โรงเรียนกวดวิชามีเสน่ห์อย่างไรหรือ ถึงได้กลายเป็นความจำเป็นของชีวิตที่เด็กวัยเรียนจะขาดเสียไม่ได้!
ช่วงปิดเทอมมีโอกาสได้พูดคุยกับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเรียนจบมัธยมปลายหลายคน พูดคุยถึงความฝัน ความหวัง เป้าหมายของชีวิต หนทางการศึกษาที่ต้องการจะเดินไปให้ถึง รวมไปถึงการเรียนกวดวิชา
เป็นที่รับรู้โดยถ้วนทั่วว่าเด็กไทยที่เรียนหนังสืออยู่ทุกวี่วันในบ้านเรา แทบทุกคนที่ต้องเรียนพิเศษหรือเรียนกวดวิชา มีเพียงส่วนน้อยจริง ๆ ที่จะปฏิเสธได้ แม้บางคนจะยังปฏิเสธได้ตอนลูกอยู่วัยเด็กเล็ก แต่พอเขาต้องเติบโตและขึ้นชั้นสูงไปตามวัย ก็ยากที่จะปฏิเสธการเรียนพิเศษเรียนกวดวิชาไปได้ ไม่มากก็น้อย
โรงเรียนกวดวิชาในบ้านเราผลิบานเป็นดอกเห็ด เกิดใหม่รายวัน และจากไปเร็วพลันก็มีมากมาย
ปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชามีหลากหลายมากมายกว่าในอดีตที่มีเพียงไม่กี่แห่ง แต่เดี๋ยวนี้ โรงเรียนกวดวิชามีเป็นแฟรนไชส์ มีสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายเกรดอีกต่างหาก ที่พอรวบรวมขอแบ่งคร่าว ๆ ดังนี้
ประเภทแรก - สถาบันกวดวิชา ที่แบ่งเป็นวิชาชัดเจน เช่น สอนภาษาอังกฤษ สอนคณิตศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบรนด์ต่างชาติ หรือเป็นสาขา หรือไม่ก็เป็นแบรนด์ในบ้านเรา
ประเภทที่สอง - สถาบันกวดวิชาที่เน้นที่ตัวครูเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อสถาบันตามชื่อครู ประเภทนี้ส่วนใหญ่ เด็กนักเรียนจะเชื่อถือครูคนนั้น แม้จะต้องใช้วิธีเรียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ยอม เพราะสามารถที่จะฟังย้อนหลัง หรือเรียนตอนไหนก็สามารถกำหนดได้
ประเภทที่สาม - สถาบันกวดวิชาที่เน้นเสริมทักษะชีวิต เช่น โรงเรียนสอนดนตรี ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันก็มีโรงเรียนประเภทนี้เกิดขึ้นมากมาย เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของพ่อแม่รุ่นใหม่ที่เชื่อว่าการเสริมทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ลูกมีทักษะอื่น ๆ ควบคู่กับการเรียนวิชาการด้วย ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อยที่พ่อแม่ให้ลูกเรียนทั้งวิชาการและเสริมทักษะอื่น ๆ ไปด้วย
ประเภทที่สี่ - ติวเตอร์ห้องแถว ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาครูทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ต้องการหารายได้พิเศษ จะเน้นวันเสาร์อาทิตย์และช่วงปิดเทอม
ประเภทสุดท้าย - สอนตามบ้าน ส่วนใหญ่ติวเตอร์เหล่านี้จะเป็นนิสิตนักศึกษาที่เรียนเก่งและอยู่มหาวิทยาลัยชื่อดัง จะรับสอนเด็กที่อาจมุ่งหมายเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่พวกเขาศึกษาอยู่
ปีนี้เจ้าลูกชายคนโตของดิฉันจบมัธยมปลาย และมีเพื่อนพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้มีโอกาสสัมผัสชีวิตของบรรดาสถาบันกวดวิชาเหล่านี้ ยอมรับว่า ไม่แปลกใจที่ทำไมพ่อแม่หรือตัวเด็กเองอยากไปเรียนกวดวิชามากกว่า เพราะมีดีอะไร?
หนึ่ง - เข้าใจ
เทคนิคการสอนของครูหรือติวเตอร์เก่ง ๆ แพรวพราวน่าสนใจกว่าครูในระบบ พูดง่าย ๆ ก็คือ น่าเรียนกว่า เข้าใจง่ายกว่า ที่สำคัญ สามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจง่าย ซึ่งประเด็นนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะถ้าเนื้อหายาก แล้วใช้วิธีท่องจำอย่างเดียว จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา แต่ถ้ามีเทคนิคที่ทำให้เด็กเข้าใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่า
สอง - เข้าถึง
การมีเทคนิคการสอนที่ดี ก็ต้องมีจิตวิทยาที่ดีสามารถเข้าถึงเด็ก ๆ ได้ด้วย เพราะครูจำนวนมากในระบบที่ทำให้เด็กนักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่อยากเรียน หรือนอนหลับ ส่วนหนึ่งก็เพราะน่าเบื่อ แต่บรรดาติวเตอร์จะมีลูกเล่น และสามารถเชื่อมโยงกับความสนใจของเด็ก ๆ ที่พวกเขาสอนด้วย ทำให้มีมุก และเข้าถึงความสนใจของเด็กนักเรียนได้ด้วย
สาม - เข้าทาง
จากที่สัมผัสกับติวเตอร์บางคน พบว่า ติวเตอร์บางคนและบางแห่งสามารถให้คำแนะนำ หรือสัมผัสกับเด็กได้ว่าเด็กคนไหนถนัดอะไร และให้คำชี้แนะได้ เรียกว่าช่วยแนะนำทำให้เด็กได้รู้ทิศทางที่ตัวเองถนัดได้ด้วย ซึ่งข้อนี้สำหรับเด็กบางคนอาจขาดที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำได้ เด็กบางคนจึงรู้สึกดีกับพี่ติวเตอร์อย่างมาก
ที่เขียนถึงเรื่องนี้ เพราะแม้ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับการส่งให้ลูกไปเรียนกวดวิชา ไม่อยากให้พ่อแม่ยัดเยียดให้ลูกเรียนกวดวิชาแบบบ้าระห่ำ แต่ก็ยอมรับว่าในระบบการศึกษาปกติภายในโรงเรียนของบ้านเรามีปัญหาจริง ๆ คุณครูผู้สอนจำนวนไม่น้อยขาดจิตวิทยาในการเข้าใจ เข้าถึง หรือแม้แต่เข้าทาง และกลายเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้
และจากการที่ได้พูดคุยกับครูและติวเตอร์ที่เคยอยู่ในระบบแล้ว ก็พบว่ามีจำนวนไม่น้อยที่พวกเขาต้องออกมานอกระบบและมาเปิด หรือสอนผ่านโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งเหตุผลไม่ใช่แค่เรื่องเงิน หรือรายได้ที่มากขึ้นอย่างเดียว แต่ระบบการศึกษาเองไม่เอื้อที่จะทำให้ครูคุณภาพอยากอยู่ในภาครัฐได้ด้วยต่างหาก
แต่ถ้าเราหยิบข้อดีและสามารถทำให้บรรดาครู หรือ ติวเตอร์ จากสถาบันกวดวิชาเข้ามาสู่ระบบได้จะไม่ดีกว่าหรือ คำถามนี้ยากทั้งคำตอบและการปฏิบัติให้เป็นจริงตามคำตอบนั้น แต่ถ้าทำได้ จะเป็นการปฏิรูปการศึกษาแบบคิดนอกกรอบหรือแหกกรอบครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว
ครูเก่ง ๆ ใครก็อยากได้ แต่ครูที่มีเทคนิคการสอนเก่งมีความสำคัญกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ช่วงปิดเทอมมีโอกาสได้พูดคุยกับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเรียนจบมัธยมปลายหลายคน พูดคุยถึงความฝัน ความหวัง เป้าหมายของชีวิต หนทางการศึกษาที่ต้องการจะเดินไปให้ถึง รวมไปถึงการเรียนกวดวิชา
เป็นที่รับรู้โดยถ้วนทั่วว่าเด็กไทยที่เรียนหนังสืออยู่ทุกวี่วันในบ้านเรา แทบทุกคนที่ต้องเรียนพิเศษหรือเรียนกวดวิชา มีเพียงส่วนน้อยจริง ๆ ที่จะปฏิเสธได้ แม้บางคนจะยังปฏิเสธได้ตอนลูกอยู่วัยเด็กเล็ก แต่พอเขาต้องเติบโตและขึ้นชั้นสูงไปตามวัย ก็ยากที่จะปฏิเสธการเรียนพิเศษเรียนกวดวิชาไปได้ ไม่มากก็น้อย
โรงเรียนกวดวิชาในบ้านเราผลิบานเป็นดอกเห็ด เกิดใหม่รายวัน และจากไปเร็วพลันก็มีมากมาย
ปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชามีหลากหลายมากมายกว่าในอดีตที่มีเพียงไม่กี่แห่ง แต่เดี๋ยวนี้ โรงเรียนกวดวิชามีเป็นแฟรนไชส์ มีสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหลายเกรดอีกต่างหาก ที่พอรวบรวมขอแบ่งคร่าว ๆ ดังนี้
ประเภทแรก - สถาบันกวดวิชา ที่แบ่งเป็นวิชาชัดเจน เช่น สอนภาษาอังกฤษ สอนคณิตศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งมีทั้งแบรนด์ต่างชาติ หรือเป็นสาขา หรือไม่ก็เป็นแบรนด์ในบ้านเรา
ประเภทที่สอง - สถาบันกวดวิชาที่เน้นที่ตัวครูเป็นหลัก ส่วนใหญ่มักจะตั้งชื่อสถาบันตามชื่อครู ประเภทนี้ส่วนใหญ่ เด็กนักเรียนจะเชื่อถือครูคนนั้น แม้จะต้องใช้วิธีเรียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ยอม เพราะสามารถที่จะฟังย้อนหลัง หรือเรียนตอนไหนก็สามารถกำหนดได้
ประเภทที่สาม - สถาบันกวดวิชาที่เน้นเสริมทักษะชีวิต เช่น โรงเรียนสอนดนตรี ศิลปะ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันก็มีโรงเรียนประเภทนี้เกิดขึ้นมากมาย เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของพ่อแม่รุ่นใหม่ที่เชื่อว่าการเสริมทักษะเหล่านี้จะช่วยให้ลูกมีทักษะอื่น ๆ ควบคู่กับการเรียนวิชาการด้วย ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อยที่พ่อแม่ให้ลูกเรียนทั้งวิชาการและเสริมทักษะอื่น ๆ ไปด้วย
ประเภทที่สี่ - ติวเตอร์ห้องแถว ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาครูทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ต้องการหารายได้พิเศษ จะเน้นวันเสาร์อาทิตย์และช่วงปิดเทอม
ประเภทสุดท้าย - สอนตามบ้าน ส่วนใหญ่ติวเตอร์เหล่านี้จะเป็นนิสิตนักศึกษาที่เรียนเก่งและอยู่มหาวิทยาลัยชื่อดัง จะรับสอนเด็กที่อาจมุ่งหมายเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่พวกเขาศึกษาอยู่
ปีนี้เจ้าลูกชายคนโตของดิฉันจบมัธยมปลาย และมีเพื่อนพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้มีโอกาสสัมผัสชีวิตของบรรดาสถาบันกวดวิชาเหล่านี้ ยอมรับว่า ไม่แปลกใจที่ทำไมพ่อแม่หรือตัวเด็กเองอยากไปเรียนกวดวิชามากกว่า เพราะมีดีอะไร?
หนึ่ง - เข้าใจ
เทคนิคการสอนของครูหรือติวเตอร์เก่ง ๆ แพรวพราวน่าสนใจกว่าครูในระบบ พูดง่าย ๆ ก็คือ น่าเรียนกว่า เข้าใจง่ายกว่า ที่สำคัญ สามารถอธิบายเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจง่าย ซึ่งประเด็นนี้มีความสำคัญยิ่ง เพราะถ้าเนื้อหายาก แล้วใช้วิธีท่องจำอย่างเดียว จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนา แต่ถ้ามีเทคนิคที่ทำให้เด็กเข้าใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่า
สอง - เข้าถึง
การมีเทคนิคการสอนที่ดี ก็ต้องมีจิตวิทยาที่ดีสามารถเข้าถึงเด็ก ๆ ได้ด้วย เพราะครูจำนวนมากในระบบที่ทำให้เด็กนักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่อยากเรียน หรือนอนหลับ ส่วนหนึ่งก็เพราะน่าเบื่อ แต่บรรดาติวเตอร์จะมีลูกเล่น และสามารถเชื่อมโยงกับความสนใจของเด็ก ๆ ที่พวกเขาสอนด้วย ทำให้มีมุก และเข้าถึงความสนใจของเด็กนักเรียนได้ด้วย
สาม - เข้าทาง
จากที่สัมผัสกับติวเตอร์บางคน พบว่า ติวเตอร์บางคนและบางแห่งสามารถให้คำแนะนำ หรือสัมผัสกับเด็กได้ว่าเด็กคนไหนถนัดอะไร และให้คำชี้แนะได้ เรียกว่าช่วยแนะนำทำให้เด็กได้รู้ทิศทางที่ตัวเองถนัดได้ด้วย ซึ่งข้อนี้สำหรับเด็กบางคนอาจขาดที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำได้ เด็กบางคนจึงรู้สึกดีกับพี่ติวเตอร์อย่างมาก
ที่เขียนถึงเรื่องนี้ เพราะแม้ส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยกับการส่งให้ลูกไปเรียนกวดวิชา ไม่อยากให้พ่อแม่ยัดเยียดให้ลูกเรียนกวดวิชาแบบบ้าระห่ำ แต่ก็ยอมรับว่าในระบบการศึกษาปกติภายในโรงเรียนของบ้านเรามีปัญหาจริง ๆ คุณครูผู้สอนจำนวนไม่น้อยขาดจิตวิทยาในการเข้าใจ เข้าถึง หรือแม้แต่เข้าทาง และกลายเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้
และจากการที่ได้พูดคุยกับครูและติวเตอร์ที่เคยอยู่ในระบบแล้ว ก็พบว่ามีจำนวนไม่น้อยที่พวกเขาต้องออกมานอกระบบและมาเปิด หรือสอนผ่านโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งเหตุผลไม่ใช่แค่เรื่องเงิน หรือรายได้ที่มากขึ้นอย่างเดียว แต่ระบบการศึกษาเองไม่เอื้อที่จะทำให้ครูคุณภาพอยากอยู่ในภาครัฐได้ด้วยต่างหาก
แต่ถ้าเราหยิบข้อดีและสามารถทำให้บรรดาครู หรือ ติวเตอร์ จากสถาบันกวดวิชาเข้ามาสู่ระบบได้จะไม่ดีกว่าหรือ คำถามนี้ยากทั้งคำตอบและการปฏิบัติให้เป็นจริงตามคำตอบนั้น แต่ถ้าทำได้ จะเป็นการปฏิรูปการศึกษาแบบคิดนอกกรอบหรือแหกกรอบครั้งยิ่งใหญ่ทีเดียว
ครูเก่ง ๆ ใครก็อยากได้ แต่ครูที่มีเทคนิคการสอนเก่งมีความสำคัญกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่