รองนายกฯ ชมเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเมืองช้างสุรินทร์ เปลี่ยนค่านิยมงานบุญปลอดเหล้าลดทำผิดกฎหมาย 69% ต้นแบบกลไกป้องกันอุบัติเหตุ 365 วัน ส่งเสริมค่านิยมรักการอ่าน และตำบลสุขภาวะเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ ชี้ กลไกสภาผู้นำชุมชนหัวใจของการแก้ปัญหาชุมชนอย่างยั่งยืน
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่โรมแรมมาเจสติก จ.สุรินทร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ‘การทำงานสร้างเสริมสุขภาพ จ.สุรินทร์’ โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุน สสส. เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมกันนี้ได้มีภาคีสร้างเสริมสุขภาพใน จ.สุรินทร์ เข้าร่วม
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า เป้าหมายของการลงพื้นที่ใน จ.สุรินทร์ ก็เพื่อติดตามและรับฟังการดำเนินสร้างเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่ชุมชน และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมกับ สสส. ซึ่งพบว่ามีการดำเนินงานหลายส่วนที่เกิดผลเป็นรูปธรรม สามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ นำไปปรับใช้ และถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกตื่นตัว เช่น การเปลี่ยนค่านิยมจากงานบุญเปื้อนเหล้าให้เป็นงานบุญปลอดเหล้าในงานกาชาดสร้างสุข งานช้างปลอดภัย จ.สุรินทร์ ซึ่งการเปลี่ยนค่านิยมในงานประเพณีเป็นเรื่องที่ยากต้องอาศัยระยะเวลา และความต่อเนื่องในการทำงาน และปัจจุบันสามารถลดสถิติความรุนแรงและการกระทำผิดกฎหมายได้กว่า 69% เมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ให้เป็นกลไกการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ โดยมีต้นแบบการทำงานใน ศปถ. อำเภอจอมพระ ที่ไม่ได้ทำงานป้องกันอุบัติเหตุเฉพาะในช่วงเทศกาลแต่เป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานตลอดทั้ง 365 วัน เพราะเป็นการทำงานที่ลงลึกในระดับตำบล และมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมการอ่านเพื่อความสุขที่ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จนเกิดสวัสดิการการอ่าน จัดตั้งธนาคารหนังสือ บริเวณหน้า อบจ.สุรินทร์ และยังมีขบวนการร่วมสร้างตำบลสุขภาวะ ด้วยการจัดการสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร เกิดตลาดสีเขียว สร้างรายได้ให้ชุมชน ที่สำคัญ มีการใช้ “กลไกสภาผู้นำ” เป็นหัวใจในการจัดการปัญหาภายในชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการปัญหาในพื้นที่
ดร.ทพ.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพใน จ.สุรินทร์ ประกอบด้วย งานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุ และการสร้างเสริมความปลอดภัย การลดการบริโภคแอลกอฮอล์ ยาสูบ สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พร้อมกับส่งเสริมการออกกำลังกาย และงานเชิงรับหรือการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ริเริ่มงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่โดยการใช้ทุนและศักยภาพในชุมชน อันได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะชุมชน และการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ผ่านกลไกสภาผู้นำชุมชนเพื่อความยั่งยืนในการจัดการปัญหาของพื้นที่ ทั้งนี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2557 - 2559 มีโครงการในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ที่ยังคงขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น 274 โครงการ ส่งผลต่อการสร้างสุขภาวะในชุมชน 222 แห่ง สถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 79 แห่ง องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ 17 แห่ง สถานพยาบาล 8 แห่ง และสถานประกอบการ 2 แห่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่โรมแรมมาเจสติก จ.สุรินทร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ‘การทำงานสร้างเสริมสุขภาพ จ.สุรินทร์’ โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุน สสส. เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมกันนี้ได้มีภาคีสร้างเสริมสุขภาพใน จ.สุรินทร์ เข้าร่วม
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า เป้าหมายของการลงพื้นที่ใน จ.สุรินทร์ ก็เพื่อติดตามและรับฟังการดำเนินสร้างเสริมสุขภาพด้านต่าง ๆ ที่ชุมชน และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ร่วมกับ สสส. ซึ่งพบว่ามีการดำเนินงานหลายส่วนที่เกิดผลเป็นรูปธรรม สามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ นำไปปรับใช้ และถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกตื่นตัว เช่น การเปลี่ยนค่านิยมจากงานบุญเปื้อนเหล้าให้เป็นงานบุญปลอดเหล้าในงานกาชาดสร้างสุข งานช้างปลอดภัย จ.สุรินทร์ ซึ่งการเปลี่ยนค่านิยมในงานประเพณีเป็นเรื่องที่ยากต้องอาศัยระยะเวลา และความต่อเนื่องในการทำงาน และปัจจุบันสามารถลดสถิติความรุนแรงและการกระทำผิดกฎหมายได้กว่า 69% เมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ในระดับอำเภอ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ให้เป็นกลไกการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ โดยมีต้นแบบการทำงานใน ศปถ. อำเภอจอมพระ ที่ไม่ได้ทำงานป้องกันอุบัติเหตุเฉพาะในช่วงเทศกาลแต่เป็นเครือข่ายสำคัญในการทำงานตลอดทั้ง 365 วัน เพราะเป็นการทำงานที่ลงลึกในระดับตำบล และมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมการอ่านเพื่อความสุขที่ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่จนเกิดสวัสดิการการอ่าน จัดตั้งธนาคารหนังสือ บริเวณหน้า อบจ.สุรินทร์ และยังมีขบวนการร่วมสร้างตำบลสุขภาวะ ด้วยการจัดการสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร เกิดตลาดสีเขียว สร้างรายได้ให้ชุมชน ที่สำคัญ มีการใช้ “กลไกสภาผู้นำ” เป็นหัวใจในการจัดการปัญหาภายในชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการปัญหาในพื้นที่
ดร.ทพ.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การทำงานสร้างเสริมสุขภาพใน จ.สุรินทร์ ประกอบด้วย งานเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุ และการสร้างเสริมความปลอดภัย การลดการบริโภคแอลกอฮอล์ ยาสูบ สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พร้อมกับส่งเสริมการออกกำลังกาย และงานเชิงรับหรือการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ริเริ่มงานสร้างเสริมสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่โดยการใช้ทุนและศักยภาพในชุมชน อันได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะชุมชน และการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ผ่านกลไกสภาผู้นำชุมชนเพื่อความยั่งยืนในการจัดการปัญหาของพื้นที่ ทั้งนี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2557 - 2559 มีโครงการในพื้นที่ จ.สุรินทร์ ที่ยังคงขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น 274 โครงการ ส่งผลต่อการสร้างสุขภาวะในชุมชน 222 แห่ง สถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 79 แห่ง องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ 17 แห่ง สถานพยาบาล 8 แห่ง และสถานประกอบการ 2 แห่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่