พ้นวันเด็กไม่ทันไรวันครูก็ใกล้เข้ามา
ทำให้นึกถึงคุณครูจำนวนมากที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มีทั้งคุณครูที่เราชอบ และคุณครูที่เราไม่ชอบ คุณครูที่อยู่ในความทรงจำไม่เคยเสื่อมคลาย คุณครูที่ไม่อยากจะนึกถึงเลย ฯลฯ
เชื่อแน่ว่าทุกคนก็ล้วนแล้วแต่เคยมีความทรงจำเกี่ยวกับคุณครูมากมาย คุณครูที่อยู่ในความทรงจำที่ดี เราก็อยากจะกลับไปหา ไปกราบไหว้ ไปเยี่ยม ฯลฯ คุณครูที่เราไม่อยากเจอะเจอ เวลาต้องเจอก็มักจะหลบหลีกใช่หรือไม่ !
แล้วครูแบบไหนที่ลูกศิษย์อยากได้ ?
หนึ่ง - ครูที่ไม่ได้สอนแค่วิชาการ
แต่สอดแทรกวิชาชีวิตด้วย เพราะสอนแต่วิชาการเมื่อจบวิชาก็จากไป ส่วนใหญ่ครูประเภทนี้ ก็จะมีเด็กเรียนเท่านั้นที่มักจะเข้าหา เพื่อไปสอบถามเรื่องวิชาการ ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ ก็จะไม่เข้าหา พอเด็กข้ามชั้นเรียนไปแล้ว เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเข้าหา จะเป็นแค่คุณครูที่เคยสอนวิชานั้นวิชานี้
แต่ถ้าคุณครูสอนวิชาการด้วย และสอดแทรกทักษะชีวิตอื่น ๆ ในแต่ละด้านที่เหมาะกับเด็กในแต่ละวัย มีการนำเรื่องราวในกระแสและเข้าใจความสนใจของเด็ก ก็จะได้รับความสนใจจากเด็ก และเด็ก ๆ ก็จะเข้าหาได้ง่ายขึ้น
สอง - ครูที่ไม่ใช่จ้องแต่จะสอน
ในที่นี้หมายถึงเมื่อเจอลูกศิษย์ทีไรก็จ้องจะสอนอย่างเดียว แม้จะไม่ได้ยู่ในห้องเรียน ก็จ้องจะสอนอยู่ดี และต้องให้เด็กทำแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น เด็กต้องเป็นเด็ก ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบเท่านั้น แม้จะปรารถนาดี แต่เด็กมักจะไม่อยากพบเจอ
สาม - ครูที่ไม่จ้องจับผิด
ต่อเนื่องมาจากข้อที่สอง แต่ประเภทนี้มักจะจับผิดอย่างเดียว เรียกว่าเด็กเดินมาแต่ไกลก็หาข้อจับผิดจนได้ ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เคยเกเร มีประวัติอยู่ก่อน ก็อาจถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา ครูประเภทนี้ เด็ก ๆ มักจะหลบหนี และไม่เข้าหาแน่นอน อ้อ ครูประเภทนี้มักได้รับฉายาแสบ ๆ จากเด็กๆอีกต่างหาก
สี่ - ครูที่ไม่ลำเอียง
มีครูจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบเด็กที่ตั้งใจเรียน เด็กที่เรียนเก่ง และแสดงออกชัดเจนว่าใส่ใจเด็กที่เข้าหาเท่านั้น ซึ่งจริงๆเด็กทุกคนต้องการให้คุณครูรัก และก็ต้องมีความยุติธรรมด้วย ถ้าเด็กที่มีความรู้สึกว่าครูลำเอียงเมื่อไหร่ ก็จะยิ่งออกห่าง และจะรู้สึกว่าทำอะไรไป ครูก็ไม่เห็นด้วยกับตนเองอยู่ดี
ห้า - ครูที่ให้ความเป็นเพื่อน
เพราะให้ความเป็นเพื่อน คือพร้อมจะรับฟังและเข้าใจ เด็กส่วนใหญ่ชอบครูประเภทนี้ เวลามีปัญหาใด ๆ ก็กล้าที่จะเข้าไปปรึกษา ไปเล่าให้ฟัง เรียกว่ามีความเป็นกันเอง ก็จะทำให้นักเรียนกล้าซักถามเมื่อมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเรียนหรือปัญหาส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ครูมีส่วนช่วยเหลือนักเรียนได้มาก
หก - ครูที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม
การที่ครูมีอารมณ์ขันบ้าง จะทำให้เด็กรู้สึกสบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณครูที่ต้องสอนวิชาการที่ค่อนข้างเครียด เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เป็นต้น ถ้าครูมีอารมณ์ขัน และใบหน้ายิ้มแย้มจะช่วยลดความยากของวิชาไปได้มาก ทำให้นักเรียนสนใจ อยากเรียนมากขึ้น ยิ่งถ้ามีเทคนิคการสอนด้วยแล้ว เด็กจะชอบมาก
เจ็ด - ครูที่มีจิตวิทยาการสอน
ครูควรมีวิธีการสอนที่ดี เข้าใจง่าย และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเข้าใจจิตวิทยาเด็กเป็นอย่างดี นักเรียนมักชอบครูที่มีความรู้ดี โดยเฉพาะในวิชาที่สอน สังเกตได้จากบรรดาติวเตอร์ที่สอนกวดวิชาก็ได้ ที่นอกจากจะมีเทคนิคการสอนที่ดียังมีจิตวิทยาการสอนที่ดีด้วย จึงทำให้เด็กจำนวนมากชอบที่จะเรียนกับติวเตอร์ชื่อดัง
แปด - ครูที่มีความเมตตาต่อเด็ก
เพราะทุกคนก็มีโอกาสทำผิดพลาดได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นคุณครูมีจิตเมตตาพร้อมจะให้อภัยเด็ก มิใช่ผูกใจพยาบาท และกลายเป็นไม่ชอบหน้าเด็กคนนั้นไปเลย เมื่อทำอะไรผิดก็คิดทำโทษอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำอธิบายใด ๆ
ใคร ๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นครูได้ แต่ไม่ใช่ครูทุกคนจะถึงพร้อมซึ่ง “ความเป็นครู”
ทั้ง 8 ประการนี้ที่จะประทับอยู่ในหัวใจของศิษย์ไปนานเท่านาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทำให้นึกถึงคุณครูจำนวนมากที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มีทั้งคุณครูที่เราชอบ และคุณครูที่เราไม่ชอบ คุณครูที่อยู่ในความทรงจำไม่เคยเสื่อมคลาย คุณครูที่ไม่อยากจะนึกถึงเลย ฯลฯ
เชื่อแน่ว่าทุกคนก็ล้วนแล้วแต่เคยมีความทรงจำเกี่ยวกับคุณครูมากมาย คุณครูที่อยู่ในความทรงจำที่ดี เราก็อยากจะกลับไปหา ไปกราบไหว้ ไปเยี่ยม ฯลฯ คุณครูที่เราไม่อยากเจอะเจอ เวลาต้องเจอก็มักจะหลบหลีกใช่หรือไม่ !
แล้วครูแบบไหนที่ลูกศิษย์อยากได้ ?
หนึ่ง - ครูที่ไม่ได้สอนแค่วิชาการ
แต่สอดแทรกวิชาชีวิตด้วย เพราะสอนแต่วิชาการเมื่อจบวิชาก็จากไป ส่วนใหญ่ครูประเภทนี้ ก็จะมีเด็กเรียนเท่านั้นที่มักจะเข้าหา เพื่อไปสอบถามเรื่องวิชาการ ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ ก็จะไม่เข้าหา พอเด็กข้ามชั้นเรียนไปแล้ว เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเข้าหา จะเป็นแค่คุณครูที่เคยสอนวิชานั้นวิชานี้
แต่ถ้าคุณครูสอนวิชาการด้วย และสอดแทรกทักษะชีวิตอื่น ๆ ในแต่ละด้านที่เหมาะกับเด็กในแต่ละวัย มีการนำเรื่องราวในกระแสและเข้าใจความสนใจของเด็ก ก็จะได้รับความสนใจจากเด็ก และเด็ก ๆ ก็จะเข้าหาได้ง่ายขึ้น
สอง - ครูที่ไม่ใช่จ้องแต่จะสอน
ในที่นี้หมายถึงเมื่อเจอลูกศิษย์ทีไรก็จ้องจะสอนอย่างเดียว แม้จะไม่ได้ยู่ในห้องเรียน ก็จ้องจะสอนอยู่ดี และต้องให้เด็กทำแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น เด็กต้องเป็นเด็ก ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบเท่านั้น แม้จะปรารถนาดี แต่เด็กมักจะไม่อยากพบเจอ
สาม - ครูที่ไม่จ้องจับผิด
ต่อเนื่องมาจากข้อที่สอง แต่ประเภทนี้มักจะจับผิดอย่างเดียว เรียกว่าเด็กเดินมาแต่ไกลก็หาข้อจับผิดจนได้ ยิ่งถ้าเป็นเด็กที่เคยเกเร มีประวัติอยู่ก่อน ก็อาจถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา ครูประเภทนี้ เด็ก ๆ มักจะหลบหนี และไม่เข้าหาแน่นอน อ้อ ครูประเภทนี้มักได้รับฉายาแสบ ๆ จากเด็กๆอีกต่างหาก
สี่ - ครูที่ไม่ลำเอียง
มีครูจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบเด็กที่ตั้งใจเรียน เด็กที่เรียนเก่ง และแสดงออกชัดเจนว่าใส่ใจเด็กที่เข้าหาเท่านั้น ซึ่งจริงๆเด็กทุกคนต้องการให้คุณครูรัก และก็ต้องมีความยุติธรรมด้วย ถ้าเด็กที่มีความรู้สึกว่าครูลำเอียงเมื่อไหร่ ก็จะยิ่งออกห่าง และจะรู้สึกว่าทำอะไรไป ครูก็ไม่เห็นด้วยกับตนเองอยู่ดี
ห้า - ครูที่ให้ความเป็นเพื่อน
เพราะให้ความเป็นเพื่อน คือพร้อมจะรับฟังและเข้าใจ เด็กส่วนใหญ่ชอบครูประเภทนี้ เวลามีปัญหาใด ๆ ก็กล้าที่จะเข้าไปปรึกษา ไปเล่าให้ฟัง เรียกว่ามีความเป็นกันเอง ก็จะทำให้นักเรียนกล้าซักถามเมื่อมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเรียนหรือปัญหาส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ครูมีส่วนช่วยเหลือนักเรียนได้มาก
หก - ครูที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม
การที่ครูมีอารมณ์ขันบ้าง จะทำให้เด็กรู้สึกสบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณครูที่ต้องสอนวิชาการที่ค่อนข้างเครียด เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เป็นต้น ถ้าครูมีอารมณ์ขัน และใบหน้ายิ้มแย้มจะช่วยลดความยากของวิชาไปได้มาก ทำให้นักเรียนสนใจ อยากเรียนมากขึ้น ยิ่งถ้ามีเทคนิคการสอนด้วยแล้ว เด็กจะชอบมาก
เจ็ด - ครูที่มีจิตวิทยาการสอน
ครูควรมีวิธีการสอนที่ดี เข้าใจง่าย และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความเข้าใจจิตวิทยาเด็กเป็นอย่างดี นักเรียนมักชอบครูที่มีความรู้ดี โดยเฉพาะในวิชาที่สอน สังเกตได้จากบรรดาติวเตอร์ที่สอนกวดวิชาก็ได้ ที่นอกจากจะมีเทคนิคการสอนที่ดียังมีจิตวิทยาการสอนที่ดีด้วย จึงทำให้เด็กจำนวนมากชอบที่จะเรียนกับติวเตอร์ชื่อดัง
แปด - ครูที่มีความเมตตาต่อเด็ก
เพราะทุกคนก็มีโอกาสทำผิดพลาดได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นคุณครูมีจิตเมตตาพร้อมจะให้อภัยเด็ก มิใช่ผูกใจพยาบาท และกลายเป็นไม่ชอบหน้าเด็กคนนั้นไปเลย เมื่อทำอะไรผิดก็คิดทำโทษอย่างเดียว โดยไม่ฟังคำอธิบายใด ๆ
ใคร ๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นครูได้ แต่ไม่ใช่ครูทุกคนจะถึงพร้อมซึ่ง “ความเป็นครู”
ทั้ง 8 ประการนี้ที่จะประทับอยู่ในหัวใจของศิษย์ไปนานเท่านาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่