บอร์ด สปสช. เห็นชอบจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนา “บัตรทอง” ปี 2560 - 2564 เน้นประชาชนมีสิทธิเสมอกัน ดูแลเพิ่มในกลุ่มที่ยังมีปัญหา หนุนพัฒนาระบบบริการมีคุณภาพมาตรฐาน สร้างการมีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืนระบบการเงินการคลัง ปรับระบบสำนักงาน เน้นธรรมาภิบาล เตรียมรับฟังความคิดเห็น ก่อนชงบอร์ด สปสช. พิจารณา มิ.ย.
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี ประธานกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และการประเมินผล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2559 มีมติเห็นชอบกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560 - 2564 โดยมีกรอบคิดและหลักการที่สำคัญยึดโยง ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การปฏิรูประบบสุขภาพ สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ การบูรณาการระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุนเป็นเอกภาพ รวมถึงการปฏิรูประบบประกันสุขภาพและระบบการเงินการคลัง
นพ.จเด็จ กล่าวว่า ร่างกรอบคิดมีทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ประชาชน มีสิทธิเสมอกันในการได้รับความคุ้มครอง เน้นดูแลเพิ่มในกลุ่มที่ยังมีปัญหาการใช้สิทธิ์ เช่น คนที่อาศัยในเขตเมือง ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม 2. ระบบบริการ จะเน้นเรื่องคุณภาพบริการที่ประชาชนจะได้รับ โดยเฉพาะการจัดหาบริการที่จำเป็น สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการและการกำกับคุณภาพมาตรฐานบริการที่ประชาชนได้รับ 3. การมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ เพิ่มความเข้มแข็งของภาคีเดิม สร้างความร่วมมือเครือข่ายภาคียุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพของทุกคนในสังคม 4. การเงินการคลัง จะเน้นการสร้างความยั่งยืนของระบบการเงินการคลัง พัฒนาปรับปรุงวิธีการคำนวณงบประมาณ วิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการ สร้างการยอมรับร่วมกัน และ 5. สำนักงาน จะเน้นการปรับระบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นธรรมาภิบาล ตรจสอบได้ เพิ่มศักยภาพด้านการติดตามงาน การประเมินผล และหลักการทำงานบนพื้นฐานของความรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์
“การดำเนินงานต่อจากนี้ จะมีการรับฟังความเห็นบุคคลภายนอก เช่น สธ. หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และจะมีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อแผนยุทธศาสตร์ ก่อนปรับปรุงและเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ฯ และประกาศใช้ต่อไปประมาณเดือนมิถุนายน 59 นี้” นพ.จเด็จ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี ประธานกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์และการประเมินผล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2559 มีมติเห็นชอบกรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560 - 2564 โดยมีกรอบคิดและหลักการที่สำคัญยึดโยง ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การปฏิรูประบบสุขภาพ สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ โดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ การบูรณาการระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุนเป็นเอกภาพ รวมถึงการปฏิรูประบบประกันสุขภาพและระบบการเงินการคลัง
นพ.จเด็จ กล่าวว่า ร่างกรอบคิดมีทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. ประชาชน มีสิทธิเสมอกันในการได้รับความคุ้มครอง เน้นดูแลเพิ่มในกลุ่มที่ยังมีปัญหาการใช้สิทธิ์ เช่น คนที่อาศัยในเขตเมือง ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม 2. ระบบบริการ จะเน้นเรื่องคุณภาพบริการที่ประชาชนจะได้รับ โดยเฉพาะการจัดหาบริการที่จำเป็น สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการและการกำกับคุณภาพมาตรฐานบริการที่ประชาชนได้รับ 3. การมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ เพิ่มความเข้มแข็งของภาคีเดิม สร้างความร่วมมือเครือข่ายภาคียุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพของทุกคนในสังคม 4. การเงินการคลัง จะเน้นการสร้างความยั่งยืนของระบบการเงินการคลัง พัฒนาปรับปรุงวิธีการคำนวณงบประมาณ วิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการ สร้างการยอมรับร่วมกัน และ 5. สำนักงาน จะเน้นการปรับระบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นธรรมาภิบาล ตรจสอบได้ เพิ่มศักยภาพด้านการติดตามงาน การประเมินผล และหลักการทำงานบนพื้นฐานของความรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์
“การดำเนินงานต่อจากนี้ จะมีการรับฟังความเห็นบุคคลภายนอก เช่น สธ. หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และจะมีการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อแผนยุทธศาสตร์ ก่อนปรับปรุงและเสนอคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ฯ และประกาศใช้ต่อไปประมาณเดือนมิถุนายน 59 นี้” นพ.จเด็จ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่