“สุวพันธุ์” รับหนังสือมติ มส. เสนอสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แล้ว เสนอรายนาม “สมเด็จวัดปากน้ำ” เพียงรูปเดียว พร้อมนัดถก ผอ.พศ. ข้อกฎหมาย 18 ม.ค. นี้
วันนี้ (14 ม.ค.) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าวันนี้ตนได้รับหนังสือจาก พศ. ในเรื่องการแจ้งมติมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ประชุมวาระลับพิเศษเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเสนอสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 5 ม.ค. และมีการรับรองมติดังกล่าวในวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา โดย มส. ได้มีการเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์อาวุโสสูงสุดตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เพียงรูปเดียวต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ
นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่ มส. เสนอมา เพราะตามกฎหมายคณะสงฆ์นั้น กระบวนการทาง มส. จบแล้ว เพราะมติ มส. มีมาเรียบร้อยแล้ว และเป็นมติที่ไม่มีข้อโต้แย้งในกรรมการ มส. โดยสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระมหาเถระ ที่เป็นกรรมการ มส. ก็ได้เห็นชอบร่วมกันในรายนามที่จะเสนอต่อรัฐบาล ไม่มีข้อโต้แย้งและเป็นไปตามข้อกฎหมายแล้ว และรัฐบาลไม่มีหน้าที่ที่จะมาพิจารณารายนาม
อย่างไรก็ตาม จากนี้จะหารือกับ นายพนม ศรศิลป์ ผอ.พศ. ในวันที่ 18 ม.ค. นี้ โดยมีประเด็นหารือเพิ่มเติม 2 - 3 ประเด็น โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง รวมถึงประเพณีปฏิบัติที่ผ่านมา และกรณีข้อท้วงติงของกลุ่มผู้คัดค้าน และกรณีมีกระแสคัดค้านโดยพยายามเชื่อมโยงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กับคดีต่าง ๆ นั้น ก็จะหารือในทุกเรื่อง จากนั้นจะไปหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
“ผมมีหน้าที่ต้องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีในเรื่องมติ มส. ที่เสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะเพื่อเสนอสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพราะอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี คือ การกราบบังคมทูลฯซึ่งการกราบบังคมทูลฯนั้น นายกรัฐมนตรีจะต้องมีข้อมูลรอบด้านในการที่จะพิจารณาดำเนินการเรื่องนี้อย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา อะไรที่พูดได้ก็จะทำจะอธิบายให้สังคมเข้าใจ” นายสุวพันธุ์ กล่าว
นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับกรณี นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้อง พิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ระบุว่า หากรัฐบาลเสนอรายนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ก็จะไปถวายฎีกานั้น ตนมองว่า ทางกลุ่มใดจะเคลื่อนไหวอะไร ตนก็เคารพในการเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม โดยมองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ก็คือ การช่วยกันดูแลพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง การจะทำอะไร การจะเคลื่อนไหวอะไรแต่ละคนก็มีวิจารณญาณว่าอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสม ควรทำหรือไม่ควรทำ รัฐบาลจะทำอะไรก็จะทำในสิ่งที่เหมาะสม เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (14 ม.ค.) นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าวันนี้ตนได้รับหนังสือจาก พศ. ในเรื่องการแจ้งมติมหาเถรสมาคม (มส.) ที่ประชุมวาระลับพิเศษเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเสนอสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 5 ม.ค. และมีการรับรองมติดังกล่าวในวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา โดย มส. ได้มีการเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์อาวุโสสูงสุดตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 เพียงรูปเดียวต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 คือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ
นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองรายนามสมเด็จพระราชาคณะที่ มส. เสนอมา เพราะตามกฎหมายคณะสงฆ์นั้น กระบวนการทาง มส. จบแล้ว เพราะมติ มส. มีมาเรียบร้อยแล้ว และเป็นมติที่ไม่มีข้อโต้แย้งในกรรมการ มส. โดยสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และพระมหาเถระ ที่เป็นกรรมการ มส. ก็ได้เห็นชอบร่วมกันในรายนามที่จะเสนอต่อรัฐบาล ไม่มีข้อโต้แย้งและเป็นไปตามข้อกฎหมายแล้ว และรัฐบาลไม่มีหน้าที่ที่จะมาพิจารณารายนาม
อย่างไรก็ตาม จากนี้จะหารือกับ นายพนม ศรศิลป์ ผอ.พศ. ในวันที่ 18 ม.ค. นี้ โดยมีประเด็นหารือเพิ่มเติม 2 - 3 ประเด็น โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง รวมถึงประเพณีปฏิบัติที่ผ่านมา และกรณีข้อท้วงติงของกลุ่มผู้คัดค้าน และกรณีมีกระแสคัดค้านโดยพยายามเชื่อมโยงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กับคดีต่าง ๆ นั้น ก็จะหารือในทุกเรื่อง จากนั้นจะไปหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
“ผมมีหน้าที่ต้องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีในเรื่องมติ มส. ที่เสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะเพื่อเสนอสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพราะอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี คือ การกราบบังคมทูลฯซึ่งการกราบบังคมทูลฯนั้น นายกรัฐมนตรีจะต้องมีข้อมูลรอบด้านในการที่จะพิจารณาดำเนินการเรื่องนี้อย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา อะไรที่พูดได้ก็จะทำจะอธิบายให้สังคมเข้าใจ” นายสุวพันธุ์ กล่าว
นายสุวพันธุ์ กล่าวว่า สำหรับกรณี นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้อง พิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ระบุว่า หากรัฐบาลเสนอรายนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ก็จะไปถวายฎีกานั้น ตนมองว่า ทางกลุ่มใดจะเคลื่อนไหวอะไร ตนก็เคารพในการเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่ม โดยมองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ก็คือ การช่วยกันดูแลพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง การจะทำอะไร การจะเคลื่อนไหวอะไรแต่ละคนก็มีวิจารณญาณว่าอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสม ควรทำหรือไม่ควรทำ รัฐบาลจะทำอะไรก็จะทำในสิ่งที่เหมาะสม เพราะเรื่องนี้ละเอียดอ่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่