สตง. ชี้ กก. กองทุน สสส. เอามูลนิธิตัวเองมารับทุน ส่อผลประโยชน์ทับซ้อน แนะแก้ กม. ดึงงบคืนคลัง ระบุ สังคมคิดเองได้ให้งบสถาบันอิศราเอี่ยวสุขภาพหรือไม่ ชี้เรื่องสุขภาพอ้างได้เสมอ แต่ต้องดูสมเหตุสมผลหรือไม่
วันนี้ (24 ต.ค.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สตง. ตรวจสอบการใช้งบของ สสส. มาตลอด และให้ผลเหมือนกันว่าใช้เงินไม่เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องสุขภาพ ซึ่งได้แจ้งล่วงหน้าไปแล้ว เมื่อปี 2556 โดยส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแล้วว่าจะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย คือ ผู้ที่จะเป็นกรรมการกองทุนได้ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาดกับหน่วยงานที่ขอรับทุนจัดทำโครงการ เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งนำมาสู่กระบวนการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม เพราะคนพิจารณามีส่วนได้เสีย มีการจูงใช้ให้การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แทนที่จะเป็นคนพิจารณาตรวจสอบ กลับกลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น เอามูลนิธิของตัวเองเข้ามารับงบไปทำโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้น ต้องมีการปรับแก้
“บรรดามูลนิธิต่าง ๆ ให้เกียรติกันได้ แต่หลักการควบคุมต้องไม่เป็นอย่างนั้น จะใช้ระบบเชื่อถือกันและมายกเว้นในหลักการเรื่องความโปร่งใส และประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ ซึ่งเท่าที่เก็บสถิติพบว่ามีลักษณะอย่างนี้เยอะเหมือนกันที่กรรมการบริหารเอามูลนิธิของตัวเองมาทำโครงการ อาจจะเป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญด้านนี้ และเชื่อว่า มูลนิธิของตัวเองสามารถทำประโยชน์ได้ แต่ในหลักการจริง ๆ ระบบควบคุมจะไม่ดี และตามที่ตรวจสอบยังพบว่ามีเงินค้างท่อเยอะมาก เพราะฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอาเงินทั้งหมดมาเข้าคลัง แล้ว สสส. พิจารณาโครงการแล้วขอเงินแทนโครงการต่าง ๆ โดยผ่านสภาก่อน และรับไปเท่าที่ศักยภาพมี ไม่ใช่ขอไปเยอะจนเกิดการติดลบ มีการทำงบประมาณเกินดุลอยู่เรื่อย” นายพิศิษฐ์ กล่าวและว่า ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการริบทรัพย์ หรือจ้องเอาเงินของใคร แต่เป็นการนำเข้ากระบวนการที่เหมาะสมมากกว่า เพราะโครงการของ สสส. เยอะมากต้องประเมินผลลัพธ์ให้ดีว่าเกิดประโยชน์กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่อ้อมมาก
ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่อง สสส. ให้งบสถาบันอิศรา ซึ่งมีการชี้แจงเกี่ยวข้องกับสุขภาพ นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องคิดเองได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้หน่วยงานตรวจสอบเป็นผู้วิจารณ์ ประชาชนลองพิจารณาดู การอ้างเรื่องสุขภาพนั้นสามารถอ้างได้เสมอ แต่ต้องดูว่าสมเหตุผลหรือไม่ แม้กระทั่งเรื่องสวดมนต์ข้ามปีดูเหมือนเป็นประโยชน์ที่มี 1 วันที่ไม่เมา แต่ไปสวดมนต์แทนการดื่มเหล้าแล้วจนเกิดอุบัติเหตุ แต่มีใช้งบตั้ง 33 ล้าน แล้วถามว่าปัญหาขับรถ แล้วชนกันลดลงหรือไม่ ส่วนกรณีที่มีการท้วงติงว่าถ้าเข้าสู่ระบบการบริหารงบของภาครัฐแล้วยุ่งยากนั้น เป็นเรื่องที่คิดกันไปเอง เนื่องจากเคยได้รับอะไรมาง่าย ๆ จึงต้องการแต่แบบนั้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 ต.ค.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สตง. ตรวจสอบการใช้งบของ สสส. มาตลอด และให้ผลเหมือนกันว่าใช้เงินไม่เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องสุขภาพ ซึ่งได้แจ้งล่วงหน้าไปแล้ว เมื่อปี 2556 โดยส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแล้วว่าจะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย คือ ผู้ที่จะเป็นกรรมการกองทุนได้ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาดกับหน่วยงานที่ขอรับทุนจัดทำโครงการ เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งนำมาสู่กระบวนการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม เพราะคนพิจารณามีส่วนได้เสีย มีการจูงใช้ให้การใช้จ่ายเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แทนที่จะเป็นคนพิจารณาตรวจสอบ กลับกลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น เอามูลนิธิของตัวเองเข้ามารับงบไปทำโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้น ต้องมีการปรับแก้
“บรรดามูลนิธิต่าง ๆ ให้เกียรติกันได้ แต่หลักการควบคุมต้องไม่เป็นอย่างนั้น จะใช้ระบบเชื่อถือกันและมายกเว้นในหลักการเรื่องความโปร่งใส และประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ ซึ่งเท่าที่เก็บสถิติพบว่ามีลักษณะอย่างนี้เยอะเหมือนกันที่กรรมการบริหารเอามูลนิธิของตัวเองมาทำโครงการ อาจจะเป็นเพราะมีความเชี่ยวชาญด้านนี้ และเชื่อว่า มูลนิธิของตัวเองสามารถทำประโยชน์ได้ แต่ในหลักการจริง ๆ ระบบควบคุมจะไม่ดี และตามที่ตรวจสอบยังพบว่ามีเงินค้างท่อเยอะมาก เพราะฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอาเงินทั้งหมดมาเข้าคลัง แล้ว สสส. พิจารณาโครงการแล้วขอเงินแทนโครงการต่าง ๆ โดยผ่านสภาก่อน และรับไปเท่าที่ศักยภาพมี ไม่ใช่ขอไปเยอะจนเกิดการติดลบ มีการทำงบประมาณเกินดุลอยู่เรื่อย” นายพิศิษฐ์ กล่าวและว่า ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการริบทรัพย์ หรือจ้องเอาเงินของใคร แต่เป็นการนำเข้ากระบวนการที่เหมาะสมมากกว่า เพราะโครงการของ สสส. เยอะมากต้องประเมินผลลัพธ์ให้ดีว่าเกิดประโยชน์กับประชาชนมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่อ้อมมาก
ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่อง สสส. ให้งบสถาบันอิศรา ซึ่งมีการชี้แจงเกี่ยวข้องกับสุขภาพ นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สังคมต้องคิดเองได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้หน่วยงานตรวจสอบเป็นผู้วิจารณ์ ประชาชนลองพิจารณาดู การอ้างเรื่องสุขภาพนั้นสามารถอ้างได้เสมอ แต่ต้องดูว่าสมเหตุผลหรือไม่ แม้กระทั่งเรื่องสวดมนต์ข้ามปีดูเหมือนเป็นประโยชน์ที่มี 1 วันที่ไม่เมา แต่ไปสวดมนต์แทนการดื่มเหล้าแล้วจนเกิดอุบัติเหตุ แต่มีใช้งบตั้ง 33 ล้าน แล้วถามว่าปัญหาขับรถ แล้วชนกันลดลงหรือไม่ ส่วนกรณีที่มีการท้วงติงว่าถ้าเข้าสู่ระบบการบริหารงบของภาครัฐแล้วยุ่งยากนั้น เป็นเรื่องที่คิดกันไปเอง เนื่องจากเคยได้รับอะไรมาง่าย ๆ จึงต้องการแต่แบบนั้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่