กรมแพทย์แผนไทยฯ เสนอ รมว.สธ. ดันโครงการสมุนไพรพึ่งตนเองฯ เข้า ครม. หวังเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรกว่า 6,000 ไร่ ช่วยเกษตรกรกว่า 10,000 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยเพิ่ม 5 เท่าต่อครัวเรือน กระตุ้นเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 400 ล้านบาท
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำโครงการบูรณาการสมุนไพรไทยเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนและการแข่งขันอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของ 12 กระทรวง เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายการบริหารจัดการสมุนไพรให้เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศและการส่งออก ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่สมุนไพร ตั้งแต่ต้นทางคือ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรตามความต้องการของประเทศในแปลงปลูกที่ได้มาตรฐาน 6,000 ไร่ ปลูกคืนป่าธรรมชาติ 80,000 ไร่ มีศูนย์แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน 60 แห่ง มีตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพรบางเดชะรองรับเกษตรกร ชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาศักยภาพรองรับการแข่งขัน
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า กลางทาง ในส่วนวัตถุดิบสมุนไพรปลอดภัยจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์และโลหะหนัก การวิจัยพัฒนายาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ใหม่ 60 รายการ และปลายทาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโอทอปและสปาในชุมชนที่มีคุณภาพ 200 ผลิตภัณฑ์ มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยต้นแบบที่มีศักยภาพการบริการในระดับสูง รองรับการศึกษาดูงานในระดับนานาชาติและเป็นต้นแบบของการพัฒนาการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียน รวมถึง สมุนไพร วัตถุดิบสมุนไพร สารสกัด และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการสนับสนุนให้ส่งขายต่างประเทศไม่น้อยกว่า 10 รายการ ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้งบประมาณราว 780 ล้านบาท
“โครงการนี้จะมีผลทำให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มกว่า 6,000 ไร่ เกษตรกร จำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5 เท่าต่อครัวเรือน จากการปลูกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 200 ชนิด ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล(OTOP) มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มีสาเหตุจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท และมีเมืองสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งมีอภัยภูเบศรโมเดลที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของอาเซียนที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี” นพ.ธวัชชัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมฯ ได้จัดทำโครงการบูรณาการสมุนไพรไทยเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนและการแข่งขันอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของ 12 กระทรวง เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายการบริหารจัดการสมุนไพรให้เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศและการส่งออก ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอต่อ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่สมุนไพร ตั้งแต่ต้นทางคือ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรตามความต้องการของประเทศในแปลงปลูกที่ได้มาตรฐาน 6,000 ไร่ ปลูกคืนป่าธรรมชาติ 80,000 ไร่ มีศูนย์แปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน 60 แห่ง มีตลาดกลางวัตถุดิบสมุนไพรบางเดชะรองรับเกษตรกร ชุมชน บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาศักยภาพรองรับการแข่งขัน
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า กลางทาง ในส่วนวัตถุดิบสมุนไพรปลอดภัยจากการปนเปื้อนจุลินทรีย์และโลหะหนัก การวิจัยพัฒนายาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ใหม่ 60 รายการ และปลายทาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโอทอปและสปาในชุมชนที่มีคุณภาพ 200 ผลิตภัณฑ์ มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยต้นแบบที่มีศักยภาพการบริการในระดับสูง รองรับการศึกษาดูงานในระดับนานาชาติและเป็นต้นแบบของการพัฒนาการแพทย์ดั้งเดิมในอาเซียน รวมถึง สมุนไพร วัตถุดิบสมุนไพร สารสกัด และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับการสนับสนุนให้ส่งขายต่างประเทศไม่น้อยกว่า 10 รายการ ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้งบประมาณราว 780 ล้านบาท
“โครงการนี้จะมีผลทำให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มกว่า 6,000 ไร่ เกษตรกร จำนวนไม่ต่ำกว่า 10,000 ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5 เท่าต่อครัวเรือน จากการปลูกสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 200 ชนิด ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล(OTOP) มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาชุมชน กระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ชุมชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มีสาเหตุจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท และมีเมืองสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งมีอภัยภูเบศรโมเดลที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของอาเซียนที่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวไทยเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี” นพ.ธวัชชัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่