พญายอ และหญ้าปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม นอกจากการดูปริมาณสารสำคัญ จริงๆ แล้วสมุนไพรบางอย่างสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ไม่มีความแตกต่าง อย่างฟ้าทะลายโจรปลูกได้ทุกพื้นที่ เพราะมีสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงพอกัน มักไม่ค่อยตกมาตรฐานหากเก็บสมุนไพรเมื่ออายุถึง แต่การจะเลือกว่าไปปลูกที่ไหน จะดูจากการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณาเรื่องจำนวนกลุ่มมีมากน้อยแค่ไหนต้องการรายได้เท่าไร เพื่อให้เขาอยู่ได้ เอาสมุนไพรที่มีผลผลิตสูงไปลงพื้นที่นั้นก่อน แล้วส่วนที่เหลือที่รู้ว่าปลูกที่ไหนก็ได้ก็กระจายให้เขาอยู่ได้ การบริหารจัดการเช่นนี้ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
“จริงๆ แล้วเรื่องการให้ราคาวัตถุดิบสมุนไพรอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอกับเกษตรกร เพราะราคาวัตถุดิบสมุนไพรมีการขึ้นลง ชาวบ้านก็จะอยู่ลำบาก อย่างกลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี ซึ่งไม่ได้ขายวัตถุดิบให้อภัยภูเบศรอย่างเดียว ส่วนที่เหลือส่งให้กับบริษัทโรงงานอื่นด้วย และมีผลิตภัณฑ์อย่างอื่นด้วยที่เราไปช่วยสอน เช่น ไพลดำ ซึ่งบอกว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระดีกว่าไพลเหลือง แต่สารออกฤทธิ์เรื่องการลดปวดเหมือนกัน เราก็ไปสอนเขาทำ เขาก็มีผลิตภัณฑ์ของเขาเอง มีรายได้จากการปลูกผัก จากดูงาน ก็จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้” ภญ.ผกากรอง กล่าว
การดำเนินงานของ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในเรื่องของพัฒนา “สมุนไพร” และยกระดับจนเป็นเมืองสมุนไพร จึงเป็นหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ จากการให้ข้อมูลความรู้ที่ชัดเจนว่าพื้นที่ใดปลูกอะไรจะได้ตัวยาหรือสารที่จะนำมาใช้ในการผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งไม่ใช่แค่ในพื้นที่ปราจีนบุรีเท่านั้น ยังรวมไปถึงพื้นที่อื่นด้วย ส่วนในอนาคตที่ต้องจับตา คือ การกำเนิดของแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพ ซึ่งจะยิ่งช่วยสร้างรายได้ตามมาให้แก่คนในพื้นที่
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถือเป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีการผลิตยาสมุนไพรระดับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานสากล GMP/PICs ซึ่ง อย.เน้นเรื่องมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร เพราะถือเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าการผลิต และสร้างความน่าเชื่อถือ นอกจากการกำกับเรื่องมาตรฐานการผลิตแล้ว การจะช่วยส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรของไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ อย. ยังมีการเปิดฟาสต์แทร็กในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนได้รวดเร็วขึ้นเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะผลิตขายในประเทศหรือส่งออก เพราะเป็นการเร่งกระบวนการให้รวดเร็วขึ้นในการช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ