“วีระ” ชี้แนวโน้มคนไทยอ่านผ่านออนไลน์ ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันคิดว่านำเทคโนโลยีกระตุ้นการอ่าน ด้าน วธ. งัดแผนแม่บทส่งเสริมการอ่านคนไทย
วันนี้ (17 มี.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558 และการประชุมวิชาการ เรื่องห้องสมุดเพื่อการพัฒนาสังคมดิจิทัลที่ยั่งยืน ว่า ขณะนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการอ่าน ส่วนประเทศไทยแม้ว่าจะได้มีการส่งเสริมให้เยาวชนรักการอ่าน และประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ แต่ยังขาดการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถประสบผลสำเร็จ ตนคิดว่าไทยควรศึกษาต้นแบบจากสิงคโปร์ที่ประกาศตั้งเป้าพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพด้านการอ่านอย่างครบวงจร เริ่มจากณรงค์รักการอ่าน จัดระบบห้องสมุด สร้างเครือข่ายระดับชุมชน สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้สู่เด็กและเยาวชนให้มีนิสัยรักการอ่าน
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า สิ่งสำคัญของการอ่านที่ยั่งยืน จะต้องหาแหล่งการอ่านที่ดี ที่สามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา จึงจำเป็นต้องผลักดันผู้ปกครองปลูกฝังการอ่านในครอบครัวไปยังลูกหลาน อีกทั้งจะต้องผลิตหนังสือรูปเล่ม เนื้อหา ให้น่าสนใจ ส่งเสริมการผลิตหนังสือที่มีคุณค่า มีประโยชน์ น่าอ่าน พร้อมกันนี้ ยังต้องมีการปฏิรูปการอ่านทั้งระบบ เพราะปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ไลน์ และอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเป็นเครื่องมือที่ให้เกิดการเรียนรู้และให้มีพฤติกรรมหันมาสนใจอ่านหนังสือมากขึ้นได้ และเรื่องสำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคิด วิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เทคโนโลยีนำพาวัฒนธรรมการอ่านเข้าถึงคนไทยได้
“วธ. ได้จัดทำแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และการอ่านฉบับแรกของไทย พ.ศ. 2559 - 2562 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยระดมความคิดจาก นักวิชาการ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษา เพื่อเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนตั้งแต่สถาบันครอบครัวถึงภาครัฐที่จะร่วมมือกันขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์การการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทยให้มีความยั่งยืน คาดว่า จะนำเสนอ ครม. ภายใน 3 เดือน” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
วันนี้ (17 มี.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2558 และการประชุมวิชาการ เรื่องห้องสมุดเพื่อการพัฒนาสังคมดิจิทัลที่ยั่งยืน ว่า ขณะนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการอ่าน ส่วนประเทศไทยแม้ว่าจะได้มีการส่งเสริมให้เยาวชนรักการอ่าน และประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ แต่ยังขาดการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถประสบผลสำเร็จ ตนคิดว่าไทยควรศึกษาต้นแบบจากสิงคโปร์ที่ประกาศตั้งเป้าพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพด้านการอ่านอย่างครบวงจร เริ่มจากณรงค์รักการอ่าน จัดระบบห้องสมุด สร้างเครือข่ายระดับชุมชน สถาบันการศึกษา พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้สู่เด็กและเยาวชนให้มีนิสัยรักการอ่าน
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า สิ่งสำคัญของการอ่านที่ยั่งยืน จะต้องหาแหล่งการอ่านที่ดี ที่สามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา จึงจำเป็นต้องผลักดันผู้ปกครองปลูกฝังการอ่านในครอบครัวไปยังลูกหลาน อีกทั้งจะต้องผลิตหนังสือรูปเล่ม เนื้อหา ให้น่าสนใจ ส่งเสริมการผลิตหนังสือที่มีคุณค่า มีประโยชน์ น่าอ่าน พร้อมกันนี้ ยังต้องมีการปฏิรูปการอ่านทั้งระบบ เพราะปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ไลน์ และอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเป็นเครื่องมือที่ให้เกิดการเรียนรู้และให้มีพฤติกรรมหันมาสนใจอ่านหนังสือมากขึ้นได้ และเรื่องสำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคิด วิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เทคโนโลยีนำพาวัฒนธรรมการอ่านเข้าถึงคนไทยได้
“วธ. ได้จัดทำแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และการอ่านฉบับแรกของไทย พ.ศ. 2559 - 2562 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยระดมความคิดจาก นักวิชาการ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษา เพื่อเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนตั้งแต่สถาบันครอบครัวถึงภาครัฐที่จะร่วมมือกันขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์การการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทยให้มีความยั่งยืน คาดว่า จะนำเสนอ ครม. ภายใน 3 เดือน” รมว.วัฒนธรรม กล่าว