กรมแพทย์แผนไทยเร่งตั้ง “ศูนย์จัดการสมุนไพร” ประสานทุกหน่วยงาน ดูแลตั้งแต่หาพื้นที่ปลูก วิธีปลูกแบบปลอดสาร หวังได้สมุนไพรชั้นเลิศ ตัวยาครบถ้วน พร้อมเดินหน้าขยายพื้นที่เพาะปลูก 3,000 ไร่ต่อปี แก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ช่วยเศรษฐกิจชาติ ลดคนแห่ปลูกสมุนไพรตัวท็อปจนล้นตลาด
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ กำลังจัดตั้งหน่วยงานใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาสมุนไพรในประเทศ โดยตั้งเป็นศูนย์การจัดการโครงการพิเศษเพื่อประสานกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การหาแหล่งปลูกสมุนไพรที่เหมาะสม ให้องค์ความรู้การปลูกที่ถูกต้อง เช่น วิธีการ พันธุ์ที่ใช้ปลูก ระยะเวลาต่างๆ กระบวนการเก็บรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้สมุนไพรที่อุดมด้วยสารสำคัญที่ให้สรรพคุณทางยาอย่างครบถ้วน มีคุณภาพและตรงตามความต้องการ แก้ปัญหาสมุนไพรด้อยคุณภาพจนไม่อาจนำมาผลิตเป็นยา จนต้องนำเข้าพืชสมุนไพรจากต่างประเทศ
นพ.ธวัชชัยกล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสมุนไพร ขณะนี้กรมฯ ได้เดินหน้าขยายพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ปลอดสารพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าจะปลูกให้ได้ 3,000 ไร่ต่อปี เบื้องต้นจะใช้พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และป่าแถบพื้นที่เขื่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืชสมุนไพรที่โตในป่าใหญ่ นอกจากนี้อาจจะมีการขอใช้พื้นที่ทหารช่วยขยายพันธุ์สมุนไพรหายาก ซึ่งคงต้องมีการหารือกันก่อนในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ
“ถ้าประเทศไทยหันมาปลูกพืชสมุนไพรมากขึ้นจะสร้างเศรษฐกิจของชาติอย่างมหาศาล เพราะสมุนไพรส่วนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาทขึ้นไป ประกอบกับปัจจุบันสมุนไพรยังมีความต้องการอย่างมากทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสในการผลิตของไทย ต้องจัดการเรื่องการปลูก แต่ถ้าปล่อยให้มีการปลูกตามใจชอบคนจะเลือกปลูกสมุนไพรที่ชอบ แล้วออกมาล้นตลาด ส่วนตัวที่ขาดก็ขาดอยู่อย่างนั้น” นพ.ธวัชชัยกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ กำลังจัดตั้งหน่วยงานใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาสมุนไพรในประเทศ โดยตั้งเป็นศูนย์การจัดการโครงการพิเศษเพื่อประสานกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่การหาแหล่งปลูกสมุนไพรที่เหมาะสม ให้องค์ความรู้การปลูกที่ถูกต้อง เช่น วิธีการ พันธุ์ที่ใช้ปลูก ระยะเวลาต่างๆ กระบวนการเก็บรักษา เป็นต้น เพื่อให้ได้สมุนไพรที่อุดมด้วยสารสำคัญที่ให้สรรพคุณทางยาอย่างครบถ้วน มีคุณภาพและตรงตามความต้องการ แก้ปัญหาสมุนไพรด้อยคุณภาพจนไม่อาจนำมาผลิตเป็นยา จนต้องนำเข้าพืชสมุนไพรจากต่างประเทศ
นพ.ธวัชชัยกล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสมุนไพร ขณะนี้กรมฯ ได้เดินหน้าขยายพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรอินทรีย์ ปลอดสารพิเศษในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าจะปลูกให้ได้ 3,000 ไร่ต่อปี เบื้องต้นจะใช้พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และป่าแถบพื้นที่เขื่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การปลูกพืชสมุนไพรที่โตในป่าใหญ่ นอกจากนี้อาจจะมีการขอใช้พื้นที่ทหารช่วยขยายพันธุ์สมุนไพรหายาก ซึ่งคงต้องมีการหารือกันก่อนในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ
“ถ้าประเทศไทยหันมาปลูกพืชสมุนไพรมากขึ้นจะสร้างเศรษฐกิจของชาติอย่างมหาศาล เพราะสมุนไพรส่วนใหญ่มีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาทขึ้นไป ประกอบกับปัจจุบันสมุนไพรยังมีความต้องการอย่างมากทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นโอกาสในการผลิตของไทย ต้องจัดการเรื่องการปลูก แต่ถ้าปล่อยให้มีการปลูกตามใจชอบคนจะเลือกปลูกสมุนไพรที่ชอบ แล้วออกมาล้นตลาด ส่วนตัวที่ขาดก็ขาดอยู่อย่างนั้น” นพ.ธวัชชัยกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่