เตรียมจัดประชุมระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพฯ 16 - 17 พ.ย. หวังมุ่งพัฒนาระบบร่วมกัน สู่ความเท่าเทียมกันและความยั่งยืน
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานอนุกรรมการศึกษาและจัดทำข้อเสนอการพัฒนากลไกกลางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวถึงการจัดประชุมระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2558) “หลักประกันสุขภาพ : ความก้าวหน้า ความท้าทาย และความกลมกลืน” ในวันที่ 16 - 17 พ.ย. นี้ ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกลไกการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การบูรณาการและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางที่เกื้อหนุนและสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมการนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ ขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความกลมกลืนของระบบหลักประกันสุขภาพของไทย และการพัฒนาขีดความสามารถในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการประสานงานกองทุนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งที ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ได้เสนอกลไกเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในระบบหลักประกันสุขภาพที่ดูแลโดยภาครัฐ โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการสร้างความกลมกลืนในระบบหลักประกันสุขภาพ” และต้องย้ำว่า จะไม่มีการนำเงินจากกองทุนต่าง ๆ มารวมกัน โดยจะเป็นเพียงเวทีกลางเปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมเพื่อดูว่าสิทธิประโยชน์ใดยังแตกต่าง และจะทำให้กลมกลืนกันอย่างไร ซึ่งในหลายประเทศที่มีหลายกองทุนต่างใช้กลไกนี้เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมเช่นกัน
ทั้งนี้ ในการประชุมมีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงระดับโลกเข้าร่วม อาทิ ศ.แอนน์ มิลส์ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2552 ดร.ทูมัส พาลู ผู้จัดการ หน่วยประชากร โภชนาการ และ สุขภาพ ของธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเวทีต่าง ๆ อาทิ สิทธิประโยชน์กลางหลักประกันสุขภาพทุกคนได้ประโยชน์จริงหรือ?, แหล่งเงินสำหรับจัดบริการสุขภาพ ภารกิจที่รัฐต้องลงทุน/แหล่งเงินมาจากไหน, ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย : อภิบาลระบบอย่างไรให้ได้ผลดี, ถึงเวลาของการ Harmonize วิธีการจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการหรือยัง และระบบการคุ้มครองสิทธิประชาชน เสนอการบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน 3 กองทุน เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานอนุกรรมการศึกษาและจัดทำข้อเสนอการพัฒนากลไกกลางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวถึงการจัดประชุมระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2558) “หลักประกันสุขภาพ : ความก้าวหน้า ความท้าทาย และความกลมกลืน” ในวันที่ 16 - 17 พ.ย. นี้ ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกลไกการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ 3 กองทุน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การบูรณาการและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางที่เกื้อหนุนและสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมการนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ ขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความกลมกลืนของระบบหลักประกันสุขภาพของไทย และการพัฒนาขีดความสามารถในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
นพ.สุวิทย์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการประสานงานกองทุนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งที ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นประธาน ได้เสนอกลไกเพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมในระบบหลักประกันสุขภาพที่ดูแลโดยภาครัฐ โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการสร้างความกลมกลืนในระบบหลักประกันสุขภาพ” และต้องย้ำว่า จะไม่มีการนำเงินจากกองทุนต่าง ๆ มารวมกัน โดยจะเป็นเพียงเวทีกลางเปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมเพื่อดูว่าสิทธิประโยชน์ใดยังแตกต่าง และจะทำให้กลมกลืนกันอย่างไร ซึ่งในหลายประเทศที่มีหลายกองทุนต่างใช้กลไกนี้เพื่อทำให้เกิดความเท่าเทียมเช่นกัน
ทั้งนี้ ในการประชุมมีวิทยากรผู้มีชื่อเสียงระดับโลกเข้าร่วม อาทิ ศ.แอนน์ มิลส์ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2552 ดร.ทูมัส พาลู ผู้จัดการ หน่วยประชากร โภชนาการ และ สุขภาพ ของธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเวทีต่าง ๆ อาทิ สิทธิประโยชน์กลางหลักประกันสุขภาพทุกคนได้ประโยชน์จริงหรือ?, แหล่งเงินสำหรับจัดบริการสุขภาพ ภารกิจที่รัฐต้องลงทุน/แหล่งเงินมาจากไหน, ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย : อภิบาลระบบอย่างไรให้ได้ผลดี, ถึงเวลาของการ Harmonize วิธีการจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการหรือยัง และระบบการคุ้มครองสิทธิประชาชน เสนอการบริหารจัดการและกลไกการทำงานร่วมกัน 3 กองทุน เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่