รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
โรคกรดไหลย้อน คือ โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
โรคกรดไหลย้อนธรรมดา หมายถึง กรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร ไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น
โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึง โรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียง ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียง จากการระคายเคืองของกรด
อาการของโรคกรดไหลย้อนมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เมื่อแพทย์สงสัยว่าท่านอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน นอกเหนือจากการซักประวัติแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก และบริเวณท้องอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคกรดไหลย้อน
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้ยารับประทาน เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร หรือเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือหยุดยาเอง ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 - 3 เดือนกว่าที่อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น เมื่ออาการต่าง ๆ ดีขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยการดำเนินชีวิตประจำวัน และรับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 - 3 เดือนแล้ว แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อย ๆ ทีละน้อย ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิด จะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิดถ้าเป็นไปได้ เช่น เอ็นเสด (NSAID) แอสไพริน วิตามินซี เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepine) เป็นต้น
การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่ หลอดอาหาร คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งรักษาด้วยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่ได้ผล ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ ผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะรับประทานยาต่อ และผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ หลังหยุดยา
การรักษาและการป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่สำคัญที่สุด คือ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต” โดย ลดน้ำหนัก เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกิน จะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเครียด หากสูบบุหรี่ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับ หรือ รัดแน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว รับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก และหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ ไม่ควรนอนราบ ออกกำลัง ยกของหนัก เอี้ยวหรือก้มตัว หลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ และไม่ควรรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน รับประทานอาหารไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ รวมทั้งอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีน) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
เหล่านี้เป็นวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่ตรงจุดที่สุด เพราะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไป จึงควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น หรือหายดีแล้วก็ตาม
*******
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
จัดประชุมวิชาการประจำปี 2559 ระดับนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา หัวข้อ “Innovation in Health” วันที่ 13 - 15 มิ.ย. 59 ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช ขอเชิญชวนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชา นิสิต - นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แพทย์เข้าร่วมประชุมฯ ดูรายละเอียดและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.sirirajconference.com ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติม งานวิชาการ โทร.0 2419 2673-5
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
โรคกรดไหลย้อน คือ โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
โรคกรดไหลย้อนธรรมดา หมายถึง กรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร ไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น
โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึง โรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียง ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียง จากการระคายเคืองของกรด
อาการของโรคกรดไหลย้อนมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เมื่อแพทย์สงสัยว่าท่านอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน นอกเหนือจากการซักประวัติแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก และบริเวณท้องอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายโรคกรดไหลย้อน
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการให้ยารับประทาน เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร หรือเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ผู้ป่วยควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือหยุดยาเอง ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 - 3 เดือนกว่าที่อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น เมื่ออาการต่าง ๆ ดีขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยการดำเนินชีวิตประจำวัน และรับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 - 3 เดือนแล้ว แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อย ๆ ทีละน้อย ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิด จะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิดถ้าเป็นไปได้ เช่น เอ็นเสด (NSAID) แอสไพริน วิตามินซี เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepine) เป็นต้น
การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่ หลอดอาหาร คอและกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งรักษาด้วยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่ได้ผล ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ได้ ผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะรับประทานยาต่อ และผู้ป่วยที่กลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ หลังหยุดยา
การรักษาและการป้องกันโรคกรดไหลย้อนที่สำคัญที่สุด คือ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต” โดย ลดน้ำหนัก เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกิน จะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงความเครียด หากสูบบุหรี่ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับ หรือ รัดแน่นเกินไปโดยเฉพาะบริเวณรอบเอว รับประทานอาหารที่มีกากใยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก และหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ ไม่ควรนอนราบ ออกกำลัง ยกของหนัก เอี้ยวหรือก้มตัว หลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ และไม่ควรรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มใด ๆ ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน รับประทานอาหารไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ รวมทั้งอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด รับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีกาเฟอีน) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 - 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
เหล่านี้เป็นวิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่ตรงจุดที่สุด เพราะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไป จึงควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น หรือหายดีแล้วก็ตาม
*******
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
จัดประชุมวิชาการประจำปี 2559 ระดับนานาชาติด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา หัวข้อ “Innovation in Health” วันที่ 13 - 15 มิ.ย. 59 ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช ขอเชิญชวนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชา นิสิต - นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แพทย์เข้าร่วมประชุมฯ ดูรายละเอียดและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.sirirajconference.com ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติม งานวิชาการ โทร.0 2419 2673-5
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่