สบส.เผย พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลบังคับใช้ 27 ก.ย. เร่งเจ้าของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพรีบมาขึ้นทะเบียนต่อ สบส. หากไม่มาขึ้นทะเบียนปรับ 5 หมื่น จำคุก 6 เดือน
วันนี้ (5 เม.ย.) นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 31 มี.ค.มีผลบังคับใช้หลังจากนี้ 180 วัน หรือวันที่ 27 ก.ย.เป็นต้นไป จากนี้บริการนวดสปาเพื่อสุขภาพจะต้องมาขึ้นทะเบียนต่อ สบส. ดังนี้ 1.สปาที่ให้บริการซึ่งให้การดูแลเสริมสร้างสุขภาพโดยใช้น้ำบำบัด นวดร่างกายเป็นหลัก และมีบริการเสริมอื่นๆ อย่างน้อย 3 อย่างที่กำหนดในธุรกิจสปา เช่น บริการด้วยความร้อน เช่น ประคบหิน อบเซาน่า การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น แอโรบิก ฟิตเนส ฟิตบอล ไทเก โยคะ ฤาษีดัดตน และการทำสมาธิ ชี่กง เรกิ
2.กิจการนวดเพื่อสุขภาพ หรือเสริมความงาม เช่น นวดหน้า พอกหน้า เป็นต้น ตรงนี้จะรวมถึงร้านตัดผมที่มีบริการนวดหน้าด้วย ส่วนฟิตเนสที่เป็นสถานออกกำลังกายโดยตรงเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เข้าข่ายต้องควบคุมตามกฎหมายนี้ แต่อนาคตจะมีการขยายให้ครอบคลุม รวมถึงเนิร์สซิ่ง โฮม ดูแลผู้สูงอายุ ด้วย ทั้งนี้ เมื่อขึ้นทะเบียนกิจการแล้วจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เพราะถือเป็นบริการสุขภาพที่สามารถทำกำไรให้แก่ประเทศได้ซึ่งไม่ต่ำกว่าปีละหมื่นล้านบาท
นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีธุรกิจนวดสปาเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงมหาดไทย 1,600 แห่ง และยังมีอีกกว่าหมื่นแห่งที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเลย ดังนั้น หลังจาก 180 วันไปแล้วจะต้องมาขึ้นทะเบียนต่อ สบส. โดยใช้เวลาพิจารณา 60 วันตามหลักเกณฑ์ 5 ข้อ คือ 1.อาคาร สิ่งแวดล้อม 2.ผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินการต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 3.โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่เป็นมาตรฐาน 4.เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และ 5.ความปลอดภัย และการป้องกันอันตราย
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ สบส.จะเตรียมระบบรองรับการขึ้นทะเบียน เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วต้องติดใบอนุญาต และตราสัญลักษณ์ “มาตรฐาน สบส.” ที่สถานประกอบการ ผู้ดำเนินการต้องอยู่ประจำตลอดเวลา มีคู่มือปฏิบัติงาน มีระบบสอบถาม และบันทึกข้อมูลสุขภาพพื้นฐาน คัดกรองผู้รับบริการ ไม่ให้บริการนอกสถานที่ มีมาตรการรักษาความปลอดภัย ป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ห้ามโฆษณาโอ้อวดเกินจริงว่าสามารถรักษาหรือป้องกันโรคได้ ไม่ลามกอนาจาร หากฝ่าฝืน แอบอ้างใช้ชื่อว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท แต่ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนจะถือเป็นสถานบริการเถื่อนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตแม้จะเพิ่งกระทำผิดเป็นครั้งแรกก็ตาม
นายภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สบส. กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวก ผู้ประกอบการสามารถขึ้นทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของ สบส. หรือยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สบส.น้อย ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ หรือ กทม.สามารถยื่นได้ที่กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สบส. ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี สำหรับธุรกิจอื่นๆ เช่น ดีทอกซ์ ล้างพิษ สะกดจิตนั้น ตามมาตรา 3 (3) ของกฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาประเภทของธุรกิจที่เข้าข่ายต้องได้รับการควบคุมโดยกฎหมายนี้เพิ่มเติมได้ ดังนั้น ธุรกิจกล่านี้มีแนวโน้มว่ากระทรวงจะพิจารณาควบคุมด้วยเช่นกัน
ด้าน นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย กล่าวว่า เพื่อให้ นวด สปาของไทยก้าวเป็นอันดับ 1 อย่างแท้จริงต้องมีกฎหมาย มาตรฐานในการส่งเสริมผู้ประกอบการน้ำดี เพราะที่ผ่านมา มีการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายไปดำเนินกิจการที่มีลักษณะของการค้าประเวณี ตรงนี้ต้องมีการบ้านตัวเอง ซึ่งกฎหมายนี้ถือเป็นกฎหมายตัวแรกถือว่าสมบูรณ์ ที่ครอบคลุมในเรื่องเหล่านี้ และเชื่อว่าเมื่อกฎหมายบังคับใช้จริงจะนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศได้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท้าย พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ระบุ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ฉบับละ 10,000 บาท ใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ ฉบับละ 1,500 บาท การต่อใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภท และขนาดนั้นๆ แต่ละฉบับ ส่วนใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาตครั้งละ 500 บาท และค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการฯ รายปี ปีละ 1,000 บาท
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
วันนี้ (5 เม.ย.) นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 31 มี.ค.มีผลบังคับใช้หลังจากนี้ 180 วัน หรือวันที่ 27 ก.ย.เป็นต้นไป จากนี้บริการนวดสปาเพื่อสุขภาพจะต้องมาขึ้นทะเบียนต่อ สบส. ดังนี้ 1.สปาที่ให้บริการซึ่งให้การดูแลเสริมสร้างสุขภาพโดยใช้น้ำบำบัด นวดร่างกายเป็นหลัก และมีบริการเสริมอื่นๆ อย่างน้อย 3 อย่างที่กำหนดในธุรกิจสปา เช่น บริการด้วยความร้อน เช่น ประคบหิน อบเซาน่า การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น แอโรบิก ฟิตเนส ฟิตบอล ไทเก โยคะ ฤาษีดัดตน และการทำสมาธิ ชี่กง เรกิ
2.กิจการนวดเพื่อสุขภาพ หรือเสริมความงาม เช่น นวดหน้า พอกหน้า เป็นต้น ตรงนี้จะรวมถึงร้านตัดผมที่มีบริการนวดหน้าด้วย ส่วนฟิตเนสที่เป็นสถานออกกำลังกายโดยตรงเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เข้าข่ายต้องควบคุมตามกฎหมายนี้ แต่อนาคตจะมีการขยายให้ครอบคลุม รวมถึงเนิร์สซิ่ง โฮม ดูแลผู้สูงอายุ ด้วย ทั้งนี้ เมื่อขึ้นทะเบียนกิจการแล้วจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต เพราะถือเป็นบริการสุขภาพที่สามารถทำกำไรให้แก่ประเทศได้ซึ่งไม่ต่ำกว่าปีละหมื่นล้านบาท
นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีธุรกิจนวดสปาเพื่อสุขภาพที่ขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงมหาดไทย 1,600 แห่ง และยังมีอีกกว่าหมื่นแห่งที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเลย ดังนั้น หลังจาก 180 วันไปแล้วจะต้องมาขึ้นทะเบียนต่อ สบส. โดยใช้เวลาพิจารณา 60 วันตามหลักเกณฑ์ 5 ข้อ คือ 1.อาคาร สิ่งแวดล้อม 2.ผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินการต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 3.โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่เป็นมาตรฐาน 4.เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และ 5.ความปลอดภัย และการป้องกันอันตราย
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ สบส.จะเตรียมระบบรองรับการขึ้นทะเบียน เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วต้องติดใบอนุญาต และตราสัญลักษณ์ “มาตรฐาน สบส.” ที่สถานประกอบการ ผู้ดำเนินการต้องอยู่ประจำตลอดเวลา มีคู่มือปฏิบัติงาน มีระบบสอบถาม และบันทึกข้อมูลสุขภาพพื้นฐาน คัดกรองผู้รับบริการ ไม่ให้บริการนอกสถานที่ มีมาตรการรักษาความปลอดภัย ป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ห้ามโฆษณาโอ้อวดเกินจริงว่าสามารถรักษาหรือป้องกันโรคได้ ไม่ลามกอนาจาร หากฝ่าฝืน แอบอ้างใช้ชื่อว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท แต่ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนจะถือเป็นสถานบริการเถื่อนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตแม้จะเพิ่งกระทำผิดเป็นครั้งแรกก็ตาม
นายภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผอ.กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สบส. กล่าวว่า เพื่ออำนวยความสะดวก ผู้ประกอบการสามารถขึ้นทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของ สบส. หรือยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สบส.น้อย ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ หรือ กทม.สามารถยื่นได้ที่กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สบส. ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปี สำหรับธุรกิจอื่นๆ เช่น ดีทอกซ์ ล้างพิษ สะกดจิตนั้น ตามมาตรา 3 (3) ของกฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณาประเภทของธุรกิจที่เข้าข่ายต้องได้รับการควบคุมโดยกฎหมายนี้เพิ่มเติมได้ ดังนั้น ธุรกิจกล่านี้มีแนวโน้มว่ากระทรวงจะพิจารณาควบคุมด้วยเช่นกัน
ด้าน นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมสปาไทย กล่าวว่า เพื่อให้ นวด สปาของไทยก้าวเป็นอันดับ 1 อย่างแท้จริงต้องมีกฎหมาย มาตรฐานในการส่งเสริมผู้ประกอบการน้ำดี เพราะที่ผ่านมา มีการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายไปดำเนินกิจการที่มีลักษณะของการค้าประเวณี ตรงนี้ต้องมีการบ้านตัวเอง ซึ่งกฎหมายนี้ถือเป็นกฎหมายตัวแรกถือว่าสมบูรณ์ ที่ครอบคลุมในเรื่องเหล่านี้ และเชื่อว่าเมื่อกฎหมายบังคับใช้จริงจะนำเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศได้มากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ท้าย พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ระบุ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ฉบับละ 10,000 บาท ใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ ฉบับละ 1,500 บาท การต่อใบอนุญาตครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประเภท และขนาดนั้นๆ แต่ละฉบับ ส่วนใบแทนใบอนุญาตฉบับละ 500 บาท การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบอนุญาตครั้งละ 500 บาท และค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการฯ รายปี ปีละ 1,000 บาท
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่