โอเน็ตเป็นข่าวอีกแล้ว และก็ไม่ใช่ข่าวเชิงบวกอีกแล้ว
ทุกปีหลังจากมีการสอบโอเน็ตและเฉลยข้อสอบทีไร มีปัญหาทุกครั้ง เหมือนจะเป็นประเพณีไปแล้ว
การสอบโอเน็ต - O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ต้องการวัดผ่านการจัดการทดสอบในระดับชาติ โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ
สองวันนี้เด็ก ม.ปลาย สุมหัวกันเมาท์เรื่องเฉลยข้อสอบโอเน็ตกันสนุกสนาน หลังจากมีเฟซบุ๊ก Davance FC ได้เผยแพร่คลิป FB Live ของอาจารย์ปิง ติวเตอร์วิชาภาษาไทยและสังคมชื่อดัง ได้ตั้งคำถามถึงการออกข้อสอบโอเน็ต ม.6 ที่พบว่ามีการเฉลยคำตอบที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง และมีการตั้งคำถามกำกวมหลายข้อ
“ได้อ่านข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหลายข้อกำกวม ซึ่งข้อสอบแบบนี้ไม่ดี เพราะการออกข้อสอบควรวัดที่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่วัดที่มุมมอง เพราะคนหนึ่งอาจมองมุมหนึ่ง แต่อีกคนอาจมองอีกมุมก็ได้”
หลังจากเกิดเรื่อง รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ออกมาชี้แจงว่า ตนได้ให้อาจารย์ผู้ออกข้อสอบมาตรวจสอบข้อสอบและเฉลยคำตอบทุกข้ออีกครั้ง ซึ่งอาจารย์ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า มีข้อสอบผิดเพียง 1 ข้อ ตามที่ สทศ. ได้ปรับแก้คะแนนไปให้ผู้เข้าสอบเรียบร้อยแล้ว
“การที่ อ.ปิง ออกมายืนยันว่า ยังมีข้อสอบโอเน็ตผิดอีก พร้อมทั้งมีการกางตำรามายืนยันด้วยนั้น ผมยังยืนยันว่า มีข้อสอบวิชาสังคมฯ ผิดเพียง 1 ข้อเท่านั้น ทั้งนี้ เราต้องเชื่อใจในผู้ออกข้อสอบและเฉลยคำตอบ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น”
ใครผิดใครถูกเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะมีข้อมูลเป็นที่ประจักษ์
แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ ทำไมข้อสอบโอเน็ตต้องมีปัญหาทุกครั้งต่างหาก
ดิฉันยังจำได้ว่า เมื่อปีที่แล้วกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้ สทศ. ปรับการออกข้อสอบใหม่ ด้วยการลดข้อสอบแบบปรนัย และเพิ่มอัตนัย โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนข้อสอบโอเน็ต เริ่มนำร่องในข้อสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2559
ในระยะแรก การสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัย จะไม่เกินร้อยละ 20 โดยเป็นการเขียนตอบสั้น ๆ ส่งผลให้ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบปรนัยร้อยละ 80 และ ข้อสอบอัตนัยร้อยละ 20
และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจับตาดูเรื่องนี้อยู่ เพราะแนวโน้มก็จะมีการปรับข้อสอบทุกระดับ นัยว่าเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการสอบโอเน็ตที่มีปัญหาทุกปี
แต่ประเด็นก็คือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดจริงหรือ !
ปัญหาของการสอบโอเน็ต เป็นปัญหาของตัวเด็กคนทำข้อสอบหรือตัวข้อสอบเองกันแน่ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกข้อสอบ การตรวจคำตอบที่ได้มาตรฐาน หรือมาตรฐานของบุคลากรที่ต้องเป็นผู้ตรวจคำตอบ อุปกรณ์ ฯลฯ
ที่ผ่านมา ผลคะแนนสอบโอเน็ตของเด็กในบ้านเราเฉลี่ยตกต่ำทั่วประเทศ ทั้งที่เด็กเรียนกวดวิชากันสนั่นเมืองด้วยนะ บางคนถึงกับกวดวิชาเฉพาะสอบโอเน็ตด้วยซ้ำ
ดิฉันมีลูกอยู่ในวัยที่ผ่านการสอบโอเน็ตมาถึงสองคน ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 6 จนปัจจุบันก็สอบโอเน็ตระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงสนใจเป็นพิเศษ และก็เกิดคำถามตามมามากมาย
เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เอง ที่เคยเห็นข้อสอบโอเน็ตที่กระเด็นเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เราก็ยังตกใจไม่น้อยต่อข้อสอบโอเน็ต จนกลายมาเป็นมุกให้ผู้คนในสังคมต้องหยิบขึ้นมาพูดคุยกึ่งประชดประชันต่อข้อสอบเหล่านั้น
อาจารย์เกียรติวรรณ อมาตยกุล ก็เคยพูดถึงเรื่องข้อสอบโอเน็ตในบ้านเราว่า มีปัญหามาก คะแนนโดยเฉลี่ยของเด็กต่ำมาก เพราะข้อสอบยากเกินไป บางวิชาวัดความสามารถของเด็ก ๆ แทบไม่ได้ เพราะคนที่เดากลับได้คะแนนมากกว่า
อีกประการคือ ข้อสอบไม่สมเหตุสมผล และคำตอบก็กำกวม จนกลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเสียดสีในโลกออนไลน์แทบทุกครั้ง หลังจากเด็กสอบเสร็จ
ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เกียรติวรรณในเหตุผลดังกล่าว และเห็นด้วยกับอาจารย์ปิงที่กล่าวว่า การออกข้อสอบควรวัดที่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่วัดที่มุมมอง เพราะคนหนึ่งอาจมองมุมหนึ่ง แต่อีกคนอาจมองอีกมุมก็ได้
ยิ่งเป็นสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ยิ่งต้องสร้างความเชื่อมั่น มีระบบและมาตรฐาน ในกระบวนการทุกขั้นตอนให้ได้รับความน่าเชื่อถือ ทั้งก่อนและหลังสอบ
ถ้าจะให้ดีก็ควรจะมีการเฉลยข้อสอบพร้อมคำอธิบาย เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วย มิใช่บอกแค่ว่าข้อสอบและเฉลยถูกต้องแล้วเท่านั้น
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ผู้มีอำนาจต้องรีบจัดการให้ปรับปรุงข้อสอบทุกระดับให้เหมาะสมอย่างเร่งด่วนที่สุด
เคยมีนักวิชาการบางท่านถึงขนาดเสนอให้ยกเลิกการสอบโอเน็ตไปเลย เพราะเห็นปัญหาของมันชัดเจน ทั้งมาตรฐานของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับการวัดมาตรฐานความรู้ของเด็กได้จริง
ก่อนจะมีบทสรุป อยากให้ผู้บริหารได้ทดลองทำข้อสอบโอเน็ตเอง ไม่ต้องถึงท่านนายกฯหรอก
แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาควรทำแล้วดูว่าได้คะแนนเท่าไร รวมทั้งดูลักษณะข้อสอบโดยภาพรวมทั้งหมด
บางทีท่านอาจได้ภาพอีกอย่างมาเปรียบเทียบกับภาพที่ได้รับบรี๊ฟจากข้าราชการประจำเท่านั้น !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทุกปีหลังจากมีการสอบโอเน็ตและเฉลยข้อสอบทีไร มีปัญหาทุกครั้ง เหมือนจะเป็นประเพณีไปแล้ว
การสอบโอเน็ต - O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ต้องการวัดผ่านการจัดการทดสอบในระดับชาติ โดยมีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เป็นผู้ดำเนินการออกข้อสอบและจัดสอบทั่วประเทศ
สองวันนี้เด็ก ม.ปลาย สุมหัวกันเมาท์เรื่องเฉลยข้อสอบโอเน็ตกันสนุกสนาน หลังจากมีเฟซบุ๊ก Davance FC ได้เผยแพร่คลิป FB Live ของอาจารย์ปิง ติวเตอร์วิชาภาษาไทยและสังคมชื่อดัง ได้ตั้งคำถามถึงการออกข้อสอบโอเน็ต ม.6 ที่พบว่ามีการเฉลยคำตอบที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง และมีการตั้งคำถามกำกวมหลายข้อ
“ได้อ่านข้อสอบโอเน็ตสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหลายข้อกำกวม ซึ่งข้อสอบแบบนี้ไม่ดี เพราะการออกข้อสอบควรวัดที่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่วัดที่มุมมอง เพราะคนหนึ่งอาจมองมุมหนึ่ง แต่อีกคนอาจมองอีกมุมก็ได้”
หลังจากเกิดเรื่อง รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ออกมาชี้แจงว่า ตนได้ให้อาจารย์ผู้ออกข้อสอบมาตรวจสอบข้อสอบและเฉลยคำตอบทุกข้ออีกครั้ง ซึ่งอาจารย์ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า มีข้อสอบผิดเพียง 1 ข้อ ตามที่ สทศ. ได้ปรับแก้คะแนนไปให้ผู้เข้าสอบเรียบร้อยแล้ว
“การที่ อ.ปิง ออกมายืนยันว่า ยังมีข้อสอบโอเน็ตผิดอีก พร้อมทั้งมีการกางตำรามายืนยันด้วยนั้น ผมยังยืนยันว่า มีข้อสอบวิชาสังคมฯ ผิดเพียง 1 ข้อเท่านั้น ทั้งนี้ เราต้องเชื่อใจในผู้ออกข้อสอบและเฉลยคำตอบ เพราะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เป็นต้น”
ใครผิดใครถูกเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะมีข้อมูลเป็นที่ประจักษ์
แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ ทำไมข้อสอบโอเน็ตต้องมีปัญหาทุกครั้งต่างหาก
ดิฉันยังจำได้ว่า เมื่อปีที่แล้วกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้ สทศ. ปรับการออกข้อสอบใหม่ ด้วยการลดข้อสอบแบบปรนัย และเพิ่มอัตนัย โดยจะดำเนินการปรับเปลี่ยนข้อสอบโอเน็ต เริ่มนำร่องในข้อสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2559
ในระยะแรก การสอบโดยใช้ข้อสอบอัตนัย จะไม่เกินร้อยละ 20 โดยเป็นการเขียนตอบสั้น ๆ ส่งผลให้ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อสอบปรนัยร้อยละ 80 และ ข้อสอบอัตนัยร้อยละ 20
และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจับตาดูเรื่องนี้อยู่ เพราะแนวโน้มก็จะมีการปรับข้อสอบทุกระดับ นัยว่าเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการสอบโอเน็ตที่มีปัญหาทุกปี
แต่ประเด็นก็คือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดจริงหรือ !
ปัญหาของการสอบโอเน็ต เป็นปัญหาของตัวเด็กคนทำข้อสอบหรือตัวข้อสอบเองกันแน่ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการออกข้อสอบ การตรวจคำตอบที่ได้มาตรฐาน หรือมาตรฐานของบุคลากรที่ต้องเป็นผู้ตรวจคำตอบ อุปกรณ์ ฯลฯ
ที่ผ่านมา ผลคะแนนสอบโอเน็ตของเด็กในบ้านเราเฉลี่ยตกต่ำทั่วประเทศ ทั้งที่เด็กเรียนกวดวิชากันสนั่นเมืองด้วยนะ บางคนถึงกับกวดวิชาเฉพาะสอบโอเน็ตด้วยซ้ำ
ดิฉันมีลูกอยู่ในวัยที่ผ่านการสอบโอเน็ตมาถึงสองคน ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 6 จนปัจจุบันก็สอบโอเน็ตระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จึงสนใจเป็นพิเศษ และก็เกิดคำถามตามมามากมาย
เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เอง ที่เคยเห็นข้อสอบโอเน็ตที่กระเด็นเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เราก็ยังตกใจไม่น้อยต่อข้อสอบโอเน็ต จนกลายมาเป็นมุกให้ผู้คนในสังคมต้องหยิบขึ้นมาพูดคุยกึ่งประชดประชันต่อข้อสอบเหล่านั้น
อาจารย์เกียรติวรรณ อมาตยกุล ก็เคยพูดถึงเรื่องข้อสอบโอเน็ตในบ้านเราว่า มีปัญหามาก คะแนนโดยเฉลี่ยของเด็กต่ำมาก เพราะข้อสอบยากเกินไป บางวิชาวัดความสามารถของเด็ก ๆ แทบไม่ได้ เพราะคนที่เดากลับได้คะแนนมากกว่า
อีกประการคือ ข้อสอบไม่สมเหตุสมผล และคำตอบก็กำกวม จนกลายเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเสียดสีในโลกออนไลน์แทบทุกครั้ง หลังจากเด็กสอบเสร็จ
ดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เกียรติวรรณในเหตุผลดังกล่าว และเห็นด้วยกับอาจารย์ปิงที่กล่าวว่า การออกข้อสอบควรวัดที่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่วัดที่มุมมอง เพราะคนหนึ่งอาจมองมุมหนึ่ง แต่อีกคนอาจมองอีกมุมก็ได้
ยิ่งเป็นสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ยิ่งต้องสร้างความเชื่อมั่น มีระบบและมาตรฐาน ในกระบวนการทุกขั้นตอนให้ได้รับความน่าเชื่อถือ ทั้งก่อนและหลังสอบ
ถ้าจะให้ดีก็ควรจะมีการเฉลยข้อสอบพร้อมคำอธิบาย เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วย มิใช่บอกแค่ว่าข้อสอบและเฉลยถูกต้องแล้วเท่านั้น
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ผู้มีอำนาจต้องรีบจัดการให้ปรับปรุงข้อสอบทุกระดับให้เหมาะสมอย่างเร่งด่วนที่สุด
เคยมีนักวิชาการบางท่านถึงขนาดเสนอให้ยกเลิกการสอบโอเน็ตไปเลย เพราะเห็นปัญหาของมันชัดเจน ทั้งมาตรฐานของข้อสอบที่ไม่สอดคล้องกับการวัดมาตรฐานความรู้ของเด็กได้จริง
ก่อนจะมีบทสรุป อยากให้ผู้บริหารได้ทดลองทำข้อสอบโอเน็ตเอง ไม่ต้องถึงท่านนายกฯหรอก
แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาควรทำแล้วดูว่าได้คะแนนเท่าไร รวมทั้งดูลักษณะข้อสอบโดยภาพรวมทั้งหมด
บางทีท่านอาจได้ภาพอีกอย่างมาเปรียบเทียบกับภาพที่ได้รับบรี๊ฟจากข้าราชการประจำเท่านั้น !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่