ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์
ภาควิชาตจวิทยา
โรคลมพิษ เป็นโรคที่มีผื่นผิวหนัง ที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีขนาดตั้งแต่ 0.5 หรืออาจถึง 10 ซม. เกิดขึ้นเร็วและกระจายตามตัว แขน ขา มีอาการคัน ผื่นแต่ละที่มักอยู่ไม่นาน โดยมากไม่เกิน 24 ชม. ผื่นนั้นก็ราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจจะมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้อีก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการริมฝีปากบวม ตาบวม
โรคลมพิษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute urticarial) คือ อาการผื่นลมพิษที่เป็นไม่เกิน 6 สัปดาห์ โดยสาเหตุส่วนมาก มักเป็นปฏิกิริยาต่อการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด บางรายเกิดจากยา อาหาร แมลงกัดต่อย เมื่อแก้ปัญหาที่สาเหตุแล้วอาการก็จะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายก็หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ ผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น เช่น ปวดท้อง แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หอบหืด หรืออาจเป็นลมจากความดันโลหิตต่ำ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการหอบหืดจนอันตรายถึงชีวิตได้ โดยปกติแล้วลมพิษชนิดเฉียบพลันมักจะหายภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ประมาณ 10 - 20% ของผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันผื่นจะขึ้นต่อเนื่องจนกลายเป็นลมพิษเรื้อรัง
โรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมีอาการผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งชนิดที่ทราบสาเหตุกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ยา ระบบฮอร์โมน หรือเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ และชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย
โรคลมพิษเรื้อรังสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อุบัติการณ์สูงสุดในกลุ่มประชากรวัยทำงาน อายุประมาณ 20 - 40 ปี อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มวัยทำงานมักมีความเครียดสะสม และละเลยต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรคลมพิษเรื้อรังนั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งด้านบุคลิกภาพการทำงาน การเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน การนอนหลับและยังก่อให้เกิดความเครียดอีกด้วย โดยเฉพาะรายที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจน อาจมีภาวะความเครียดที่สูงขึ้น เพราะผู้ป่วยไม่สามารถทราบขึ้นได้ว่าจะมีอาการเกิดขึ้นเมื่อไร และไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากปัจจัยกระตุ้นได้
สำหรับผู้ป่วยผื่นลมพิษ สามารถปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการได้ ดังนี้
1.งดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
2.พกยาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เพื่อนำมาใช้ได้ทันทีหากมีอาการ
3.พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด
4.ไม่แกะเกาผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบจากการเกา
5.รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากทำให้เกิดอาการง่วงซึม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการขับขี่ยานพาหนะ ควรแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไปตามความเหมาะสม
6.อาจใช้ยาทา เช่น คาลาไมน์ทาบริเวณผื่นลมพิษ เพื่อช่วยลดความรู้สึกคัน แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้ผื่นหาย
********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
เชิญชวนร่วมงาน “เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ศิริราช 60 ปี” เสวนาให้ความรู้ด้านการตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคียร์ รังสีและการป้องกันอันตรายทางรังสี 9-10 พ.ย. เวลา 08.00 - 15.00 น. ณ โถง ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีฯ (ฟรี)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาตจวิทยา
โรคลมพิษ เป็นโรคที่มีผื่นผิวหนัง ที่มีลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีขนาดตั้งแต่ 0.5 หรืออาจถึง 10 ซม. เกิดขึ้นเร็วและกระจายตามตัว แขน ขา มีอาการคัน ผื่นแต่ละที่มักอยู่ไม่นาน โดยมากไม่เกิน 24 ชม. ผื่นนั้นก็ราบไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจจะมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่น ๆ ได้อีก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการริมฝีปากบวม ตาบวม
โรคลมพิษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute urticarial) คือ อาการผื่นลมพิษที่เป็นไม่เกิน 6 สัปดาห์ โดยสาเหตุส่วนมาก มักเป็นปฏิกิริยาต่อการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด บางรายเกิดจากยา อาหาร แมลงกัดต่อย เมื่อแก้ปัญหาที่สาเหตุแล้วอาการก็จะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายก็หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ ผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น เช่น ปวดท้อง แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หอบหืด หรืออาจเป็นลมจากความดันโลหิตต่ำ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการหอบหืดจนอันตรายถึงชีวิตได้ โดยปกติแล้วลมพิษชนิดเฉียบพลันมักจะหายภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ประมาณ 10 - 20% ของผู้ป่วยโรคลมพิษชนิดเฉียบพลันผื่นจะขึ้นต่อเนื่องจนกลายเป็นลมพิษเรื้อรัง
โรคลมพิษชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยมีอาการผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งชนิดที่ทราบสาเหตุกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ยา ระบบฮอร์โมน หรือเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ และชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย
โรคลมพิษเรื้อรังสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อุบัติการณ์สูงสุดในกลุ่มประชากรวัยทำงาน อายุประมาณ 20 - 40 ปี อาจเป็นไปได้ว่ากลุ่มวัยทำงานมักมีความเครียดสะสม และละเลยต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรคลมพิษเรื้อรังนั้น มีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งด้านบุคลิกภาพการทำงาน การเรียน การดำเนินชีวิตประจำวัน การนอนหลับและยังก่อให้เกิดความเครียดอีกด้วย โดยเฉพาะรายที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจน อาจมีภาวะความเครียดที่สูงขึ้น เพราะผู้ป่วยไม่สามารถทราบขึ้นได้ว่าจะมีอาการเกิดขึ้นเมื่อไร และไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากปัจจัยกระตุ้นได้
สำหรับผู้ป่วยผื่นลมพิษ สามารถปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการได้ ดังนี้
1.งดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดลมพิษตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
2.พกยาต้านฮีสตามีนติดตัวไว้เสมอ เพื่อนำมาใช้ได้ทันทีหากมีอาการ
3.พยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด
4.ไม่แกะเกาผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบจากการเกา
5.รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากทำให้เกิดอาการง่วงซึม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการขับขี่ยานพาหนะ ควรแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาต่อไปตามความเหมาะสม
6.อาจใช้ยาทา เช่น คาลาไมน์ทาบริเวณผื่นลมพิษ เพื่อช่วยลดความรู้สึกคัน แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้ผื่นหาย
********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
เชิญชวนร่วมงาน “เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ศิริราช 60 ปี” เสวนาให้ความรู้ด้านการตรวจรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคียร์ รังสีและการป้องกันอันตรายทางรังสี 9-10 พ.ย. เวลา 08.00 - 15.00 น. ณ โถง ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีฯ (ฟรี)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่