เสนอ 3 รูปแบบอภิบาลระบบสุขภาพ “ประสานงาน - ร่วมมือ - สั่งการ” ปลัด สธ. เผย ยังไม่ฟันธงใช้รูปแบบใด มอบคณะทำงานศึกษาข้อดีข้อเสีย ก่อนถกร่วมรองนายกฯ 19 ก.พ. นี้
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการประชุมการปฏิรูปด้านสาธารณสุขเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข ได้นำเสนอแนวทางการทำงานโดยประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กลไกในการอภิบาลระบบสุขภาพในรูปแบบคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีทางเลือกการทำงาน 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบคณะกรรมการประสานงานด้านนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Collaboration Board) โดยจัดตั้งให้มีกลไกที่จะสามารถทำการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทด้านสุขภาพ ให้มีทิศทางการทำงานที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง โดยไม่ได้ไปก้าวล่วงต่ออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละองค์กรมีอยู่
นพ.โสภณ กล่าวว่า 2. รูปแบบคณะกรรมการความร่วมมือด้านสุขภาพแห่งชาติ (National Health Co-operation Board) โดยจัดตั้งให้มีกลไกกลางที่สร้างความร่วมมือในการกำหนดทิศทาง มาตรการ การดำเนินการเฉพาะในประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งหากมีข้อเสนอหรือมติอย่างใดให้มีผลผูกพันต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Policy Board) โดยจัดให้มีกลไกที่สามารถใช้อำนาจเหนือหน่วยงานด้านสุขภาพทั้งหมด โดยเฉพาะหน่วยงานหรือกลไกของรัฐไม่ว่าจะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. ใดก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการกำหนดและดำเนินการตามนโยบายสุขภาพ (Hard Power) รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร ติดตาม กำกับ ประเมินผล
“ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเลือกรูปแบบใด แต่ได้มอบให้คณะทำงานไปดำเนินการศึกษาข้อดีข้อเสียของทั้ง 3 รูปแบบเพื่อนำเสนออีกครั้ง ส่วนข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติขึ้น เพื่อกำหนดนโยบายด้านสุขภาพ รวมทั้งประเทศ ไม่ให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน เป็นหนึ่งในข้อเสนอทั้งหมด ซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าจะเป็นรูปแบบใด ยืนยันว่า ไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพราะจะมีหน้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ได้มอบคณะทำงานไปศึกษารายละเอียด ซึ่งในวันที่ 19 ก.พ. จะมีการประชุมหารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุข” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในการประชุมการปฏิรูปด้านสาธารณสุขเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านสาธารณสุข ได้นำเสนอแนวทางการทำงานโดยประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กลไกในการอภิบาลระบบสุขภาพในรูปแบบคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีทางเลือกการทำงาน 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบคณะกรรมการประสานงานด้านนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Collaboration Board) โดยจัดตั้งให้มีกลไกที่จะสามารถทำการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีบทบาทด้านสุขภาพ ให้มีทิศทางการทำงานที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง โดยไม่ได้ไปก้าวล่วงต่ออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละองค์กรมีอยู่
นพ.โสภณ กล่าวว่า 2. รูปแบบคณะกรรมการความร่วมมือด้านสุขภาพแห่งชาติ (National Health Co-operation Board) โดยจัดตั้งให้มีกลไกกลางที่สร้างความร่วมมือในการกำหนดทิศทาง มาตรการ การดำเนินการเฉพาะในประเด็นที่มีความสำคัญ ซึ่งหากมีข้อเสนอหรือมติอย่างใดให้มีผลผูกพันต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Policy Board) โดยจัดให้มีกลไกที่สามารถใช้อำนาจเหนือหน่วยงานด้านสุขภาพทั้งหมด โดยเฉพาะหน่วยงานหรือกลไกของรัฐไม่ว่าจะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. ใดก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการกำหนดและดำเนินการตามนโยบายสุขภาพ (Hard Power) รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร ติดตาม กำกับ ประเมินผล
“ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเลือกรูปแบบใด แต่ได้มอบให้คณะทำงานไปดำเนินการศึกษาข้อดีข้อเสียของทั้ง 3 รูปแบบเพื่อนำเสนออีกครั้ง ส่วนข้อเสนอการตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติขึ้น เพื่อกำหนดนโยบายด้านสุขภาพ รวมทั้งประเทศ ไม่ให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน เป็นหนึ่งในข้อเสนอทั้งหมด ซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าจะเป็นรูปแบบใด ยืนยันว่า ไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพราะจะมีหน้าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ได้มอบคณะทำงานไปศึกษารายละเอียด ซึ่งในวันที่ 19 ก.พ. จะมีการประชุมหารือร่วมกับ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุข” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่