อธิบดี คร. เผยเตรียมประชุม คกก. ควบคุมบริโภคยาสูบ 25 ก.พ. นี้ ดันแผนลดนักสูบหน้าใหม่ควบคู่มาตรการภาษี “หมอหทัย” ย้ำขึ้นภาษีบุหรี่ช่วยลดคนสูบได้จริง “หมอประกิต” ชี้แบ่งบุหรี่ขายผู้ค้าได้กำไรชัด
นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในวันที่ 25 ก.พ. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (คบยช.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน โดยได้มอบให้ทางสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบเตรียมข้อมูลในเรื่องแผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคยาสูบในเด็กและเยาวชนเพิ่มเติม เพื่อควบคู่กับมาตรการทางภาษี
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ในฐานะประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (2550 - 2551) กล่าวถึงกรณีสมาคมค้ายาสูบไทย ออกมาตั้งคำถามถึงการขึ้นภาษีบุหรี่จะช่วยลดนักสูบลงได้อย่างไร ว่า ธนาคารโลกเคยรวบรวมข้อมูลว่า หากขึ้นภาษีและมีผลทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 8 ซึ่งจำนวนที่ลดลงมุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน และกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เพราะเมื่อราคาบุหรี่ต่อซองแพงขึ้น คนที่มีรายได้น้อย เด็กและเยาวชนที่ต้องขอเงินพ่อแม่ก็จะลดการซื้อบุหรี่ลง
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นภาษีบุหรี่ครั้งนี้ไม่ได้กระทบธุรกิจบุหรี่มาก เพราะยังมีกำไรอีกมหาศาล ที่สำคัญ การขึ้นภาษี ในกลุ่มคนสูบบุหรี่อยู่แล้วก็ยังสูบอยู่ และไม่ใช่ว่าบุหรี่ทุกยี่ห้อจะมีราคาสูงไปหมด คนที่สูบก็ไปสูบที่ราคาลดหลั่นลงมาได้ ไม่เหมือนอย่างในมาเลเซียระบุชัดเจนให้ขึ้นราคาขั้นต่ำ 70 บาทด้วยซ้ำไป ส่วนประเด็นบุหรี่แบ่งขาย ต้องบอกว่าผู้ค้าได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ ยกตัวอย่าง คนสูบบุหรี่เฉลี่ยสูบวันละ 10 มวน ผู้ค้าจะแบ่งขายเอง ซึ่งได้กำไรมากขึ้น อย่าง 1 ซองมี 20 มวน ขายซองละ 60 บาท แต่พอมาแบ่งขายอาจเพิ่มราคาเข้าไป ก็จะได้กำไรอีก ดังนั้น คนสูบเองก็ต้องพิจารณาว่าจะซื้อหรือไม่ ขณะนี้กำลังผลักดันร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา คาดว่า จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเดือน มี.ค.
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ในวันที่ 25 ก.พ. นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (คบยช.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน โดยได้มอบให้ทางสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบเตรียมข้อมูลในเรื่องแผนยุทธศาสตร์ลดการบริโภคยาสูบในเด็กและเยาวชนเพิ่มเติม เพื่อควบคู่กับมาตรการทางภาษี
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ในฐานะประธานรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (2550 - 2551) กล่าวถึงกรณีสมาคมค้ายาสูบไทย ออกมาตั้งคำถามถึงการขึ้นภาษีบุหรี่จะช่วยลดนักสูบลงได้อย่างไร ว่า ธนาคารโลกเคยรวบรวมข้อมูลว่า หากขึ้นภาษีและมีผลทำให้ราคาบุหรี่สูงขึ้นร้อยละ 10 จะส่งผลให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 8 ซึ่งจำนวนที่ลดลงมุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน และกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เพราะเมื่อราคาบุหรี่ต่อซองแพงขึ้น คนที่มีรายได้น้อย เด็กและเยาวชนที่ต้องขอเงินพ่อแม่ก็จะลดการซื้อบุหรี่ลง
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นภาษีบุหรี่ครั้งนี้ไม่ได้กระทบธุรกิจบุหรี่มาก เพราะยังมีกำไรอีกมหาศาล ที่สำคัญ การขึ้นภาษี ในกลุ่มคนสูบบุหรี่อยู่แล้วก็ยังสูบอยู่ และไม่ใช่ว่าบุหรี่ทุกยี่ห้อจะมีราคาสูงไปหมด คนที่สูบก็ไปสูบที่ราคาลดหลั่นลงมาได้ ไม่เหมือนอย่างในมาเลเซียระบุชัดเจนให้ขึ้นราคาขั้นต่ำ 70 บาทด้วยซ้ำไป ส่วนประเด็นบุหรี่แบ่งขาย ต้องบอกว่าผู้ค้าได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ ยกตัวอย่าง คนสูบบุหรี่เฉลี่ยสูบวันละ 10 มวน ผู้ค้าจะแบ่งขายเอง ซึ่งได้กำไรมากขึ้น อย่าง 1 ซองมี 20 มวน ขายซองละ 60 บาท แต่พอมาแบ่งขายอาจเพิ่มราคาเข้าไป ก็จะได้กำไรอีก ดังนั้น คนสูบเองก็ต้องพิจารณาว่าจะซื้อหรือไม่ ขณะนี้กำลังผลักดันร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา คาดว่า จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเดือน มี.ค.
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่