รศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องนอนไม่ค่อยหลับ สาเหตุของการนอนไม่หลับอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เหตุหลัก คือ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทำให้หลับตื้นขึ้น หลับไม่สนิทเหมือนวัยหนุ่มสาว ทำให้บางครั้งคิดว่านอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่หลับ แต่หลับตื้น ๆ ตื่นง่าย นอกจากนั้นความต้องการของร่างกายที่ต้องการหลับยาว ๆ อาจลดลง ลองสังเกตดูว่ามี อาการง่วงนอนในตอนกลางวันหรือไม่ ถ้าไม่มีก็น่าจะหลับได้เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งที่พบได้ คือ การที่ผู้สูงอายุมักง่วง และเข้านอนเร็วกว่าปกติ เช่น เข้านอนเวลาสองทุ่ม (20.00 น.) และตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น ตื่นตอนตี 2 ตี 3 แล้วไม่หลับอีก
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความเครียด คิดกังวลมาก หรือมีอาการซึมเศร้าเบื่อหน่าย อาจทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน รวมถึงอาจมีความเจ็บป่วยของร่างกายทำให้ต้องตื่นขึ้นมาในตอนดึกแล้วหลับต่อได้ยาก เช่น มีต่อมลูกหมากโตหรือเป็นโรคเบาหวาน ต้องตื่นมาปัสสาวะหลายครั้ง จึงทำให้นอนไม่หลับ บางคนมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นตะคริว ทำให้ต้องตื่นมาตอนดึก เป็นต้น ตลอดจนบางครั้งอาจเกิดจากยาบางชนิดที่รับประทานส่งผลให้นอนไม่หลับได้ เช่น รับประทานยาแก้คัดจมูก ยาขยายหลอดลม เป็นต้น
อีกสาเหตุที่สำคัญ คือ การที่นอนพักผ่อนมากเกินไปในตอนกลางวัน หรือรับประทาน ชา กาแฟมาก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน
สำหรับผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ แต่ต้องการรับประทานยานอนหลับช่วยในการนอน ก่อนจะรับประทานยานอนหลับ ลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเหล่านี้ก่อน คือ
-อย่าเข้านอนเร็วเกินไป กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนที่แน่นอน
-ออกกำลังกายที่เหมาะสมในระหว่างวัน หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหักโหมในช่วงเย็น
- จัดสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่มีแสงจ้าในช่วงที่นอน
-ไม่ควรเข้านอนในขณะที่กำลังหิว อาจดื่มนมอุ่น ๆ หรือรับประทานของว่าง
-อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไปก่อนนอน หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วงอาหารมื้อเย็น และอย่าดื่มน้ำมากก่อนนอนเพราะจะทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น
-ควรหากิจกรรมอื่นทำที่ทำให้ง่วงหลับได้ ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์บนเตียงนอน
โดยใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น อาจเปิดเพลงเบาๆ หรือนวดเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
-หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน ออกรับแสงแดดระหว่างวันและในช่วงเย็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืด ๆ ระหว่างวัน เข้านอนเมื่อมีอาการง่วง หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง
หากปฏิบัติตามนี้แล้วไม่ได้ผลแล้วจึงค่อยปรึกษาแพทย์
********
กิจกรรมดี ๆ ศิริราช
9-14 ธ.ค. 15.00-21.30 น. ณ ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชนุสรณีย์ เชิญชวนร่วมงานบางกอกน้อยเฟสติวัลย์ ครั้งที่ 3 “โอ้โห...บางกอกน้อย” ชมของดีบางกอกน้อยและกิจกรรมการแสดงจากศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2419 9350-1
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องนอนไม่ค่อยหลับ สาเหตุของการนอนไม่หลับอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เหตุหลัก คือ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทำให้หลับตื้นขึ้น หลับไม่สนิทเหมือนวัยหนุ่มสาว ทำให้บางครั้งคิดว่านอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่หลับ แต่หลับตื้น ๆ ตื่นง่าย นอกจากนั้นความต้องการของร่างกายที่ต้องการหลับยาว ๆ อาจลดลง ลองสังเกตดูว่ามี อาการง่วงนอนในตอนกลางวันหรือไม่ ถ้าไม่มีก็น่าจะหลับได้เพียงพอ อีกอย่างหนึ่งที่พบได้ คือ การที่ผู้สูงอายุมักง่วง และเข้านอนเร็วกว่าปกติ เช่น เข้านอนเวลาสองทุ่ม (20.00 น.) และตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น ตื่นตอนตี 2 ตี 3 แล้วไม่หลับอีก
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความเครียด คิดกังวลมาก หรือมีอาการซึมเศร้าเบื่อหน่าย อาจทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน รวมถึงอาจมีความเจ็บป่วยของร่างกายทำให้ต้องตื่นขึ้นมาในตอนดึกแล้วหลับต่อได้ยาก เช่น มีต่อมลูกหมากโตหรือเป็นโรคเบาหวาน ต้องตื่นมาปัสสาวะหลายครั้ง จึงทำให้นอนไม่หลับ บางคนมีอาการปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นตะคริว ทำให้ต้องตื่นมาตอนดึก เป็นต้น ตลอดจนบางครั้งอาจเกิดจากยาบางชนิดที่รับประทานส่งผลให้นอนไม่หลับได้ เช่น รับประทานยาแก้คัดจมูก ยาขยายหลอดลม เป็นต้น
อีกสาเหตุที่สำคัญ คือ การที่นอนพักผ่อนมากเกินไปในตอนกลางวัน หรือรับประทาน ชา กาแฟมาก ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน
สำหรับผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ แต่ต้องการรับประทานยานอนหลับช่วยในการนอน ก่อนจะรับประทานยานอนหลับ ลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเหล่านี้ก่อน คือ
-อย่าเข้านอนเร็วเกินไป กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนที่แน่นอน
-ออกกำลังกายที่เหมาะสมในระหว่างวัน หลีกเลี่ยงออกกำลังกายหักโหมในช่วงเย็น
- จัดสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิของห้องให้พอเหมาะ ไม่มีเสียงดังรบกวน ไม่มีแสงจ้าในช่วงที่นอน
-ไม่ควรเข้านอนในขณะที่กำลังหิว อาจดื่มนมอุ่น ๆ หรือรับประทานของว่าง
-อย่ารับประทานอาหารอิ่มเกินไปก่อนนอน หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในช่วงอาหารมื้อเย็น และอย่าดื่มน้ำมากก่อนนอนเพราะจะทำให้ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อยขึ้น
-ควรหากิจกรรมอื่นทำที่ทำให้ง่วงหลับได้ ไม่ควรอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์บนเตียงนอน
โดยใช้เตียงสำหรับการนอนหลับเท่านั้น อาจเปิดเพลงเบาๆ หรือนวดเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
-หลีกเลี่ยงการงีบหลับในเวลากลางวัน ออกรับแสงแดดระหว่างวันและในช่วงเย็น รวมถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมืด ๆ ระหว่างวัน เข้านอนเมื่อมีอาการง่วง หากยังไม่ง่วงไม่ควรอยู่บนเตียง
หากปฏิบัติตามนี้แล้วไม่ได้ผลแล้วจึงค่อยปรึกษาแพทย์
********
กิจกรรมดี ๆ ศิริราช
9-14 ธ.ค. 15.00-21.30 น. ณ ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชนุสรณีย์ เชิญชวนร่วมงานบางกอกน้อยเฟสติวัลย์ ครั้งที่ 3 “โอ้โห...บางกอกน้อย” ชมของดีบางกอกน้อยและกิจกรรมการแสดงจากศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2419 9350-1
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่