สุดสลด! เด็กใช้สายถุงผ้าแขวนหัว สุดท้ายสายเลื่อนลงมาที่คอ ถูกเพื่อนเล่นหมุนกระเป๋าจนสายเป็นเกลียว ขาดอากาศตาย หมอเตือนปรับอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมปลอดภัย ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ ด้านเด็กโตอุบัติเหตุจราจรตายพุ่ง สูงขึ้น 10% เดินหน้าโครงการต่ำกว่า 15 ปี ลดขับขี่มอเตอร์ไซค์
นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบเหตุการณ์อุบัติเหตุในเด็กนักเรียนอนุบาล ซึ่งเกิดจากกระเป๋าผ้าแบบสายรูดใช้บรรจุเครื่องนอน เสื้อผ้าเด็ก โดยเด็กได้นำสายของกระเป๋ามาแขวนไว้ที่หัวแล้วเลื่อนลงมาที่คอ เพื่อนซึ่งเป็นเด็กเช่นเดียวกันได้หมุนกระเป๋าผ้าจากด้านหลังให้ม้วนเป็นเกลียวเล่น โดยไม่ทราบว่าเชือกของกระเป๋าผ้านั้นรัดคอของเพื่อนแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กที่คล้องสายกระเป๋าที่คอไว้ขาดอากาศหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิต ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าเสียใจ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่อุบัติเหตุหลายอย่างสามารถป้องกันได้ หากผู้ใหญ่จัดเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนกระเป๋าของเด็กให้เป็นชนิดหูหิ้วที่มีความยาวให้สามารถคล้องแขนได้เท่านั้น เพื่อป้องกันเด็กนำสายไปสวมที่ศีรษะหรือคออีก
“ที่ต้องระวังอีก คือ อุบัติเหตุภายในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้บาดเจ็บมากกว่า แต่ไม่ค่อยทำให้เสียชีวิต อย่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้าน เช่น สายไฟ สายดึงผ้าม่านที่มีลักษณะเป็นวงแหวน หรือ ลูกตุ้ม พบว่า เด็กเอามาพันคอตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่อาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงได้ แต่ยังไม่พบรายงานการเสียชีวิต” นพ.อดิศักดิ์ กล่าวและว่า สำหรับสถิติการเสียชีวิตของเด็กพบว่า เกิดจาก 1. การจมน้ำ 2. การจราจร และ 3. การอุดตันของทางเดินหายใจ โดยเด็กเล็กอายุประมาณ 3 - 6 ขวบ ถือเป็นวัยที่ยังไม่รู้เรื่อง มักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ผู้ปกครองไม่ควรคาดหวังว่าบุตรหลานในวัยนี้จะทราบถึงอันตรายและไม่ทำในเรื่องเสี่ยง เช่น เอามือแหย่ปลั๊กไฟ แหย่พัดลม อมสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น แต่สิ่งที่ผู้ปกครองและครูควรทำคือ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อเด็ก
นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ ศูนย์วิจัยฯ กล่าวว่า ในปี 2557 กลุ่มเด็กอายุ 1 - 9 ปี มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง แต่กลุ่มเด็กโตวัย 10 - 14 ปี มีอัตราการตายสูงขึ้นร้อยละ 10.4 สาเหตุหลักมาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ จึงได้จัดทำโครงการ “ก่อน 15 ปีไม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์” ขึ้นเมื่อปี 2557 โดยโรงเรียนบ้านชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและมีผลการดำเนินงานที่เข้มแข็งเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดจำนวนผู้ขับขี่ก่อนวัยได้อย่างมาก
นายวิสูตร อุดมพฤกษชาติ ผอ.ร.ร.บ้านชำฆ้อ กล่าวว่า การดำเนินงานคือ ไม่ครบ 15 ปี งดขับขี่ ชีวีปลอดภัย โดยมีการจัดอบรมวินัยจราจร อันตรายและโทษของการขับขี่ก่อนอายุครบ 15 ปี และประสานผู้นำชุมชนช่วยดูแลนักเรียนที่อายุไม่ถึง 15 ปี ไม่ให้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตลอดจนขอความร่วมมือผู้ปกครองให้มาส่งนักเรียนที่โรงเรียนด้วยตนเอง หรือถ้าโรงเรียนอยู่ไม่ไกลก็ให้นักเรียนขี่จักรยาน โดยขอความอนุเคราะห์รถจักรยานจากชุมชน ห้างร้าน และผู้มีจิตศรัทธา นำมาให้ไว้ใช้ในการเดินทาง ทั้งนี้ ก่อนดำเนินโครงการจากนักเรียน 360 คน พบว่า นักเรียนขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เอง 33 คน แบ่งเป็นอายุมากกว่า 15 ปี 15 คน และอายุน้อยกว่า 15 ปี 18 คน หลังดำเนินโครงการพบว่านักเรียนขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เองลดลงเหลือ 15 คน อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 8 คนและอายุน้อยกว่า 15 ปี เหลือเพียง 7 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบเหตุการณ์อุบัติเหตุในเด็กนักเรียนอนุบาล ซึ่งเกิดจากกระเป๋าผ้าแบบสายรูดใช้บรรจุเครื่องนอน เสื้อผ้าเด็ก โดยเด็กได้นำสายของกระเป๋ามาแขวนไว้ที่หัวแล้วเลื่อนลงมาที่คอ เพื่อนซึ่งเป็นเด็กเช่นเดียวกันได้หมุนกระเป๋าผ้าจากด้านหลังให้ม้วนเป็นเกลียวเล่น โดยไม่ทราบว่าเชือกของกระเป๋าผ้านั้นรัดคอของเพื่อนแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กที่คล้องสายกระเป๋าที่คอไว้ขาดอากาศหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิต ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าเสียใจ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่อุบัติเหตุหลายอย่างสามารถป้องกันได้ หากผู้ใหญ่จัดเปลี่ยนอุปกรณ์ให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนกระเป๋าของเด็กให้เป็นชนิดหูหิ้วที่มีความยาวให้สามารถคล้องแขนได้เท่านั้น เพื่อป้องกันเด็กนำสายไปสวมที่ศีรษะหรือคออีก
“ที่ต้องระวังอีก คือ อุบัติเหตุภายในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้บาดเจ็บมากกว่า แต่ไม่ค่อยทำให้เสียชีวิต อย่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้าน เช่น สายไฟ สายดึงผ้าม่านที่มีลักษณะเป็นวงแหวน หรือ ลูกตุ้ม พบว่า เด็กเอามาพันคอตัวเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่อาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงได้ แต่ยังไม่พบรายงานการเสียชีวิต” นพ.อดิศักดิ์ กล่าวและว่า สำหรับสถิติการเสียชีวิตของเด็กพบว่า เกิดจาก 1. การจมน้ำ 2. การจราจร และ 3. การอุดตันของทางเดินหายใจ โดยเด็กเล็กอายุประมาณ 3 - 6 ขวบ ถือเป็นวัยที่ยังไม่รู้เรื่อง มักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ผู้ปกครองไม่ควรคาดหวังว่าบุตรหลานในวัยนี้จะทราบถึงอันตรายและไม่ทำในเรื่องเสี่ยง เช่น เอามือแหย่ปลั๊กไฟ แหย่พัดลม อมสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น แต่สิ่งที่ผู้ปกครองและครูควรทำคือ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อเด็ก
นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ ศูนย์วิจัยฯ กล่าวว่า ในปี 2557 กลุ่มเด็กอายุ 1 - 9 ปี มีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง แต่กลุ่มเด็กโตวัย 10 - 14 ปี มีอัตราการตายสูงขึ้นร้อยละ 10.4 สาเหตุหลักมาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ จึงได้จัดทำโครงการ “ก่อน 15 ปีไม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์” ขึ้นเมื่อปี 2557 โดยโรงเรียนบ้านชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการและมีผลการดำเนินงานที่เข้มแข็งเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดจำนวนผู้ขับขี่ก่อนวัยได้อย่างมาก
นายวิสูตร อุดมพฤกษชาติ ผอ.ร.ร.บ้านชำฆ้อ กล่าวว่า การดำเนินงานคือ ไม่ครบ 15 ปี งดขับขี่ ชีวีปลอดภัย โดยมีการจัดอบรมวินัยจราจร อันตรายและโทษของการขับขี่ก่อนอายุครบ 15 ปี และประสานผู้นำชุมชนช่วยดูแลนักเรียนที่อายุไม่ถึง 15 ปี ไม่ให้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ตลอดจนขอความร่วมมือผู้ปกครองให้มาส่งนักเรียนที่โรงเรียนด้วยตนเอง หรือถ้าโรงเรียนอยู่ไม่ไกลก็ให้นักเรียนขี่จักรยาน โดยขอความอนุเคราะห์รถจักรยานจากชุมชน ห้างร้าน และผู้มีจิตศรัทธา นำมาให้ไว้ใช้ในการเดินทาง ทั้งนี้ ก่อนดำเนินโครงการจากนักเรียน 360 คน พบว่า นักเรียนขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เอง 33 คน แบ่งเป็นอายุมากกว่า 15 ปี 15 คน และอายุน้อยกว่า 15 ปี 18 คน หลังดำเนินโครงการพบว่านักเรียนขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เองลดลงเหลือ 15 คน อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 8 คนและอายุน้อยกว่า 15 ปี เหลือเพียง 7 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่