สธ.กำชับตั้งด่านชุมชนสกัดอุบัติเหตุช่วงขากลับสงกรานต์ เผย 6 วันมีคนเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรรักษาใน รพ.กว่า 2.2 หมื่นคน ด้านปราบค้าขายเหล้าผิดกฎหมายเอาผิดแล้วกว่า 286 ราย พบมากสุดที่แพร่ พะเยา เชียงใหม่
วันนี้ (16 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากวันหยุดต่อเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับ ทำให้ปริมาณรถในท้องถนน ทั้งรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น สธ.ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศดำเนินการป้องกันเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจราจรอย่างต่อเนื่อง ใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดด่านชุมชนต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อไป 2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแจ้งเหตุเข้ามาทางสายด่วน 1669 ให้มากขึ้น มีทีมแพทย์ฉุกเฉินกว่า 14,000 ทีมรองรับ พร้อมให้ความช่วยเหลือ 3.ได้มีการสั่งการให้โรงพยาบาลเตรียมทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากร ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ธนาคารเลือด หอผู้ป่วย พร้อมรับมือตลอด 24 ชั่วโมง และ4.การตรวจเตือนประชาสัมพันธ์ การบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อย่างต่อเนื่อง และหากพบกระทำผิดให้ดำเนินคดีทุกราย
"ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข รายงานระหว่างวันที่ 11-16 เมษายน 2559 ณ เวลา 08.30 น. มีผู้บาดเจ็บจากจราจรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ 22,724 คน เสียชีวิต 356 ราย บาดเจ็บสาหัสต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล 3,443 คน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ได้แก่ ดื่มสุรา ร้อยละ 31 การไม่สวมหมวกกันน็อค ร้อยละ 12 และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 2" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ ในช่วงวันที่ 11-15 เมษายน 2559 ตรวจรวมทั้งหมด 824 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดี 286 ราย มากที่สุดที่ภาคเหนือ ที่ จ.แพร่ พะเยา เชียงใหม่ 134 ราย ภาคใต้ที่จ.สุราษฎร์ธานี และกระบี่ 76 ราย ภาคกลาง/ภาคตะวันออก ที่ จ.ตราด นครนายกและนนทบุรี 50 ราย และภาคอีสานที่ จ.อุบลราชธานี ศีรษะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร 26 ราย ความผิดอันดับ 3 อันดับแรก คือ ดื่มในสถานที่ห้ามดื่ม 101 ราย ขายในเวลาห้ามขาย 70 ราย และการโฆษณาฯ 65 ราย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ขอให้กำลังใจประชาชนไทยทุกคน เดินทางกลับบ้านหรือเดินทางกลับมาทำงานอย่างปลอดภัย ก่อนการเดินทางขอให้เตรียมพร้อมทั้งสภาพรถและคนขับ วางแผนการเดินทาง ศึกษาเส้นทาง ตรวจเช็คความพร้อมของรถ และที่สำคัญคือ คนขับ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ควรเตรียมตัวเอง ดังนี้ 1.ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ 2.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ งดรับประทานยาที่ทำให้ง่วง เช่น ยาลดน้ำมูก ยาภูมิแพ้ ยาแก้ไอ เป็นต้น 3.หากมีปัญหาสายตา เช่น สั้น ยาว เอียง ควรใส่แว่นตลอดเวลาที่ขับรถ และ4.ขับรถด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมใช้กุญแจเตือนใจ 5 ดอกในการเดินทางคือ “ดื่มไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ไม่ขับเร็ว คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่” และกุญแจสำรองอีก 1 ดอกไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน คือ สายด่วน 1669 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (16 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากวันหยุดต่อเนื่องจากเทศกาลสงกรานต์ วันนี้ประชาชนบางส่วนทยอยเดินทางกลับ ทำให้ปริมาณรถในท้องถนน ทั้งรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น สธ.ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศดำเนินการป้องกันเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจราจรอย่างต่อเนื่อง ใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดด่านชุมชนต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นต่อไป 2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแจ้งเหตุเข้ามาทางสายด่วน 1669 ให้มากขึ้น มีทีมแพทย์ฉุกเฉินกว่า 14,000 ทีมรองรับ พร้อมให้ความช่วยเหลือ 3.ได้มีการสั่งการให้โรงพยาบาลเตรียมทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากร ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ธนาคารเลือด หอผู้ป่วย พร้อมรับมือตลอด 24 ชั่วโมง และ4.การตรวจเตือนประชาสัมพันธ์ การบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อย่างต่อเนื่อง และหากพบกระทำผิดให้ดำเนินคดีทุกราย
"ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข รายงานระหว่างวันที่ 11-16 เมษายน 2559 ณ เวลา 08.30 น. มีผู้บาดเจ็บจากจราจรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ 22,724 คน เสียชีวิต 356 ราย บาดเจ็บสาหัสต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล 3,443 คน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ได้แก่ ดื่มสุรา ร้อยละ 31 การไม่สวมหมวกกันน็อค ร้อยละ 12 และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 2" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับผลการตรวจบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ ในช่วงวันที่ 11-15 เมษายน 2559 ตรวจรวมทั้งหมด 824 ราย พบผู้กระทำผิดและดำเนินคดี 286 ราย มากที่สุดที่ภาคเหนือ ที่ จ.แพร่ พะเยา เชียงใหม่ 134 ราย ภาคใต้ที่จ.สุราษฎร์ธานี และกระบี่ 76 ราย ภาคกลาง/ภาคตะวันออก ที่ จ.ตราด นครนายกและนนทบุรี 50 ราย และภาคอีสานที่ จ.อุบลราชธานี ศีรษะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร 26 ราย ความผิดอันดับ 3 อันดับแรก คือ ดื่มในสถานที่ห้ามดื่ม 101 ราย ขายในเวลาห้ามขาย 70 ราย และการโฆษณาฯ 65 ราย
นพ.โสภณ กล่าวว่า ขอให้กำลังใจประชาชนไทยทุกคน เดินทางกลับบ้านหรือเดินทางกลับมาทำงานอย่างปลอดภัย ก่อนการเดินทางขอให้เตรียมพร้อมทั้งสภาพรถและคนขับ วางแผนการเดินทาง ศึกษาเส้นทาง ตรวจเช็คความพร้อมของรถ และที่สำคัญคือ คนขับ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการป้องกันและลดอุบัติเหตุ ควรเตรียมตัวเอง ดังนี้ 1.ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ 2.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ งดรับประทานยาที่ทำให้ง่วง เช่น ยาลดน้ำมูก ยาภูมิแพ้ ยาแก้ไอ เป็นต้น 3.หากมีปัญหาสายตา เช่น สั้น ยาว เอียง ควรใส่แว่นตลอดเวลาที่ขับรถ และ4.ขับรถด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมใช้กุญแจเตือนใจ 5 ดอกในการเดินทางคือ “ดื่มไม่ขับ ง่วงไม่ขับ ไม่ขับเร็ว คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่” และกุญแจสำรองอีก 1 ดอกไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน คือ สายด่วน 1669 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่