กรมอนามัย เผย “ขนมไหว้พระจันทร์” ให้พลังงานสูงปรี๊ด 614 - 772 กิโลแคลอรี ตัดแบ่ง 6 ชิ้นเล็กยังให้พลังงาน 96 - 120 กิโลแคลอรี ชี้กินมากน้ำหนักเพิ่ม อ้วน แนะกินชิ้นเล็ก เลี่ยงขนมหวานอื่น ออกกำลังกายเผาผลาญ
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันปี ในช่วงเวลานี้มักมีการจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งภายในขนมจะมีไส้หวานหรือสอดไส้ด้วยธัญพืชที่มีรสหวาน แต่ปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ มีทั้งไส้หมูแฮม ไส้หมูแดง ไส้หมูหยอง และไส้ต่าง ๆ ที่มีรสเค็มรสเปรี้ยว ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีน้ำมัน น้ำเชื่อม เมื่อมาผสมกับไส้ต่างที่มีรสชาติหวาน ๆ เป็นขนมที่ให้พลังงานสูงมาก โดยขนมไหว้พระจันทร์ขนาดปกติ 1 ชิ้น น้ำหนัก 166 กรัม จะให้พลังงานถึง 614 - 772 กิโลแคลอรี ให้พลังงานสูงกว่าข้าวผัดหมู ผัดไทยกุ้งสด ข้าวผัดกะเพราไก่ ไข่ดาว หรือเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว 1 จาน แม้จะตัดแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ 6 ชิ้นเล็ก ๆ ก็ยังให้พลังงานถึง 96 - 120 กิโลแคลอรี เทียบดูแล้วไม่ต่างจากการกินไก่ทอด 1 ชิ้น
“ขนมไหว้พระจันทร์แม้จะตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ก็ยังให้พลังงานแตกต่างกันไปตามไส้ หากเป็นไส้โหงวยิ้งให้พลังงาน 120.3 กิโลแคลอรี ไส้เมล็ดบัวและไข่ให้พลังงาน 112.8 กิโลแคลอรี ไส้เมล็ดบัว 107.6 กิโลแคลอรี ไส้หมอนทอง ให้พลังงาน 106.7 กิโลแคลอรี ไส้ทุเรียนให้พลังงาน 102.3 กิโลแคลอรี ไส้พุทราให้พลังงาน 96.2 กิโลแคลอรี การเลือกกินจึงต้องคำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับด้วย เพราะเมื่อกินมาก ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป แป้งและน้ำตาลจากขนมจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันส่วนเกินสะสมตามร่างกาย หากขาดการออกกำลังกาย มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่ม อ้วนลงพุง และทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การกินขนมไหว้พระจันทร์ที่เหมาะสม ควรกินเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะเพียงแค่ชิ้นเล็กก็ยังให้พลังงานถึง 100 กิโลแคลอรี หากกินหมดทั้งชิ้น จะได้รับพลังงานสูงมาก ถึง 614 - 772 กิโลแคลอรี ดังนั้น ใน 1 วัน เมื่อกินขนมไหว้พระจันทร์ไปแล้วก็ควรเลี่ยงที่จะกินขนมหวานประเภทอื่น ๆ เน้นกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลาย ลดอาหารหวานมันเค็มและกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันปี ในช่วงเวลานี้มักมีการจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งภายในขนมจะมีไส้หวานหรือสอดไส้ด้วยธัญพืชที่มีรสหวาน แต่ปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ มีทั้งไส้หมูแฮม ไส้หมูแดง ไส้หมูหยอง และไส้ต่าง ๆ ที่มีรสเค็มรสเปรี้ยว ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีน้ำมัน น้ำเชื่อม เมื่อมาผสมกับไส้ต่างที่มีรสชาติหวาน ๆ เป็นขนมที่ให้พลังงานสูงมาก โดยขนมไหว้พระจันทร์ขนาดปกติ 1 ชิ้น น้ำหนัก 166 กรัม จะให้พลังงานถึง 614 - 772 กิโลแคลอรี ให้พลังงานสูงกว่าข้าวผัดหมู ผัดไทยกุ้งสด ข้าวผัดกะเพราไก่ ไข่ดาว หรือเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว 1 จาน แม้จะตัดแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ 6 ชิ้นเล็ก ๆ ก็ยังให้พลังงานถึง 96 - 120 กิโลแคลอรี เทียบดูแล้วไม่ต่างจากการกินไก่ทอด 1 ชิ้น
“ขนมไหว้พระจันทร์แม้จะตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ก็ยังให้พลังงานแตกต่างกันไปตามไส้ หากเป็นไส้โหงวยิ้งให้พลังงาน 120.3 กิโลแคลอรี ไส้เมล็ดบัวและไข่ให้พลังงาน 112.8 กิโลแคลอรี ไส้เมล็ดบัว 107.6 กิโลแคลอรี ไส้หมอนทอง ให้พลังงาน 106.7 กิโลแคลอรี ไส้ทุเรียนให้พลังงาน 102.3 กิโลแคลอรี ไส้พุทราให้พลังงาน 96.2 กิโลแคลอรี การเลือกกินจึงต้องคำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับด้วย เพราะเมื่อกินมาก ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน ก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป แป้งและน้ำตาลจากขนมจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันส่วนเกินสะสมตามร่างกาย หากขาดการออกกำลังกาย มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่ม อ้วนลงพุง และทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา" อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การกินขนมไหว้พระจันทร์ที่เหมาะสม ควรกินเป็นชิ้นเล็กๆ เพราะเพียงแค่ชิ้นเล็กก็ยังให้พลังงานถึง 100 กิโลแคลอรี หากกินหมดทั้งชิ้น จะได้รับพลังงานสูงมาก ถึง 614 - 772 กิโลแคลอรี ดังนั้น ใน 1 วัน เมื่อกินขนมไหว้พระจันทร์ไปแล้วก็ควรเลี่ยงที่จะกินขนมหวานประเภทอื่น ๆ เน้นกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และหลากหลาย ลดอาหารหวานมันเค็มและกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่