สธ. เร่งเดินหน้าดูแลผู้สุงอายุ กำชับ สสจ. ค้นหาผู้าสูงอายุติดบ้านติดเตียงให้เสร็จใน สิ้น ม.ค. นี้ อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุใน ก.พ. นำร่อง 1,092 ตำบล พร้อมตั้งเป้าขยายครอบคลุมทุกตำบลในปี 2561
วันนี้ (25 ม.ค.) ที่โรงแรมพูลแมน จ.ขอนแก่น นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care โดยกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ภายในปี 2568 จะมีผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การจัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ สธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวฯ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การบูรณาการ 5 กลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพ ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 600 ล้านบาท มีเป้าหมายดำเนินการใน 1,092 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 100,000 คน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุใน 370 ตำบล คาดว่า จะเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงประมาณร้อยละ 10 - 15 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า จะเร่งดำเนินงานใน 4 เรื่อง คือ 1. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในตำบลเป้าหมาย ให้แล้วเสร็จพร้อมส่งข้อมูลให้ศูนย์อนามัย กรมอนามัยภายใน 31 ม.ค. นี้ 2. จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. ให้เสร็จใน 28 ก.พ. นี้ โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม 2 วัน และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ในตำบลพื้นที่เป้าหมาย กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน 3. ส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อีกด้วย เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่อง 4. สสจ. และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คัดเลือกผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) จำนวน 1 คน ดูแลรับผิดชอบ 1 ตำบล ทำหน้าที่วางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล และเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป
“ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมด จะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี เป็นประธาน คณะกรรมการกองทุนตำบล เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลบริการที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานจากอาสาสมัครประจำครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ และทีมหมอครอบครัวโดยในปี 2561 จะขยายให้ครอบคลุมครบทุกตำบล 100 เปอร์เซ็นต์” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ม.ค.) ที่โรงแรมพูลแมน จ.ขอนแก่น นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล Long Term Care โดยกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ภายในปี 2568 จะมีผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การจัดการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ สธ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวฯ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การบูรณาการ 5 กลุ่มวัยในตำบลจัดการสุขภาพ ซึ่งในปี 2559 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ 600 ล้านบาท มีเป้าหมายดำเนินการใน 1,092 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง 100,000 คน สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีการดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุใน 370 ตำบล คาดว่า จะเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงประมาณร้อยละ 10 - 15 ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า จะเร่งดำเนินงานใน 4 เรื่อง คือ 1. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ค้นหากลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ในตำบลเป้าหมาย ให้แล้วเสร็จพร้อมส่งข้อมูลให้ศูนย์อนามัย กรมอนามัยภายใน 31 ม.ค. นี้ 2. จัดการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) หลักสูตร 70 ชม. ให้เสร็จใน 28 ก.พ. นี้ โดยในระยะเร่งด่วนนี้ได้จัดอบรม 2 วัน และอบรมต่อให้ครบตามหลักสูตรต่อไป เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ตำบลละไม่น้อยกว่า 10 คน ในตำบลพื้นที่เป้าหมาย กำหนดผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนจะดูแลผู้สูงอายุ 10 คน 3. ส่งเสริมให้คนในครอบครัวผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อีกด้วย เพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมต่อเนื่อง 4. สสจ. และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คัดเลือกผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) จำนวน 1 คน ดูแลรับผิดชอบ 1 ตำบล ทำหน้าที่วางแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล และเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป
“ทั้งนี้ การดำเนินงานทั้งหมด จะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี เป็นประธาน คณะกรรมการกองทุนตำบล เป็นต้น เพื่อให้ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลบริการที่ดีมีคุณภาพมาตรฐานจากอาสาสมัครประจำครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการ การดูแลผู้สูงอายุ และทีมหมอครอบครัวโดยในปี 2561 จะขยายให้ครอบคลุมครบทุกตำบล 100 เปอร์เซ็นต์” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่