หลังจากมีประเด็นถกเถียงถึงการนำ “กัญชา” ซึ่งถือเป็นยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาใช้ในการรักษาทางการแพทย์ หลังมีผลวิจัยว่าสามารถลดอาการปวดและคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาแผนปัจจุบัน และสามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้นั้น จนมีการหารือว่าจะมีการแก้กฎหมายเพื่อให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ได้นั้น ล่าสุด สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายความจริง เรื่อง กัญชา กับ มะเร็ง ให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองมีความผิดตามกฎหมาย
2. กัญชายังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในคนได้จริงหรือไม่
3. ปัจจุบันกัญชามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น
4. ผลการวิจัยในคนยืนยันว่า กัญชาสามารถลดอาการปวดและคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ยาแผนปัจจุบัน
5. การเสพกัญชามีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม มีผลต่อจิตประสาทและอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
6. การจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนประกอบของกัญชาในต่างประเทศ โดยไม่ยื่นจดในไทย ไม่มีผลได้รับการคุ้มครองในไทย
7. ประเทศไทยอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำกัญชามาวิจัยในทางการแพทย์ได้
การแก้กฎหมายดังกล่าว คือ การที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้จัดทำร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งมีการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดหลายฉบับบรรจุไว้เป็นร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับเดียว ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงการปลดล็อกให้สามารถนำกัญชามาใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ได้ แต่ต้องจับตาดูว่าจะปลดล็อกอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขกฎเกณฑ์อะไร เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างของการนำมาสู่การค้าและการเสพยาเสพติด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
1. กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองมีความผิดตามกฎหมาย
2. กัญชายังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในคนได้จริงหรือไม่
3. ปัจจุบันกัญชามีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น
4. ผลการวิจัยในคนยืนยันว่า กัญชาสามารถลดอาการปวดและคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการให้ยาแผนปัจจุบัน
5. การเสพกัญชามีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม มีผลต่อจิตประสาทและอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
6. การจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนประกอบของกัญชาในต่างประเทศ โดยไม่ยื่นจดในไทย ไม่มีผลได้รับการคุ้มครองในไทย
7. ประเทศไทยอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำกัญชามาวิจัยในทางการแพทย์ได้
การแก้กฎหมายดังกล่าว คือ การที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้จัดทำร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งมีการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดหลายฉบับบรรจุไว้เป็นร่างประมวลกฎหมายยาเสพติดฉบับเดียว ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงการปลดล็อกให้สามารถนำกัญชามาใช้ในการวิจัยทางการแพทย์ได้ แต่ต้องจับตาดูว่าจะปลดล็อกอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขกฎเกณฑ์อะไร เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างของการนำมาสู่การค้าและการเสพยาเสพติด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่