เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ที่ดิฉันติดตามแวดวงทีวีดิจิตอลมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว วันนี้เห็นทีจะต้องพูดเสียหน่อย
ที่จริงสำหรับคนเป็นพ่อแม่ น่าจะดีใจที่มีช่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว แต่การณ์กลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะเอาเข้าจริงจากการติดตามช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็กทั้ง 3 ช่องที่ประมูลได้ เป็นที่น่าผิดหวังยิ่งนัก
แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประมูลช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ดิฉันจำได้ดี เพราะได้ไปเป็นผู้ดำเนินรายการให้กับทางกสทช.ในการเชิญผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้องกับทีวีช่องเด็กมาให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่สนใจต้องการประมูล ผู้ผลิต นักวิชาการ เอ็นจีโอ ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจเรื่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
ในวันนั้น ดิฉันยังจำได้ดี เพราะส่วนใหญ่เมื่อทราบข้อมูลและเงื่อนไขการประมูลก็พยายามให้ข้อมูลแก่ กสทช. ว่า ถ้ามีการประมูลช่องเด็กในราคาสูง เราจะไม่ได้รายการเด็กที่มีคุณภาพ เพราะช่องที่ให้ความรู้แก่เด็กและครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องลงทุน ต้องมีเนื้อหาที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้ประกอบการที่ประมูลได้ก็ต้องมีหลักคิดที่ต้องแสวงหาผลกำไรสูงสุด เพราะเขาก็ใช้เงินประมูลมา
บรรดาผู้ที่ทำงานทางด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่พอจะมีเงินทุนอยู่บ้างต่างก็ถอนตัว ไม่เข้าร่วมประมูล เพราะมองเห็นอนาคตว่าจะต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะลำพังแค่เรื่องการผลิตรายการที่มีเนื้อหาคุณภาพและได้สตางค์ด้วยเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ยังต้องประมูลเพื่อแข่งขันอีก 3 ช่องไม่ใช่เรื่องง่าย
และก็เป็นจริงสุดท้าย 3 ราย ที่ประมูลช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ก็มีแต่รายใหญ่ที่ได้ไป คือ ช่อง 3 ในชื่อ 3 Family, ช่อง 9 ในชื่อ MCOT Family และค่ายทีวีพูลที่ใช้ชื่อช่องว่า LOCA ซึ่งเมื่อเห็นรายชื่อค่ายที่ประมูลได้ ก็พอมองได้ว่าทิศทางของรายการเด็ก เยาวชนและครอบครัวจะเป็นอย่างไร!
เวลาผ่านไปเกือบ 2 ปี เนื้อหาของช่องทีวีดิจิทัลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยส่วนตัวถือว่าสอบตกทั้ง 3 ช่อง เพราะเนื้อหารายการส่วนใหญ่ของช่อง 3 Family และช่อง MCOT Family นำเสนอรายการที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มรายการประเภทรายการทั่วไป (ท.) มากที่สุด ขณะที่ช่อง LOCA พบว่ามีการเผยแพร่รายการโดยไม่จัดเรทประเภทของเนื้อหามากที่สุด
ไม่ใช่แค่รายการที่เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวมีน้อยเท่านั้น ยังไม่นับรวมเรื่องคุณภาพของรายการอีกต่างหาก ล่าสุด ช่อง LOCA ก็มีปัญหาที่ผู้บริหารถอดใจและไม่ยอมจ่ายเงินต่อในปีที่สอง ทำให้ต้องมีการเจรจากับ กสทช. และพยายามหาทางออก นั่นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ขอไม่คุยรายละเอียดในที่นี้ ทำให้ช่อง LOCA มีแต่การนำรายการทั่วไปมาออกอากาศ และ Rerun รายการไปเรื่อย ๆ
สุดท้ายก็น่าจะเรียกว่าเหลือช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวเพียง 2 ช่อง และเป็น 2 ช่องที่ดิฉันเข้าไปติดตามแบบพยายามเอาใจช่วย เพราะอยากให้มีรายการสำหรับเด็กอย่างจริงจังและใส่ใจคุณภาพจริง ๆ เรียกว่าคู่แข่งเหลือ 2 ช่อง น่าจะทำให้อะไรดีขึ้น แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิม
ทั้ง 2 ช่องมีรายการที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย (ป 3 +) เพียงไม่กี่รายการ และรายการเด็กที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 6 - 12 ปี (ด 6+) ก็น้อยมาก แต่พบว่ามีรายการประเภท ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำทั้ง (น 13 +) และ (น 18 +) ปะปนอยู่ด้วยจำนวนไม่น้อย
วันดีคืนดีก็ขายของประเภทขายตรงผ่านรายการซะงั้น
ประเด็นก็คือ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการควบคุมดูแลและตรวจสอบจาก กสทช. เลยหรือ ทำไมปล่อยให้นำเสนอเนื้อหาไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประมูล
จริงอยู่ว่าธุรกิจโดยรวมของทีวีดิจิตอลขณะนี้สาหัสสากรรจ์ การแข่งขันสูงมาก ลำพังแค่ผู้ประกอบการจะประคองธุรกิจให้รอดก็หนักหนาอยู่ เรื่องคุณภาพจึงยังไม่พูดถึง แต่เป้าหมายที่ กสทช. บอกไว้ตั้งแต่แรกว่าการแข่งขันในครั้งนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น มีรายการทีวีดี ๆ มากขึ้น มีช่องรายการทีวีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว
ประโยคเท่ ๆ ที่ กสทช. เคยบอกว่า ช่องเด็กเป็นช่องที่ กสทช. สนับสนุน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก และเข้าถึงเด็กทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ช่องเด็กควรมีเนื้อหาที่เป็นทางเลือกสำหรับเด็กและครอบครัวรับชมอย่างปลอดภัย และมีการแข่งขันเสรีเป็นธรรม
แต่จนถึงขณะนี้บอกได้เลยว่า ในเรื่องของเนื้อหาที่ดีหรือมีคุณภาพ ผู้บริโภคไม่ได้มีทางเลือกมากขึ้นเลย มีแต่สภาพปัญหาเดิม ๆ เนื้อหารายการที่ไม่เหมาะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวเลือกมากขึ้นแต่คุณภาพไม่ได้ตามมาด้วย
เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ไม่รู้ว่าทีวีในแต่ละช่องแตกต่างกันอย่างไร มีช่องทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้น 24 ช่อง แต่แทบไม่เห็นความแตกต่างของรูปแบบและรายการเลย โดยเฉพาะช่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
นี่คือความล้มเหลวของ กสทช. ที่เป็นรูปธรรมที่สุด !
ไม่เรียกร้องความรับผิดชอบและการแก้ไขใด ๆ ล่ะค่ะ เพราะรู้ว่าเรียกร้องไปก็เท่านั้น
ถือเป็นกรรมอีกอย่างหนึ่งของเด็กไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ที่จริงสำหรับคนเป็นพ่อแม่ น่าจะดีใจที่มีช่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว แต่การณ์กลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะเอาเข้าจริงจากการติดตามช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็กทั้ง 3 ช่องที่ประมูลได้ เป็นที่น่าผิดหวังยิ่งนัก
แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประมูลช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ดิฉันจำได้ดี เพราะได้ไปเป็นผู้ดำเนินรายการให้กับทางกสทช.ในการเชิญผู้ที่สนใจและเกี่ยวข้องกับทีวีช่องเด็กมาให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่สนใจต้องการประมูล ผู้ผลิต นักวิชาการ เอ็นจีโอ ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจเรื่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
ในวันนั้น ดิฉันยังจำได้ดี เพราะส่วนใหญ่เมื่อทราบข้อมูลและเงื่อนไขการประมูลก็พยายามให้ข้อมูลแก่ กสทช. ว่า ถ้ามีการประมูลช่องเด็กในราคาสูง เราจะไม่ได้รายการเด็กที่มีคุณภาพ เพราะช่องที่ให้ความรู้แก่เด็กและครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องลงทุน ต้องมีเนื้อหาที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้ประกอบการที่ประมูลได้ก็ต้องมีหลักคิดที่ต้องแสวงหาผลกำไรสูงสุด เพราะเขาก็ใช้เงินประมูลมา
บรรดาผู้ที่ทำงานทางด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่พอจะมีเงินทุนอยู่บ้างต่างก็ถอนตัว ไม่เข้าร่วมประมูล เพราะมองเห็นอนาคตว่าจะต้องมีปัญหาแน่นอน เพราะลำพังแค่เรื่องการผลิตรายการที่มีเนื้อหาคุณภาพและได้สตางค์ด้วยเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ยังต้องประมูลเพื่อแข่งขันอีก 3 ช่องไม่ใช่เรื่องง่าย
และก็เป็นจริงสุดท้าย 3 ราย ที่ประมูลช่องทีวีดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ก็มีแต่รายใหญ่ที่ได้ไป คือ ช่อง 3 ในชื่อ 3 Family, ช่อง 9 ในชื่อ MCOT Family และค่ายทีวีพูลที่ใช้ชื่อช่องว่า LOCA ซึ่งเมื่อเห็นรายชื่อค่ายที่ประมูลได้ ก็พอมองได้ว่าทิศทางของรายการเด็ก เยาวชนและครอบครัวจะเป็นอย่างไร!
เวลาผ่านไปเกือบ 2 ปี เนื้อหาของช่องทีวีดิจิทัลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยส่วนตัวถือว่าสอบตกทั้ง 3 ช่อง เพราะเนื้อหารายการส่วนใหญ่ของช่อง 3 Family และช่อง MCOT Family นำเสนอรายการที่มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มรายการประเภทรายการทั่วไป (ท.) มากที่สุด ขณะที่ช่อง LOCA พบว่ามีการเผยแพร่รายการโดยไม่จัดเรทประเภทของเนื้อหามากที่สุด
ไม่ใช่แค่รายการที่เหมาะสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวมีน้อยเท่านั้น ยังไม่นับรวมเรื่องคุณภาพของรายการอีกต่างหาก ล่าสุด ช่อง LOCA ก็มีปัญหาที่ผู้บริหารถอดใจและไม่ยอมจ่ายเงินต่อในปีที่สอง ทำให้ต้องมีการเจรจากับ กสทช. และพยายามหาทางออก นั่นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ขอไม่คุยรายละเอียดในที่นี้ ทำให้ช่อง LOCA มีแต่การนำรายการทั่วไปมาออกอากาศ และ Rerun รายการไปเรื่อย ๆ
สุดท้ายก็น่าจะเรียกว่าเหลือช่องรายการสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวเพียง 2 ช่อง และเป็น 2 ช่องที่ดิฉันเข้าไปติดตามแบบพยายามเอาใจช่วย เพราะอยากให้มีรายการสำหรับเด็กอย่างจริงจังและใส่ใจคุณภาพจริง ๆ เรียกว่าคู่แข่งเหลือ 2 ช่อง น่าจะทำให้อะไรดีขึ้น แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิม
ทั้ง 2 ช่องมีรายการที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย (ป 3 +) เพียงไม่กี่รายการ และรายการเด็กที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 6 - 12 ปี (ด 6+) ก็น้อยมาก แต่พบว่ามีรายการประเภท ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำทั้ง (น 13 +) และ (น 18 +) ปะปนอยู่ด้วยจำนวนไม่น้อย
วันดีคืนดีก็ขายของประเภทขายตรงผ่านรายการซะงั้น
ประเด็นก็คือ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการควบคุมดูแลและตรวจสอบจาก กสทช. เลยหรือ ทำไมปล่อยให้นำเสนอเนื้อหาไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประมูล
จริงอยู่ว่าธุรกิจโดยรวมของทีวีดิจิตอลขณะนี้สาหัสสากรรจ์ การแข่งขันสูงมาก ลำพังแค่ผู้ประกอบการจะประคองธุรกิจให้รอดก็หนักหนาอยู่ เรื่องคุณภาพจึงยังไม่พูดถึง แต่เป้าหมายที่ กสทช. บอกไว้ตั้งแต่แรกว่าการแข่งขันในครั้งนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น มีรายการทีวีดี ๆ มากขึ้น มีช่องรายการทีวีสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว
ประโยคเท่ ๆ ที่ กสทช. เคยบอกว่า ช่องเด็กเป็นช่องที่ กสทช. สนับสนุน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก และเข้าถึงเด็กทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ช่องเด็กควรมีเนื้อหาที่เป็นทางเลือกสำหรับเด็กและครอบครัวรับชมอย่างปลอดภัย และมีการแข่งขันเสรีเป็นธรรม
แต่จนถึงขณะนี้บอกได้เลยว่า ในเรื่องของเนื้อหาที่ดีหรือมีคุณภาพ ผู้บริโภคไม่ได้มีทางเลือกมากขึ้นเลย มีแต่สภาพปัญหาเดิม ๆ เนื้อหารายการที่ไม่เหมาะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวเลือกมากขึ้นแต่คุณภาพไม่ได้ตามมาด้วย
เป็นเรื่องที่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ไม่รู้ว่าทีวีในแต่ละช่องแตกต่างกันอย่างไร มีช่องทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้น 24 ช่อง แต่แทบไม่เห็นความแตกต่างของรูปแบบและรายการเลย โดยเฉพาะช่องทีวีสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
นี่คือความล้มเหลวของ กสทช. ที่เป็นรูปธรรมที่สุด !
ไม่เรียกร้องความรับผิดชอบและการแก้ไขใด ๆ ล่ะค่ะ เพราะรู้ว่าเรียกร้องไปก็เท่านั้น
ถือเป็นกรรมอีกอย่างหนึ่งของเด็กไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่