สธ. เร่งจัดอุปกรณ์แขน - ขาเทียม ฟรี ให้คนพิการทั่วประเทศในปี 2559 จัดรถทำแขน - ขาเทียม ออกให้บริการถึงชุมชน
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้น ทั้งจากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ และสูงวัย ในปี 2555 มีคนพิการได้รับการขึ้นทะเบียน 1.5 ล้านคน โดยร้อยละ 48 เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ไม่ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ทั้งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพและคงสภาพความสามารถทางร่างกายและจิตใจของคนพิการ และการป้องกันการเกิดความพิการซ้ำซ้อน ถาวร
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำการให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวให้ได้รับบริการครบถ้วนร้อยละ 100 ภายในปี 2559 ซึ่งในปี 2558 ดำเนินการได้ร้อยละ 95.77 ดังนั้น ในปี 2559 รมว.สาธารณสุข จึงได้มอบให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ จัดทำโครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการแขนขาขาดทั้งรายเก่าและรายใหม่สามารถเข้าถึงบริการ ได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับกายอุปกรณ์เสริมและเทียม รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็นที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการแขนขาขาดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ ในปี 2559 จัดขึ้นในจังหวัดตราด พิษณุโลก เลย นครราชสีมา อุตรดิตถ์ โดยตั้งเป้าหมายจัดหาและซ่อมอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการฟรี 1,500 ราย พร้อมพัฒนาทักษะบุคลากรในการจดทะเบียนและดูแลคนพิการ 1,000 คน โดยทำงานร่วมกับหน่วยกายอุปกรณ์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 200 แห่ง
“กรมการแพทย์ ได้มอบรถทำแขน - ขาเทียม มูลค่า 12.5 ล้านบาท จำนวน 1 คัน ให้แก่โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งภายในรถประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับทำแขน - ขาเทียม เช่น หัวขุดเบ้าขาเทียม ตู้อบความร้อน เครื่องขัดกระดาษทราย ระบบดูดฝุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยังมีรถทำแขน - ขาเทียม จำนวน 2 คัน ไว้ให้บริการประชาชนทั่วประเทศ โดยให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว รวม 55 ครั้ง” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้น ทั้งจากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุ และสูงวัย ในปี 2555 มีคนพิการได้รับการขึ้นทะเบียน 1.5 ล้านคน โดยร้อยละ 48 เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ไม่ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ทั้งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพและคงสภาพความสามารถทางร่างกายและจิตใจของคนพิการ และการป้องกันการเกิดความพิการซ้ำซ้อน ถาวร
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำการให้บริการคนพิการทางการเคลื่อนไหวให้ได้รับบริการครบถ้วนร้อยละ 100 ภายในปี 2559 ซึ่งในปี 2558 ดำเนินการได้ร้อยละ 95.77 ดังนั้น ในปี 2559 รมว.สาธารณสุข จึงได้มอบให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ จัดทำโครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนพิการแขนขาขาดทั้งรายเก่าและรายใหม่สามารถเข้าถึงบริการ ได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับกายอุปกรณ์เสริมและเทียม รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็นที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการแขนขาขาดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงการมอบแขนขาเทียมให้คนพิการทั่วประเทศ ในปี 2559 จัดขึ้นในจังหวัดตราด พิษณุโลก เลย นครราชสีมา อุตรดิตถ์ โดยตั้งเป้าหมายจัดหาและซ่อมอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการฟรี 1,500 ราย พร้อมพัฒนาทักษะบุคลากรในการจดทะเบียนและดูแลคนพิการ 1,000 คน โดยทำงานร่วมกับหน่วยกายอุปกรณ์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ประมาณ 200 แห่ง
“กรมการแพทย์ ได้มอบรถทำแขน - ขาเทียม มูลค่า 12.5 ล้านบาท จำนวน 1 คัน ให้แก่โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งภายในรถประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับทำแขน - ขาเทียม เช่น หัวขุดเบ้าขาเทียม ตู้อบความร้อน เครื่องขัดกระดาษทราย ระบบดูดฝุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยังมีรถทำแขน - ขาเทียม จำนวน 2 คัน ไว้ให้บริการประชาชนทั่วประเทศ โดยให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว รวม 55 ครั้ง” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่