สศสท. เผยเปลี่ยนระบบข้าราชการจาก “ซี” เป็น “แท่ง” ส่งผลเงินเดือนเหลื่อมล้ำเรื้อรังกว่า 7 ปี เสนอทบทวนปรับปรุงอัตราเงินเดือนให้เท่าครู พร้อมการเยียวยา เล็งเข้าพบ รมว.สธ. 9 ต.ค. ชี้แจงปัญหา
วันนี้ (5 ต.ค.) นางทัศนีย์ บัวคำ ประธานก่อตั้งสมาพันธ์เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไทย (สศสท.) กล่าวว่า จากการออก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่ปรับระบบข้าราชการจากระบบซีเป็นระบบแท่ง ส่งผลให้มีการปรับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการ และอัตราเงินเดือนที่ควรได้ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงเมื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับ โดยเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่สอดคล้องกันและไม่มีความเป็นธรรม ซึ่งสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและชมรมนักวิชาการสาธารณสุข ในฐานะที่ได้รับผลกระทบด้วย จึงได้ส่งหนังสือร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
“วันที่ 9 ต.ค.นี้ สมาพันธ์ฯ จะเดินทางขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อสะท้อนปัญหา ติดตาม และทวงถามความคืบหน้า ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของกลุ่มข้าราชการที่ได้รับผลกระทบให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและเป็นธรรม พร้อมทั้งเร่งเยียวยาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน และสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการที่ถูกเลือกปฏิบัติ อาทิ ปรับปรุงอัตราเงินเดือนประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับปฏิบัติการ เป็นต้นมา ให้มีความสอดคล้องตามข้อเท็จจริงในการเลื่อนระดับของแต่ละตำแหน่ง มีความเท่าเทียมกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับ คศ.1 (เทียบเท่าข้าราชการระดับ 3 - 5) และข้าราชการระดับชำนาญการ (เทียบเท่าข้ารากชารระดับ 6 - 7) เป็นต้น” นางทัศนีย์ กล่าว
นางทัศนีย์ กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้และช่วยกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของข้าราชการ สธ. ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนระบบซี เป็นระบบเข้าแท่ง ตั้งแต่ปี 2551 ลุกลามจนถึงปัจจุบัน และปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการแก้ไขและไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ มา 7 ปี จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของข้าราชการ สธ. ทำให้เกิดความสูญเสียกำลังคนด้านสุขภาพ ขาดขวัญกำลังใจ และขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้าราชการ สธ. เหล่านี้ถือเป็นกลไกหลักสำคัญที่จะดูแลและให้บริการประชาชนในระบบสาธารณสุขให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ต.ค.) นางทัศนีย์ บัวคำ ประธานก่อตั้งสมาพันธ์เครือข่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมไทย (สศสท.) กล่าวว่า จากการออก พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่ปรับระบบข้าราชการจากระบบซีเป็นระบบแท่ง ส่งผลให้มีการปรับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง และขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการ และอัตราเงินเดือนที่ควรได้ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงเมื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในแต่ละระดับ โดยเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่สอดคล้องกันและไม่มีความเป็นธรรม ซึ่งสมาคมวิชาชีพสาธารณสุขและชมรมนักวิชาการสาธารณสุข ในฐานะที่ได้รับผลกระทบด้วย จึงได้ส่งหนังสือร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
“วันที่ 9 ต.ค.นี้ สมาพันธ์ฯ จะเดินทางขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อสะท้อนปัญหา ติดตาม และทวงถามความคืบหน้า ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนและปรับปรุงอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของกลุ่มข้าราชการที่ได้รับผลกระทบให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและเป็นธรรม พร้อมทั้งเร่งเยียวยาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับอัตราเงินเดือน และสร้างความเป็นธรรมให้กับข้าราชการที่ถูกเลือกปฏิบัติ อาทิ ปรับปรุงอัตราเงินเดือนประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับปฏิบัติการ เป็นต้นมา ให้มีความสอดคล้องตามข้อเท็จจริงในการเลื่อนระดับของแต่ละตำแหน่ง มีความเท่าเทียมกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับ คศ.1 (เทียบเท่าข้าราชการระดับ 3 - 5) และข้าราชการระดับชำนาญการ (เทียบเท่าข้ารากชารระดับ 6 - 7) เป็นต้น” นางทัศนีย์ กล่าว
นางทัศนีย์ กล่าวว่า สมาพันธ์ฯ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้และช่วยกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของข้าราชการ สธ. ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนระบบซี เป็นระบบเข้าแท่ง ตั้งแต่ปี 2551 ลุกลามจนถึงปัจจุบัน และปัญหาเหล่านี้ถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการแก้ไขและไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ มา 7 ปี จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของข้าราชการ สธ. ทำให้เกิดความสูญเสียกำลังคนด้านสุขภาพ ขาดขวัญกำลังใจ และขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งข้าราชการ สธ. เหล่านี้ถือเป็นกลไกหลักสำคัญที่จะดูแลและให้บริการประชาชนในระบบสาธารณสุขให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่