กรมควบคุมโรค เผย ดัชนีลูกน้ำยุงลายกลายเป็นศูนย์ หลังเข้าควบคุมโรคจากการพบผู้ป่วยซิกา ในอุดรธานี พร้อมเพิ่มความเข้มข้นมาตรการเฝ้าระวัง
วันนี้ (1 มิ.ย.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ใน จ.อุดรธานี ว่า ทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่ควบคุมโรคด้วยความรวดเร็ว โดยพ่นยาฆ่ายุงลายในรัศมี 100 เมตร ภายใน 1 วัน เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคได้ผล ไม่กระจายไปในวงกว้าง และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ภายใน 5 วันต้องเป็นศูนย์ โดยไม่พบลูกน้ำยุงลายในตำบลที่มีรายงานผู้ป่วย ซึ่งสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี แจ้งผลการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงถึง 35 - 40% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของไทยจะมีการดำเนินการตามมาตรฐาน แต่เพื่อให้การดำเนินมาตรการในพื้นที่มีความเข้มข้นและต่อเนื่อง สธ. จึงได้สั่งการศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการต่าง ๆ ทั้งการป้องกัน ตรวจจับเร็ว วินิจฉัยเร็ว การเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง การรักษา/แยกผู้ป่วย รวมถึงจัดระบบปฎิบัติการภาวะฉุกเฉินเพื่อค้นหาผู้สัมผัสให้ได้ทุกรายโดยเร็ว ซึ่งห้องปฏิบัติการ (Lab) ของประเทศไทยสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาได้หลายแห่ง
นพ.อำนวย กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการสำรวจทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ หรือ ดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา” ครั้งล่าสุด ในพื้นที่ 25 จังหวัดทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย 3,276 ตัวอย่าง ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 49.3 รู้จัก/เคยได้ยินโรคติดเชื้อไวรัสซิกา, ประชาชนร้อยละ 33.9 รู้ว่าหากหญิงตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น, ประชาชนร้อยละ 45 ทราบว่ายุงลายกัดเป็นวิธีติดต่อที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา แต่มีถึงร้อยละ 33.7 ที่ไม่ทราบวิธีติดต่อของโรค, ประชาชนร้อยละ 55.6 กลัวจะติดเชื้อ/ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และประชาชนร้อยละ 48.3 คิดว่าชุมชนเองควรร่วมกันกำจัดยุง เพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่ในบ้านและชุมชนของตนเอง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ขอแนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และหญิงในวัยเจริญพันธุ์ ดังนี้ 1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โรงเรียน และสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการดำเนินตามมาตรการ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ” เพื่อป้องกัน 3 โรคดังกล่าว 2. การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุง นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด และ 3. หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขทั่วไป หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ทันที หากพบสถานการณ์หรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ประชาชนมาสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตรวจสอบได้ ประชาชนสามารถติดตามแนวทางคำแนะนำและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบันทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 มิ.ย.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ใน จ.อุดรธานี ว่า ทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่ควบคุมโรคด้วยความรวดเร็ว โดยพ่นยาฆ่ายุงลายในรัศมี 100 เมตร ภายใน 1 วัน เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคได้ผล ไม่กระจายไปในวงกว้าง และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ภายใน 5 วันต้องเป็นศูนย์ โดยไม่พบลูกน้ำยุงลายในตำบลที่มีรายงานผู้ป่วย ซึ่งสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 อุดรธานี แจ้งผลการประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงถึง 35 - 40% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของไทยจะมีการดำเนินการตามมาตรฐาน แต่เพื่อให้การดำเนินมาตรการในพื้นที่มีความเข้มข้นและต่อเนื่อง สธ. จึงได้สั่งการศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการต่าง ๆ ทั้งการป้องกัน ตรวจจับเร็ว วินิจฉัยเร็ว การเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง การรักษา/แยกผู้ป่วย รวมถึงจัดระบบปฎิบัติการภาวะฉุกเฉินเพื่อค้นหาผู้สัมผัสให้ได้ทุกรายโดยเร็ว ซึ่งห้องปฏิบัติการ (Lab) ของประเทศไทยสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาได้หลายแห่ง
นพ.อำนวย กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการสำรวจทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพ หรือ ดีดีซีโพล (DDC Poll) เรื่อง “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา” ครั้งล่าสุด ในพื้นที่ 25 จังหวัดทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมาย 3,276 ตัวอย่าง ช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยผลการสำรวจพบว่าประชาชนร้อยละ 49.3 รู้จัก/เคยได้ยินโรคติดเชื้อไวรัสซิกา, ประชาชนร้อยละ 33.9 รู้ว่าหากหญิงตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น, ประชาชนร้อยละ 45 ทราบว่ายุงลายกัดเป็นวิธีติดต่อที่สำคัญของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา แต่มีถึงร้อยละ 33.7 ที่ไม่ทราบวิธีติดต่อของโรค, ประชาชนร้อยละ 55.6 กลัวจะติดเชื้อ/ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และประชาชนร้อยละ 48.3 คิดว่าชุมชนเองควรร่วมกันกำจัดยุง เพื่อควบคุมลูกน้ำยุงลายและยุงตัวแก่ในบ้านและชุมชนของตนเอง
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ขอแนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และหญิงในวัยเจริญพันธุ์ ดังนี้ 1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย โรงเรียน และสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการดำเนินตามมาตรการ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ” เพื่อป้องกัน 3 โรคดังกล่าว 2. การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุง นอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด และ 3. หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขทั่วไป หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ทันที หากพบสถานการณ์หรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ประชาชนมาสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตรวจสอบได้ ประชาชนสามารถติดตามแนวทางคำแนะนำและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นปัจจุบันทางเว็บไซต์กรมควบคุมโรค หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่