ธุรกิจเทคโนโลยีการศึกษา เชื่อ “ครู” ไทย - เวียดนาม มีแนวโน้มรายได้เพิ่มขึ้นใน 5 ปี เหตุมีการลงทุนในธุรกิจด้านนี้เพิ่ม แนะเจาะกลุ่มการศึกษาผู้ใหญ่สำเร็จมากกว่า
ดร.ทรูแมน ฟาม ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารบริษัท ท้อปปิก้า (Topica) และตัวแทนกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา (Edtech) กล่าวระหว่างการอภิปรายหัวข้อ “Cultivation of Education Entrepreneur Leadership in Asia” ในงานประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา “Edtech Asia Summit 2016” ที่หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อ 2 - 3 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นมีการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่เป็นการศึกษาแบบเปิดเกิดขึ้น จากนั้นก็ซบเซาลงพักหนึ่ง แต่ไม่นานมานี้กลับมีการลงทุนในธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในประเทศเวียดนามเพียงประเทศเดียว แสดงให้เห็นว่า มีธุรกิจสตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา 100 ราย เหมือนตอนเกิดธุรกิจ อี - คอมเมิร์ซ เมื่อ 7 - 8 ปีก่อน
“ปัญหาหนึ่งที่สตาร์ทอัปทั่วโลกมักจะเจอเหมือน ๆ กัน คือ ปัญหาการไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา แม้แต่สตาร์ทอัปในสหรัฐฯ ก็เจอปัญหานี้เช่นกัน วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือควรเน้นการเรียนในกลุ่มผู้ใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มที่มีกฎเกณฑ์น้อยที่สุด และคนกลุ่มนี้สามารถตัดสินใจเรื่องการเรียนได้เอง แต่ถ้ามุ่งไปที่กลุ่มนักเรียนประถม หรือมัธยมก็จะเจอปัญหา เพราะคนที่จะตัดสินใจเรื่องการเรียนของเด็กกลุ่มนี้มักไม่ใช่พ่อแม่ แต่กลับเป็นครูใหญ่ หรือบางทีก็เป็นผู้บริหารเขตการศึกษาเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น ในการทำธุรกิจควรมุ่งเจาะตลาดกลุ่มผู้ใหญ่จะดีกว่า” ดร.ทรูแมน กล่าว
ดร.ทรูแมน กล่าวว่า อุปสรรคอีกอย่างของการพัฒนาธุรกิจทางการศึกษา คือ ความเชื่อที่ว่าคนที่ประกอบอาชีพเป็นครูหรืออาจารย์ในทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล - มหาวิทยาลัย มักมีรายได้น้อย จึงทำให้คนรุ่นใหม่สนใจที่จะประกอบอาชีพอื่นที่จะสร้างรายได้ให้มากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งด้านจำนวนและคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม ครูหรืออาจารย์ในเวียดนาม และไทย มีแนวโน้มจะมีรายได้เพิ่มขึ้นภายใน 5 ปีจากนี้ โดยยกตัวอย่างอาจารย์ 3 ท่าน ที่ทำคอร์สเรียนแบบออนไลน์เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะและความชำนาญทั่วไปให้แก่บริษัทในเครือของ Topica อย่าง Topica Edumall ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดังเช่นอาจารย์ 3 ท่านนี้ พวกเขาสามารถสร้างรายได้จำนวนมากเพราะตั้งใจทำงานออกมาให้ดี ทั้งเตรียมหลักสูตร บทพูด และถ่ายวิดีโอเพื่อปรับแต่งการพูดและการนำเสนอ รวมทั้งฟังผลตอบรับทั้งจากออนไลน์และออฟไลน์ เป้าหมายของพวกเขา คือ ต้องการให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจอย่างแท้จริงในหลักสูตรที่เขาสอนโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จสูงสุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ดร.ทรูแมน ฟาม ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารบริษัท ท้อปปิก้า (Topica) และตัวแทนกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา (Edtech) กล่าวระหว่างการอภิปรายหัวข้อ “Cultivation of Education Entrepreneur Leadership in Asia” ในงานประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจเทคโนโลยีทางการศึกษา “Edtech Asia Summit 2016” ที่หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารศศปาฐศาลา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อ 2 - 3 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นมีการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่เป็นการศึกษาแบบเปิดเกิดขึ้น จากนั้นก็ซบเซาลงพักหนึ่ง แต่ไม่นานมานี้กลับมีการลงทุนในธุรกิจด้านนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในประเทศเวียดนามเพียงประเทศเดียว แสดงให้เห็นว่า มีธุรกิจสตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา 100 ราย เหมือนตอนเกิดธุรกิจ อี - คอมเมิร์ซ เมื่อ 7 - 8 ปีก่อน
“ปัญหาหนึ่งที่สตาร์ทอัปทั่วโลกมักจะเจอเหมือน ๆ กัน คือ ปัญหาการไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษา แม้แต่สตาร์ทอัปในสหรัฐฯ ก็เจอปัญหานี้เช่นกัน วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือควรเน้นการเรียนในกลุ่มผู้ใหญ่ เพราะเป็นกลุ่มที่มีกฎเกณฑ์น้อยที่สุด และคนกลุ่มนี้สามารถตัดสินใจเรื่องการเรียนได้เอง แต่ถ้ามุ่งไปที่กลุ่มนักเรียนประถม หรือมัธยมก็จะเจอปัญหา เพราะคนที่จะตัดสินใจเรื่องการเรียนของเด็กกลุ่มนี้มักไม่ใช่พ่อแม่ แต่กลับเป็นครูใหญ่ หรือบางทีก็เป็นผู้บริหารเขตการศึกษาเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น ในการทำธุรกิจควรมุ่งเจาะตลาดกลุ่มผู้ใหญ่จะดีกว่า” ดร.ทรูแมน กล่าว
ดร.ทรูแมน กล่าวว่า อุปสรรคอีกอย่างของการพัฒนาธุรกิจทางการศึกษา คือ ความเชื่อที่ว่าคนที่ประกอบอาชีพเป็นครูหรืออาจารย์ในทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล - มหาวิทยาลัย มักมีรายได้น้อย จึงทำให้คนรุ่นใหม่สนใจที่จะประกอบอาชีพอื่นที่จะสร้างรายได้ให้มากกว่า ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งด้านจำนวนและคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม ครูหรืออาจารย์ในเวียดนาม และไทย มีแนวโน้มจะมีรายได้เพิ่มขึ้นภายใน 5 ปีจากนี้ โดยยกตัวอย่างอาจารย์ 3 ท่าน ที่ทำคอร์สเรียนแบบออนไลน์เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะและความชำนาญทั่วไปให้แก่บริษัทในเครือของ Topica อย่าง Topica Edumall ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองถึง 30,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดังเช่นอาจารย์ 3 ท่านนี้ พวกเขาสามารถสร้างรายได้จำนวนมากเพราะตั้งใจทำงานออกมาให้ดี ทั้งเตรียมหลักสูตร บทพูด และถ่ายวิดีโอเพื่อปรับแต่งการพูดและการนำเสนอ รวมทั้งฟังผลตอบรับทั้งจากออนไลน์และออฟไลน์ เป้าหมายของพวกเขา คือ ต้องการให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจอย่างแท้จริงในหลักสูตรที่เขาสอนโดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จสูงสุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่