อย. เตือนเครื่องตรวจสุขภาพ QMRA ไม่ผ่าน อย. ไร้ใบขออนุญาตนำเข้า - จำหน่าย ชี้ โฆษณาโอ้อวดตรวจระบบภายในร่างกายแม่นยำกว่า 40 รายการ แฉเสนอขายพร้อมอาหารเสริม เป็นเทคนิคขายตรง แนะตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่มีการแชร์ในโซเชียลมีเดียถึงเครื่องตรวจสุขภาพ Quantum Magnetic Resonance Analyzer (QMRA) ว่า สามารถตรวจวินิจฉัยโรคและตรวจร่างกายเบื้องต้นได้กว่า 40 รายการ โดยกล่าวอ้างการทำงานของเครื่องว่าสามารถวิเคราะห์ไฟฟ้าที่ไหลเวียนในร่างกาย แล้วนำมาเทียบเคียงกับค่าเฉลี่ยของคนปกติที่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติของร่างกายได้อย่างแม่นยำนั้น จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ภายใต้การดูแลของ อย. แต่ไม่เคยมีการขออนุญาตนำเข้าหรือจำหน่ายแต่อย่างใด และ อย. ไม่เคยอนุญาตเครื่องมือตรวจสุขภาพในลักษณะนี้
นพ.ไพศาล กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว มีข้อสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ในลักษณะดังกล่าวจะถูกนำเสนอพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการค้าของผู้จำหน่ายในรูปแบบธุรกิจการขายตรงต่อประชาชนทั่วไป โดยใช้การโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงว่า สามารถตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ ตรวจสอบด้วยตนเองได้ และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ เป็นต้น
“ขอย้ำว่า การตรวจสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความเป็นจริงที่สุดนั้น ควรดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์จากสถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวขอให้ตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือก่อนการตัดสินใจซื้อ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการรับรองได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่มีการแชร์ในโซเชียลมีเดียถึงเครื่องตรวจสุขภาพ Quantum Magnetic Resonance Analyzer (QMRA) ว่า สามารถตรวจวินิจฉัยโรคและตรวจร่างกายเบื้องต้นได้กว่า 40 รายการ โดยกล่าวอ้างการทำงานของเครื่องว่าสามารถวิเคราะห์ไฟฟ้าที่ไหลเวียนในร่างกาย แล้วนำมาเทียบเคียงกับค่าเฉลี่ยของคนปกติที่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติของร่างกายได้อย่างแม่นยำนั้น จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ภายใต้การดูแลของ อย. แต่ไม่เคยมีการขออนุญาตนำเข้าหรือจำหน่ายแต่อย่างใด และ อย. ไม่เคยอนุญาตเครื่องมือตรวจสุขภาพในลักษณะนี้
นพ.ไพศาล กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าว มีข้อสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ในลักษณะดังกล่าวจะถูกนำเสนอพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการค้าของผู้จำหน่ายในรูปแบบธุรกิจการขายตรงต่อประชาชนทั่วไป โดยใช้การโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงว่า สามารถตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ ตรวจสอบด้วยตนเองได้ และลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ เป็นต้น
“ขอย้ำว่า การตรวจสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความเป็นจริงที่สุดนั้น ควรดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคโดยแพทย์จากสถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวขอให้ตรวจสอบข้อมูลความน่าเชื่อถือก่อนการตัดสินใจซื้อ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการรับรองได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่