รพ.มะเร็งชลบุรี ดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ครบวงจร ใช้ทีมสหวิชาชีพวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกัน ฟื้นฟูแก้ไขความพิการ และรักษาต่อเนื่อง ช่วยแผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยพูดและกลืนได้ทันทีหลังผ่าตัด กำลังใจดี ฟื้นตัวเร็ว ออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น
วันนี้ (15 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ว่า รพ.มะเร็งชลบุรี ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่รักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคออย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและลดความพิการที่เกิดขึ้นหลังการรักษา ซึ่งการดำเนินงานเป็นการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก อายุรแพทย์เคมีบำบัด แพทย์รังสีรักษา ทันตแพทย์ นักโภชนาการ พยาบาลเฉพาะทาง และนักสังคมสงเคราะห์ วางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกัน ตั้งแต่รับผู้ป่วยมารักษาจนผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล รักษาโดยทั้งการผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด โภชนาการ ฟื้นฟูแก้ไขความพิการของอวัยวะที่เกิดขึ้น และดูแลด้านจิตใจอย่างครบวงจร ดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน ระยะเวลารอคอยการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ นอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 14 วัน ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ด้าน นพ.กิติศักดิ์ เทพสุวรรณ ผอ.รพ.มะเร็งชลบุรี กล่าวว่า ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ มีดังนี้ 1. ก่อนการรักษา แพทย์จะตรวจวินิจฉัยระยะของโรค ทันตแพทย์เตรียมช่องปากและสอนวิธีดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อลดผลแทรกซ้อนหลังการรักษา โภชนากรดูแลป้องกันภาวะขาดสารอาหาร และทีมพยาบาลเฉพาะทางดูแลด้านจิตใจ 2. การผ่าตัด จะทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก และทันตแพทย์ เนื่องจากในการผ่าตัดเซลล์มะเร็งออก อาจมีการตัดกระดูกกรามบางส่วนออก รวมทั้งเนื้ออวัยวะที่ติดกับเซลล์มะเร็งเกิดรูทะลุที่เพดานปาก จมูก เหงือก โดยทันตแพทย์จะถอนฟันผู้ป่วยออกขณะผ่าตัด ช่วยลดความเจ็บปวดจากการถอนฟันหลายครั้ง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วย รายที่ต้องใส่อุปกรณ์พิเศษทางทันตกรรมเพื่อปิดรูทะลุระหว่างรูจมูก ปาก หรือเพดานปากทันที จะทำหลังผ่าตัด ช่วยลดปัญหาแผลอักเสบติดเชื้อ แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยพูดได้ กลืนได้ หลังผ่าตัด ทำให้กำลังใจดี ได้รับการรักษาต่อโดยการฉายแสงเร็วขึ้น และออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น
นพ.กิติศักดิ์ กล่าวว่า 3. ในระยะฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีปัญหาความพิการที่ใบหน้า จะได้รับการผ่าตัดตกแต่งแก้ไข ในรายที่ผ่าตัดกล่องเสียงออก จะได้รับการดูแลที่คลินิกไร้กล่องเสียง ใส่กล่องเสียงเทียม และฝึกพูด ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาในช่องปาก อาทิ ใส่เพดานเทียม และฟันหน้า เพื่อความสวยงาม ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารระหว่างรอการฉายรังสีรักษาต่อไปการเข้าไปมีบทบาทของทันตแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพได้ดีและเร็ว สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น จึงลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบผู้ป่วยใน ช่วยให้ผู้ป่วยที่รอคิวได้รับการรักษาเร็วขึ้น มะเร็งไม่ลุกลาม การรักษาไม่ซับซ้อน ผลแทรกซ้อนน้อย การฟื้นฟูทำได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นผลดีทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
“สำหรับโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ จะอยู่ในบริเวณช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และบริเวณโพรงอากาศรอบจมูก แต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 54,000 คน เสียชีวิต 271,000 คน สำหรับประเทศไทย พบเป็น 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 3 - 5 ของโรคมะเร็งทุกอวัยวะทั่วร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงมาจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การกินอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนเกินไป เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเนื้ออ่อนในปาก ซึ่งหากเกิดการระคายเคืองเรื้อรังจะทำให้เนื้อเยื่อ โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ และมักมีโรคที่เกิดจากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ร่วมด้วย การรักษาจึงจำเป็นต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพ” นพ.กิติศักดิ์ กล่าว
สำหรับโรงพยาบาลมะเร็ง ชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็ง ดูแลประชาชน 6 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ในปี 2556 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มารับบริการ 2,005 คน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ มะเร็งเต้านม 487 คน มะเร็งปากมดลูก 257 คน มะเร็งปอด 213 คน มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 147 คน และมะเร็งช่องปาก 138 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ ว่า รพ.มะเร็งชลบุรี ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่รักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคออย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและลดความพิการที่เกิดขึ้นหลังการรักษา ซึ่งการดำเนินงานเป็นการทำงานแบบทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก อายุรแพทย์เคมีบำบัด แพทย์รังสีรักษา ทันตแพทย์ นักโภชนาการ พยาบาลเฉพาะทาง และนักสังคมสงเคราะห์ วางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยร่วมกัน ตั้งแต่รับผู้ป่วยมารักษาจนผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล รักษาโดยทั้งการผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด โภชนาการ ฟื้นฟูแก้ไขความพิการของอวัยวะที่เกิดขึ้น และดูแลด้านจิตใจอย่างครบวงจร ดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน ระยะเวลารอคอยการรักษาประมาณ 1 สัปดาห์ นอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 14 วัน ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
ด้าน นพ.กิติศักดิ์ เทพสุวรรณ ผอ.รพ.มะเร็งชลบุรี กล่าวว่า ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ มีดังนี้ 1. ก่อนการรักษา แพทย์จะตรวจวินิจฉัยระยะของโรค ทันตแพทย์เตรียมช่องปากและสอนวิธีดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อลดผลแทรกซ้อนหลังการรักษา โภชนากรดูแลป้องกันภาวะขาดสารอาหาร และทีมพยาบาลเฉพาะทางดูแลด้านจิตใจ 2. การผ่าตัด จะทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก และทันตแพทย์ เนื่องจากในการผ่าตัดเซลล์มะเร็งออก อาจมีการตัดกระดูกกรามบางส่วนออก รวมทั้งเนื้ออวัยวะที่ติดกับเซลล์มะเร็งเกิดรูทะลุที่เพดานปาก จมูก เหงือก โดยทันตแพทย์จะถอนฟันผู้ป่วยออกขณะผ่าตัด ช่วยลดความเจ็บปวดจากการถอนฟันหลายครั้ง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วย รายที่ต้องใส่อุปกรณ์พิเศษทางทันตกรรมเพื่อปิดรูทะลุระหว่างรูจมูก ปาก หรือเพดานปากทันที จะทำหลังผ่าตัด ช่วยลดปัญหาแผลอักเสบติดเชื้อ แผลหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยพูดได้ กลืนได้ หลังผ่าตัด ทำให้กำลังใจดี ได้รับการรักษาต่อโดยการฉายแสงเร็วขึ้น และออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น
นพ.กิติศักดิ์ กล่าวว่า 3. ในระยะฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยมีปัญหาความพิการที่ใบหน้า จะได้รับการผ่าตัดตกแต่งแก้ไข ในรายที่ผ่าตัดกล่องเสียงออก จะได้รับการดูแลที่คลินิกไร้กล่องเสียง ใส่กล่องเสียงเทียม และฝึกพูด ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาในช่องปาก อาทิ ใส่เพดานเทียม และฟันหน้า เพื่อความสวยงาม ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารระหว่างรอการฉายรังสีรักษาต่อไปการเข้าไปมีบทบาทของทันตแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพได้ดีและเร็ว สามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น จึงลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบผู้ป่วยใน ช่วยให้ผู้ป่วยที่รอคิวได้รับการรักษาเร็วขึ้น มะเร็งไม่ลุกลาม การรักษาไม่ซับซ้อน ผลแทรกซ้อนน้อย การฟื้นฟูทำได้ง่ายและรวดเร็ว เป็นผลดีทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
“สำหรับโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ จะอยู่ในบริเวณช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง และบริเวณโพรงอากาศรอบจมูก แต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 54,000 คน เสียชีวิต 271,000 คน สำหรับประเทศไทย พบเป็น 1 ใน 10 ของมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 3 - 5 ของโรคมะเร็งทุกอวัยวะทั่วร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงมาจากการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การกินอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนเกินไป เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเนื้ออ่อนในปาก ซึ่งหากเกิดการระคายเคืองเรื้อรังจะทำให้เนื้อเยื่อ โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุ และมักมีโรคที่เกิดจากการดื่มสุราและสูบบุหรี่ร่วมด้วย การรักษาจึงจำเป็นต้องอาศัยทีมสหวิชาชีพ” นพ.กิติศักดิ์ กล่าว
สำหรับโรงพยาบาลมะเร็ง ชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็ง ดูแลประชาชน 6 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง ตราด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ในปี 2556 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มารับบริการ 2,005 คน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ มะเร็งเต้านม 487 คน มะเร็งปากมดลูก 257 คน มะเร็งปอด 213 คน มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 147 คน และมะเร็งช่องปาก 138 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่