สธ. ชี้ รมว.ยธ. ชงถอด “ยาบ้า” จากยาเสพติด หวังปรับมุมมองใหม่ มองเป็นผู้ป่วยเข้ารับบำบัดมากกว่าอาชญากร แนะดูผลลัพธ์ก่อนค่อยปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแนวคิดแก้ไขปัญหายาเสพติดของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยการยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า จากบัญชียาเสพติด ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ด้วยนโยบายสำคัญ 3 ด้าน คือ ปราบปราม ป้องกัน และ บำบัด ในประเด็นที่ท่าน รมว.ยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับยาบ้านั้น น่าจะเป็นความพยายามที่จะลดจำนวนผู้ติดยาเสพติด ด้วยการเข้าไปช่วยผู้ติดยาเสพติดนำเข้าสู่ระบบบำบัด เช่นเดียวกับที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ
“ผมมองว่า ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมีการปรับการทำงานใหม่ ดูว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องนำมารักษา มาดูแลกันมากกว่าที่จะเป็นอาชญากร อันนี้คือเพื่อลด ไม่ใช่เพื่อเพิ่ม ก็น่าจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามดูกันต่อไป ทุกอย่างต้องเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีระบบรองรับผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดอยู่แล้ว โดยมีโรงพยาบาลรองรับจำนวน 800 กว่าแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัด เพื่อลดจำนวนผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้ได้มากที่สุด” รมว.สธ. กล่าว
สำหรับผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขได้บูรณาการการทำงานในเรื่องการบำบัดรักษา โดยนำผู้เสพ / ผู้ติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดในระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัดและระบบต้องโทษ โดยในปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดให้มีการนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดจำนวน 220,000 คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ จำนวน 69,700 คน ค่ายบำบัด 55,300 คน บังคับบำบัด 77,500 คน และต้องโทษ 17,500 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแนวคิดแก้ไขปัญหายาเสพติดของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยการยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า จากบัญชียาเสพติด ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ด้วยนโยบายสำคัญ 3 ด้าน คือ ปราบปราม ป้องกัน และ บำบัด ในประเด็นที่ท่าน รมว.ยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับยาบ้านั้น น่าจะเป็นความพยายามที่จะลดจำนวนผู้ติดยาเสพติด ด้วยการเข้าไปช่วยผู้ติดยาเสพติดนำเข้าสู่ระบบบำบัด เช่นเดียวกับที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ
“ผมมองว่า ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมีการปรับการทำงานใหม่ ดูว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องนำมารักษา มาดูแลกันมากกว่าที่จะเป็นอาชญากร อันนี้คือเพื่อลด ไม่ใช่เพื่อเพิ่ม ก็น่าจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามดูกันต่อไป ทุกอย่างต้องเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีระบบรองรับผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดอยู่แล้ว โดยมีโรงพยาบาลรองรับจำนวน 800 กว่าแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัด เพื่อลดจำนวนผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้ได้มากที่สุด” รมว.สธ. กล่าว
สำหรับผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขได้บูรณาการการทำงานในเรื่องการบำบัดรักษา โดยนำผู้เสพ / ผู้ติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดในระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัดและระบบต้องโทษ โดยในปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดให้มีการนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดจำนวน 220,000 คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ จำนวน 69,700 คน ค่ายบำบัด 55,300 คน บังคับบำบัด 77,500 คน และต้องโทษ 17,500 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่