เภสัชกรทั่วประเทศร่วมถอดบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ต่อเนื่องปีที่ 2 พร้อมมอบรางวัลผลงานวิชาการดีเด่น มุ่งแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ พัฒนาบทบาทร่วมเป็นทีมหมอครอบครัวดูแลประชาชน รองรับสังคมสูงอายุ ขณะที่ สปสช.หนุนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ คุ้มครองสุขภาพประชาชนจากปัญหาใช้ยาไม่เหมาะสม
นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2555-2559 บริการปฐมภูมิเป็นยุทธศาสตร์สำคัญลำดับที่ 3 กำหนดให้ สปสช.สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการ โดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมทุกมิติ สอดคล้องบริทบพื้นที่ เน้นบริการปฐมภูมิที่จำเป็นอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนที่ลงทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิแบบใกล้บ้านใกล้ใจเสมือนหมอครอบครัว สอดคล้องต่อนโยบายการปฏิรูประบบบริการของกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ในงานระดับปฐมภูมิมองว่าเภสัชกรเป็นวิชาชีพที่ร่วมมีบทบาทดูแลประชาชนได้ ซึ่งจากรายงานปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา และการใช้ยาในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน พบปัญหาการใช้ยาค่อนข้างมาก ส่งผลต่อการรักษา และสุขภาพของประชาชน เช่น การใช้ยาเองตั้งแต่ 1 ขนาน จนถึง 13 ขนาน การใช้ยาไม่ถูกต้องตามใบสั่งแพทย์ ได้รับยาจำนวนที่สูง หรือต่ำไป รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยา ปัญหายาเหลือใช้ ยาเสื่อมสภาพ และยาหมดอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้ยาในระดับชุมชน เช่น การใช้ยาตามโฆษณาวิทยุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ การใช้ยาชุด การใช้ยาที่ได้รับจากหน่วยบริการหลายแห่ง ทั้งหมดนี้อาจะทำให้เกิดปัญหารุนแรง อย่างการดื้อยา และเสียชีวิตได้
จากปัญหาการใช้ยาที่เกิดขึ้นนี้ ที่ผ่านมา จึงมีเภสัชกรซึ่งมุ่งทำงานเภสัชกรรม ซึ่งเป็นงานระดับปฐมภูมิ ได้ร่วมทำงานกับทีมสุขภาพในการพื้นที่ลงไปดูแลประชาชน พบว่า สามารถช่วยลดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสมลงได้ ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดี และตระหนักถึงการใช้ยาถูกต้องและเหมาะสม และมีการปฏิบัติตัวที่ดีตามมา นำมาสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านยาในชุมชน ลดความเจ็บป่วย มีการใช้ยาที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงมองว่างานสุขภาพระดับปฐมภูมิจากนี้ เภสัชกรจะร่วมมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องผลักดัน และสนับสนุนการทำงานของเภสัชกรเพิ่มเติม
ด้าน ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สปสช.กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้จัดประชุมถอดบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ เพื่อให้เภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งของทีมหมอครอบครัว รองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังมาถึง พร้อมเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ทำงานแต่ละพื้นที่ ในปีนี้เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องปีที่ 2 มีผลงานวิชาการด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิที่ส่งเข้าร่วม 228 เรื่อง จากจำนวนผู้ส่งผลงาน 154 คน จากโรงพยาบาล 112 แห่ง โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลดังนี้
ผลงานที่ได้รับรางวัลการนำเสนอแบบปากเปล่าดีเด่น ได้แก่ กรณีศึกษาของผู้ป่วยจิตเวชและปัญญาอ่อน โดย ภก.ธีรภัทร์ ฉันทพันธุ์ รพ.ตราด และ เรื่องเล่า “แม่คือผู้ให้ชีวิต” ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดย ภญ.วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ รพ.อุดรธานี
รางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ และนวัตกรรมดีเด่น ได้แก่ การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงที่บ้านผู้ป่วย โดย ภก.มนตรี วงศ์คำมา รพ.เถิน จ.ลำปาง โครงการพัฒนาความปลอดภัยจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ของผู้ป่วยมะเร็งในระยะประคับประคอง จากโรงพยาบาลสู่บ้าน ปีงบประมาณ 2558 โดย ภญ.วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ รพ.อุดรธานี การพัฒนาระบบเฝ้าระวังจัดการผลกระทบจากการใช้ยาที่กระจายไม่เหมาะสมในชุมชน อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ โดย ภญ.เบญจมาศ บุดดาวงศ์ รพ.โนนคูณ และนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องมือช่วยคำนวณขนาดยาในเด็ก (Kids Can) โดย ภก.วิษณุ ยิ่งยอด รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร ซึ่งผลงานเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2555-2559 บริการปฐมภูมิเป็นยุทธศาสตร์สำคัญลำดับที่ 3 กำหนดให้ สปสช.สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการ โดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมทุกมิติ สอดคล้องบริทบพื้นที่ เน้นบริการปฐมภูมิที่จำเป็นอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนที่ลงทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิแบบใกล้บ้านใกล้ใจเสมือนหมอครอบครัว สอดคล้องต่อนโยบายการปฏิรูประบบบริการของกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ในงานระดับปฐมภูมิมองว่าเภสัชกรเป็นวิชาชีพที่ร่วมมีบทบาทดูแลประชาชนได้ ซึ่งจากรายงานปัญหาคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา และการใช้ยาในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน พบปัญหาการใช้ยาค่อนข้างมาก ส่งผลต่อการรักษา และสุขภาพของประชาชน เช่น การใช้ยาเองตั้งแต่ 1 ขนาน จนถึง 13 ขนาน การใช้ยาไม่ถูกต้องตามใบสั่งแพทย์ ได้รับยาจำนวนที่สูง หรือต่ำไป รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยา ปัญหายาเหลือใช้ ยาเสื่อมสภาพ และยาหมดอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้ยาในระดับชุมชน เช่น การใช้ยาตามโฆษณาวิทยุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ การใช้ยาชุด การใช้ยาที่ได้รับจากหน่วยบริการหลายแห่ง ทั้งหมดนี้อาจะทำให้เกิดปัญหารุนแรง อย่างการดื้อยา และเสียชีวิตได้
จากปัญหาการใช้ยาที่เกิดขึ้นนี้ ที่ผ่านมา จึงมีเภสัชกรซึ่งมุ่งทำงานเภสัชกรรม ซึ่งเป็นงานระดับปฐมภูมิ ได้ร่วมทำงานกับทีมสุขภาพในการพื้นที่ลงไปดูแลประชาชน พบว่า สามารถช่วยลดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสมลงได้ ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดี และตระหนักถึงการใช้ยาถูกต้องและเหมาะสม และมีการปฏิบัติตัวที่ดีตามมา นำมาสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านยาในชุมชน ลดความเจ็บป่วย มีการใช้ยาที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงมองว่างานสุขภาพระดับปฐมภูมิจากนี้ เภสัชกรจะร่วมมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องผลักดัน และสนับสนุนการทำงานของเภสัชกรเพิ่มเติม
ด้าน ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ สปสช.กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้จัดประชุมถอดบทเรียนงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ เพื่อให้เภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งของทีมหมอครอบครัว รองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังมาถึง พร้อมเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ทำงานแต่ละพื้นที่ ในปีนี้เป็นการจัดประชุมต่อเนื่องปีที่ 2 มีผลงานวิชาการด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิที่ส่งเข้าร่วม 228 เรื่อง จากจำนวนผู้ส่งผลงาน 154 คน จากโรงพยาบาล 112 แห่ง โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลดังนี้
ผลงานที่ได้รับรางวัลการนำเสนอแบบปากเปล่าดีเด่น ได้แก่ กรณีศึกษาของผู้ป่วยจิตเวชและปัญญาอ่อน โดย ภก.ธีรภัทร์ ฉันทพันธุ์ รพ.ตราด และ เรื่องเล่า “แม่คือผู้ให้ชีวิต” ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โดย ภญ.วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ รพ.อุดรธานี
รางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์ และนวัตกรรมดีเด่น ได้แก่ การพัฒนาบทบาทเภสัชกรในจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงที่บ้านผู้ป่วย โดย ภก.มนตรี วงศ์คำมา รพ.เถิน จ.ลำปาง โครงการพัฒนาความปลอดภัยจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ของผู้ป่วยมะเร็งในระยะประคับประคอง จากโรงพยาบาลสู่บ้าน ปีงบประมาณ 2558 โดย ภญ.วราภรณ์ ริมชัยสิทธิ์ รพ.อุดรธานี การพัฒนาระบบเฝ้าระวังจัดการผลกระทบจากการใช้ยาที่กระจายไม่เหมาะสมในชุมชน อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ โดย ภญ.เบญจมาศ บุดดาวงศ์ รพ.โนนคูณ และนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องมือช่วยคำนวณขนาดยาในเด็ก (Kids Can) โดย ภก.วิษณุ ยิ่งยอด รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร ซึ่งผลงานเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่