โดย...โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อาศัยกลไกของโครงสร้างร่างกาย 2 ส่วน คือ หัวใจ และหลอดเลือด โดย หัวใจ จะคล้ายกับ ก๊อก หรือ ปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เลือดไหลแรงดี ความดันก็ดี หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็ลดลง ส่วนหลอดเลือดเปรียบเสมือนสายยาง หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดี ไม่ให้สูงเกินไป แต่หากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือ แข็งตัว ก็จะทำให้ความดันสูง และถ้าสูงมากสายยางที่ขาดความยืดหยุ่นก็จะแตก เช่น หลอดเลือดสมองแตก เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องจากไม่มีอาการเตือน เมื่อเป็นแล้วก็จำเป็นต้องรักษาตลอดไป และต้องรับประทานยาเพื่อให้ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม และยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต อัมพฤกษ์ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม และการรักษาด้วยยา
ในทางการแพทย์แผนไทย โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากการพัดพาที่ไม่สมดุลของวาตะ หรือลมในร่างกาย บางครั้งพัดแรง บางครั้งพัดช้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเครียดที่ทำให้ปิตตะกำเริบเผาให้เกิดความเสื่อมของช่องทางเดินลม ความเสื่อมคือความแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติตรงกับวาตะ ช่วยเสริมฤทธิ์ของวาตะ วาตะเกิดการกำเริบขึ้นทำให้มีการเคลื่อนของลมที่แรงขึ้น เกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะพบอาการที่เกิดจากวาตะกำเริบ คือ อาการปวดบริเวณศีรษะและท้ายทอย การปรับสมดุลของวาตะนี้ เมื่อวิเคราะห์ย้อนกลับกับตำรายาไทยก็จะพบว่า ยาที่ลดการพัดพาของวาตะจะเป็นยาที่มีรสสุขุมไปทางร้อน ซึ่งตรงข้ามกับคุณสมบัติของวาตะ และเสริมด้วยยาที่มีกลิ่นหอมเย็นตรงข้ามกับปิตตะ ก็จะช่วยลดหรือคลายความเครียด
สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
กระเจี๊ยบแดง Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn.
วิธีใช้ ใช้ใบสด 30 - 60 กรัม ต้มหรือแกงรับประทาน ใช้กลีบเลี้ยงแห้ง 5 - 10 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นประจำทุกวัน
การทดลองทางคลินิก จากการทดลองในสัตว์ ใช้สารสกัดด้วยน้ำของกลีบเลี้ยงฉีดเข้าเส้น พบว่า มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และขับกรดยูริก ส่วนการทดลองในคน พบว่า มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตและขับปัสสาวะ ซึ่งพบการใช้กระเจี๊ยบเพื่อเป็นยาในหลายประเทศ เช่น กัวเตมาลา อียิปต์ เป็นต้น
คื่นไฉ่ Celery ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
วิธีใช้ แนะนำให้รับประทานเป็นประจำทุกวัน วันละ 4 ต้น
ชาวเอเชีย (จีนและเวียดนาม) นิยมใช้คื่นไฉ่ เป็นยาลดความดันโลหิตมาประมาณ 2000 ปี ชาวอินเดียใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศไทย ใช้คึ่นไฉ่ทั้งต้นมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง และขับปัสสาวะ
จากการศึกษาของนักเภสัชวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ชิคาโก ดร.Willium Elliot ได้แยกสาร 3-N-Butyl Phathalide ฉีดเข้าในหนูทดลอง พบว่า ลดความดันโลหิตสงได้ ร้อยละ 15
บัวบก Asiatic Pennywort ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (Linn.) Urban
วิธีใช้ ใช้ผงของใบแห้งขนาด 0.5 - 2 กรัม วันละ 3 เวลา รับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน
การวิจัยทางเภสัชวิทยา พบว่า บัวบกมีสารสำคัญ คือ glycoside (asiaticoside, asiatic acid, Madecassic acid, Sitosterol, Hydrocotylene) ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ อีกทั้งบัวบกยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยขยายหลอดเลือด แต่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
กระเทียม Garlic ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.
วิธีใช้ ให้นำกระเทียมประมาณ 250 หัว แช่กับเหล้าขาว ประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลานาน 6 สัปดาห์ แล้วรินเอาน้ำใสใส่ขวด ใช้รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง
ขิง Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe
วิธีใช้ แนะนำให้รับประทานสดเป็นประจำพร้อมอาหารวันละ 3 เวลา หรือใช้ขิงสดฝานแล้วต้มน้ำทำเป็นน้ำขิงรับประทาน
จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยลดความดันโลหิต และลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
พูลคาว/คาวตอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.
วิธีใช้ นำรากมาตำกับน้ำพริก สามารถเป็นยารักษาโรคเบาหวาน และความดันโลหิต
ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และในแถบอินโดจีน มีการนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาริดสีดวง แก้อาการบวมน้ำ เป็นต้น
สาร flavonoid ที่พบในพลูคาวช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไต จึงมีผลเพิ่มการขับปัสสาวะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อาศัยกลไกของโครงสร้างร่างกาย 2 ส่วน คือ หัวใจ และหลอดเลือด โดย หัวใจ จะคล้ายกับ ก๊อก หรือ ปั๊มน้ำ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เลือดไหลแรงดี ความดันก็ดี หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็ลดลง ส่วนหลอดเลือดเปรียบเสมือนสายยาง หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดี ไม่ให้สูงเกินไป แต่หากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือ แข็งตัว ก็จะทำให้ความดันสูง และถ้าสูงมากสายยางที่ขาดความยืดหยุ่นก็จะแตก เช่น หลอดเลือดสมองแตก เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องจากไม่มีอาการเตือน เมื่อเป็นแล้วก็จำเป็นต้องรักษาตลอดไป และต้องรับประทานยาเพื่อให้ความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม และยังเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต อัมพฤกษ์ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็นการรักษาที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม และการรักษาด้วยยา
ในทางการแพทย์แผนไทย โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากการพัดพาที่ไม่สมดุลของวาตะ หรือลมในร่างกาย บางครั้งพัดแรง บางครั้งพัดช้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเครียดที่ทำให้ปิตตะกำเริบเผาให้เกิดความเสื่อมของช่องทางเดินลม ความเสื่อมคือความแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติตรงกับวาตะ ช่วยเสริมฤทธิ์ของวาตะ วาตะเกิดการกำเริบขึ้นทำให้มีการเคลื่อนของลมที่แรงขึ้น เกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะพบอาการที่เกิดจากวาตะกำเริบ คือ อาการปวดบริเวณศีรษะและท้ายทอย การปรับสมดุลของวาตะนี้ เมื่อวิเคราะห์ย้อนกลับกับตำรายาไทยก็จะพบว่า ยาที่ลดการพัดพาของวาตะจะเป็นยาที่มีรสสุขุมไปทางร้อน ซึ่งตรงข้ามกับคุณสมบัติของวาตะ และเสริมด้วยยาที่มีกลิ่นหอมเย็นตรงข้ามกับปิตตะ ก็จะช่วยลดหรือคลายความเครียด
สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
กระเจี๊ยบแดง Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn.
วิธีใช้ ใช้ใบสด 30 - 60 กรัม ต้มหรือแกงรับประทาน ใช้กลีบเลี้ยงแห้ง 5 - 10 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นประจำทุกวัน
การทดลองทางคลินิก จากการทดลองในสัตว์ ใช้สารสกัดด้วยน้ำของกลีบเลี้ยงฉีดเข้าเส้น พบว่า มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และขับกรดยูริก ส่วนการทดลองในคน พบว่า มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตและขับปัสสาวะ ซึ่งพบการใช้กระเจี๊ยบเพื่อเป็นยาในหลายประเทศ เช่น กัวเตมาลา อียิปต์ เป็นต้น
คื่นไฉ่ Celery ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn.
วิธีใช้ แนะนำให้รับประทานเป็นประจำทุกวัน วันละ 4 ต้น
ชาวเอเชีย (จีนและเวียดนาม) นิยมใช้คื่นไฉ่ เป็นยาลดความดันโลหิตมาประมาณ 2000 ปี ชาวอินเดียใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศไทย ใช้คึ่นไฉ่ทั้งต้นมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง และขับปัสสาวะ
จากการศึกษาของนักเภสัชวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ชิคาโก ดร.Willium Elliot ได้แยกสาร 3-N-Butyl Phathalide ฉีดเข้าในหนูทดลอง พบว่า ลดความดันโลหิตสงได้ ร้อยละ 15
บัวบก Asiatic Pennywort ชื่อวิทยาศาสตร์ Centella asiatica (Linn.) Urban
วิธีใช้ ใช้ผงของใบแห้งขนาด 0.5 - 2 กรัม วันละ 3 เวลา รับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน
การวิจัยทางเภสัชวิทยา พบว่า บัวบกมีสารสำคัญ คือ glycoside (asiaticoside, asiatic acid, Madecassic acid, Sitosterol, Hydrocotylene) ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ อีกทั้งบัวบกยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยขยายหลอดเลือด แต่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน
กระเทียม Garlic ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.
วิธีใช้ ให้นำกระเทียมประมาณ 250 หัว แช่กับเหล้าขาว ประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลานาน 6 สัปดาห์ แล้วรินเอาน้ำใสใส่ขวด ใช้รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง
ขิง Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe
วิธีใช้ แนะนำให้รับประทานสดเป็นประจำพร้อมอาหารวันละ 3 เวลา หรือใช้ขิงสดฝานแล้วต้มน้ำทำเป็นน้ำขิงรับประทาน
จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยลดความดันโลหิต และลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
พูลคาว/คาวตอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.
วิธีใช้ นำรากมาตำกับน้ำพริก สามารถเป็นยารักษาโรคเบาหวาน และความดันโลหิต
ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และในแถบอินโดจีน มีการนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาริดสีดวง แก้อาการบวมน้ำ เป็นต้น
สาร flavonoid ที่พบในพลูคาวช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไต จึงมีผลเพิ่มการขับปัสสาวะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่