น.พ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ประชาชมนิยมรับประทานขนมไหว้พระจันทร์กันมาก แต่เนื่องจากพบว่า ในขนมดังกล่าวจะมีแป้ง น้ำตาล น้ำมัน น้ำเชื่อม เป็นส่วนประกอบจึงเป็นขนมที่ให้พลังงานสูงมาก โดยขนมไหว้พระจันทร์ ขนาดปกติ 1 ชิ้น น้ำหนัก 166 กรัม จะให้พลังงานถึง 614-772 กิโลแคลอรี สูงกว่าข้าวผัดหมู ผัดไทยกุ้งสด ข้าวผัดกะเพราไก่ ไข่ดาว หรือเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว 1 จาน และแม้จะตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ 6 ชิ้นเล็กๆ ยังให้พลังงานถึง 96-120 กิโลแคลอรี เทียบดูแล้วไม่ต่างจากการกินไก่ทอด 1 ชิ้น นอกจากนี้ ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ต่างๆ เมื่อตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วยังคงให้พลังงานสูงแตกต่างกัน เช่น ไส้โหงวยิ้งให้พลังงาน 120.3 กิโลแคลอรี ไส้เมล็ดบัว และไข่ให้พลังงาน 112.8 กิโลแคลอรี
น.พ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า ไส้เมล็ดบัว 107.6 กิโลแคลอรีไส้หมอนทอง ให้พลังงาน 106.7 กิโลแคลอรี ไส้ทุเรียนให้พลังงาน 102.3 กิโลแคลอรี ไส้พุทราให้พลังงาน 96.2 กิโลแคลอรี ดังนั้นหากจะรับประทานขอให้แบ่งรับประทานเป็นชิ้นเล็กๆ ในหนึ่งวัน และควรเลี่ยงขนมหวานประเภทอื่น เพราะการรับประทานมากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป แป้ง และน้ำตาลจากขนมจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันส่วนเกินสะสมตามร่างกาย หากขาดการออกกำลังกาย มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่ม อ้วนลงพุง และทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
น.พ.ปิยะสกล กล่าวต่อว่า ไส้เมล็ดบัว 107.6 กิโลแคลอรีไส้หมอนทอง ให้พลังงาน 106.7 กิโลแคลอรี ไส้ทุเรียนให้พลังงาน 102.3 กิโลแคลอรี ไส้พุทราให้พลังงาน 96.2 กิโลแคลอรี ดังนั้นหากจะรับประทานขอให้แบ่งรับประทานเป็นชิ้นเล็กๆ ในหนึ่งวัน และควรเลี่ยงขนมหวานประเภทอื่น เพราะการรับประทานมากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป แป้ง และน้ำตาลจากขนมจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันส่วนเกินสะสมตามร่างกาย หากขาดการออกกำลังกาย มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่ม อ้วนลงพุง และทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา