เมื่อไม่นานนี้ ดิฉันได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรให้กับพนักงานของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด ซึ่งเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก ในหัวข้อ “เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ดั่งใจ” ที่จังหวัดลำพูน
จริง ๆ ก็อดชื่นชมบริษัท ซีพีออลล์ ไม่ได้ ที่เห็นความสำคัญของพนักงาน และให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว ให้ความสำคัญกับลูกของพนักงาน ซึ่งต้องยอมรับว่ายังหาได้ยากมากในสังคมปัจจุบัน ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้ใจพนักงานเป็นอย่างมาก ผลที่ได้รับจะทำให้พนักงานรักองค์กร และจะทำงานด้วยความทุ่มเท สุดท้ายองค์กรก็จะได้รับประโยชน์และประสิทธิภาพจากงาน
ยิ่งล้วงลึกลงไปในรายละเอียด ทำให้ทราบจากคุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ว่า ซีพีออลล์ทำเรื่องนี้โดยการฝึกอบรมพนักงานมาอย่างยาวนาน โดยเน้นส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่เล็ก และก็เห็นผลจากการที่พนักงานจะใส่ใจและเห็นความสำคัญกับลูกในช่วงปฐมวัยอย่างมาก
ส่วนเนื้อหาในการพูดคุยวันนั้น ที่จั่วหัวว่า เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ดั่งใจนั้น ขอนำสรุปบางส่วนมาฝากเพื่อนพ่อแม่ ได้ 3 คาถาเลี้ยงลูกให้ได้ดั่งใจค่ะ
หนึ่ง อย่าคาดหวัง
ข้อแรกสำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมักคาดหวังลูก จะมากหรือน้อย หรือจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทั้งที่ความจริงแล้วถ้าจำกันได้เมื่อครั้งที่คนเป็นพ่อแม่ได้เห็นหน้าลูกหลังแรกคลอด ต่างก็คิดคาดหวังในขณะนั้นว่าขอให้ลูกอวัยวะครบ 32 ก็เพียงพอแล้ว แต่พอหลังจากนั้น ความคาดหวังของพ่อแม่ก็จะเพิ่มตามวัยของลูก และมากขึ้นเรื่อย ๆ
ช่วงลูกเล็กอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี อยากให้นั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่ง พูด ฯลฯ ได้เร็ว
เวลาเข้าโรงเรียนก็อยากให้อ่านออกเขียนได้เร็ว อยากให้อยู่โรงเรียนชื่อดัง อยากให้เรียนเก่ง อยากให้พูดได้หลายภาษา อยากให้เชื่อฟัง อยากให้หน้าตาดี อยากให้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง พอทำงานก็อยากให้ทำงานดี ๆ ได้เงินเดือนเยอะ ๆ ฯลฯ
เรียกว่าสารพัดจะคาดหวังกับลูกเพิ่มมากขึ้นตามวัย
และเมื่อใส่ความคาดหวังลงไปมากมาย ก็พยายามจะให้ลูกเป็นไปตามที่พ่อแม่คาดหวัง โดยที่บางครั้งไม่ได้ดูว่าเหมาะสมกับลูกหรือไม่ สุดท้ายความกดดันก็จะตกอยู่ที่ลูก และเมื่อลูกทำไม่ได้ตามที่พ่อแม่คาดหวัง ก็กลายเป็นปัญหา และกลายเป็นทุกข์ของทั้งครอบครัว
พ่อแม่ควรเปลี่ยนความคาดหวังเป็นส่งเสริมลูกอย่างเหมาะสม ให้เหมาะกับศักยภาพของตัวเขา
สอง อย่าขี้บ่น
พ่อแม่ทุกคนไม่อยากเป็นคนขี้บ่น แต่เชื่อไหมส่วนใหญ่ลูกมักบอกว่าพ่อแม่ขี้บ่น
คำว่าขี้บ่นมันชัดเจนอยู่แล้วเป็นคำพูดลบ ซึ่งหมายรวมไปถึงการคอยห้าม คอยบ่น หรือจู้จี้ไปซะทุกเรื่อง เวลาลูกจะทำอะไรก็จะห้ามหรืออย่าไปหมด ห้ามทำ อย่าพูด ฯลฯ เด็กก็จะกลายเป็นคนขี้กังวล ขี้รำคาญ ไม่กล้าคิดหรือทำสิ่งใดเพราะกลัวผิดกลัวพลาด และคำพูดลบทั้งหลายก็เท่ากับไปจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของลูกด้วย
พ่อแม่ควรเปลี่ยนจากการขี้บ่น หรือใช้คำพูดลบ มาเป็นใช้คำพูดบวกและส่งเสริมให้ลูกได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำและเหมาะสมกับเขา
นอกจากนี้ การเปลี่ยนจากการพร่ำบ่น มาเป็นการฝึกวินัยและความรับผิดชอบให้กับลูกก็ช่วยได้ เพราะเมื่อเด็กมีวินัยและความรับผิดชอบแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ต้องมาคอยบ่นให้หงุดหงิดใจด้วย
สาม อย่าขี้โม้
พ่อแม่ทุกคนล้วนอยากให้ลูกเป็นเด็กเก่ง เด็กดี เด็กฉลาด ฯลฯ และด้วยความอยากสิ่งเหล่านี้ ทำให้พ่อแม่ที่ส่วนใหญ่มักเอนเอียงเข้าข้างลูกอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งมักนำไปสู่การโอ้อวด การอวดลูก หรือชื่นชมลูกเกินความสามารถหรือศักยภาพของลูก ซึ่งอาจส่งผลกลับมาที่ตัวลูก ทำให้ลูกถ้าไม่หลงตัวเอง ก็จะมองว่าตัวเองเก่งหรือโดดเด่นกว่าคนอื่น หรือไม่ก็เป็นการสร้างความกดดันให้กับลูกได้
เชื่อเถอะค่ะ การเลี้ยงลูกเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่เราควรเลี้ยงให้เขาเป็นธรรมชาติ และเติบโตขึ้นมาอย่างสมวัยตามศักยภาพของเขา โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครองคอยเป็นโค้ชในการส่งเสริมและแนะนำให้เขาได้ค้นหาตัวเอง
จะว่าไปแล้วตัวเราเองบางครั้งเราก็ไม่ได้ดั่งใจตัวแองเหมือนกัน แล้วทำไมเราถึงจะไปคาดหวังให้ลูกได้ดั่งใจเราด้วยเล่า!
การเลี้ยงลูกให้ได้ดั่งใจ ต้องเริ่มจากการปรับที่ใจพ่อแม่ก่อนค่ะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จริง ๆ ก็อดชื่นชมบริษัท ซีพีออลล์ ไม่ได้ ที่เห็นความสำคัญของพนักงาน และให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว ให้ความสำคัญกับลูกของพนักงาน ซึ่งต้องยอมรับว่ายังหาได้ยากมากในสังคมปัจจุบัน ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้ใจพนักงานเป็นอย่างมาก ผลที่ได้รับจะทำให้พนักงานรักองค์กร และจะทำงานด้วยความทุ่มเท สุดท้ายองค์กรก็จะได้รับประโยชน์และประสิทธิภาพจากงาน
ยิ่งล้วงลึกลงไปในรายละเอียด ทำให้ทราบจากคุณเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ว่า ซีพีออลล์ทำเรื่องนี้โดยการฝึกอบรมพนักงานมาอย่างยาวนาน โดยเน้นส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่เล็ก และก็เห็นผลจากการที่พนักงานจะใส่ใจและเห็นความสำคัญกับลูกในช่วงปฐมวัยอย่างมาก
ส่วนเนื้อหาในการพูดคุยวันนั้น ที่จั่วหัวว่า เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ดั่งใจนั้น ขอนำสรุปบางส่วนมาฝากเพื่อนพ่อแม่ ได้ 3 คาถาเลี้ยงลูกให้ได้ดั่งใจค่ะ
หนึ่ง อย่าคาดหวัง
ข้อแรกสำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมักคาดหวังลูก จะมากหรือน้อย หรือจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ทั้งที่ความจริงแล้วถ้าจำกันได้เมื่อครั้งที่คนเป็นพ่อแม่ได้เห็นหน้าลูกหลังแรกคลอด ต่างก็คิดคาดหวังในขณะนั้นว่าขอให้ลูกอวัยวะครบ 32 ก็เพียงพอแล้ว แต่พอหลังจากนั้น ความคาดหวังของพ่อแม่ก็จะเพิ่มตามวัยของลูก และมากขึ้นเรื่อย ๆ
ช่วงลูกเล็กอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี อยากให้นั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่ง พูด ฯลฯ ได้เร็ว
เวลาเข้าโรงเรียนก็อยากให้อ่านออกเขียนได้เร็ว อยากให้อยู่โรงเรียนชื่อดัง อยากให้เรียนเก่ง อยากให้พูดได้หลายภาษา อยากให้เชื่อฟัง อยากให้หน้าตาดี อยากให้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง พอทำงานก็อยากให้ทำงานดี ๆ ได้เงินเดือนเยอะ ๆ ฯลฯ
เรียกว่าสารพัดจะคาดหวังกับลูกเพิ่มมากขึ้นตามวัย
และเมื่อใส่ความคาดหวังลงไปมากมาย ก็พยายามจะให้ลูกเป็นไปตามที่พ่อแม่คาดหวัง โดยที่บางครั้งไม่ได้ดูว่าเหมาะสมกับลูกหรือไม่ สุดท้ายความกดดันก็จะตกอยู่ที่ลูก และเมื่อลูกทำไม่ได้ตามที่พ่อแม่คาดหวัง ก็กลายเป็นปัญหา และกลายเป็นทุกข์ของทั้งครอบครัว
พ่อแม่ควรเปลี่ยนความคาดหวังเป็นส่งเสริมลูกอย่างเหมาะสม ให้เหมาะกับศักยภาพของตัวเขา
สอง อย่าขี้บ่น
พ่อแม่ทุกคนไม่อยากเป็นคนขี้บ่น แต่เชื่อไหมส่วนใหญ่ลูกมักบอกว่าพ่อแม่ขี้บ่น
คำว่าขี้บ่นมันชัดเจนอยู่แล้วเป็นคำพูดลบ ซึ่งหมายรวมไปถึงการคอยห้าม คอยบ่น หรือจู้จี้ไปซะทุกเรื่อง เวลาลูกจะทำอะไรก็จะห้ามหรืออย่าไปหมด ห้ามทำ อย่าพูด ฯลฯ เด็กก็จะกลายเป็นคนขี้กังวล ขี้รำคาญ ไม่กล้าคิดหรือทำสิ่งใดเพราะกลัวผิดกลัวพลาด และคำพูดลบทั้งหลายก็เท่ากับไปจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของลูกด้วย
พ่อแม่ควรเปลี่ยนจากการขี้บ่น หรือใช้คำพูดลบ มาเป็นใช้คำพูดบวกและส่งเสริมให้ลูกได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำและเหมาะสมกับเขา
นอกจากนี้ การเปลี่ยนจากการพร่ำบ่น มาเป็นการฝึกวินัยและความรับผิดชอบให้กับลูกก็ช่วยได้ เพราะเมื่อเด็กมีวินัยและความรับผิดชอบแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ต้องมาคอยบ่นให้หงุดหงิดใจด้วย
สาม อย่าขี้โม้
พ่อแม่ทุกคนล้วนอยากให้ลูกเป็นเด็กเก่ง เด็กดี เด็กฉลาด ฯลฯ และด้วยความอยากสิ่งเหล่านี้ ทำให้พ่อแม่ที่ส่วนใหญ่มักเอนเอียงเข้าข้างลูกอยู่แล้ว ซึ่งบางครั้งมักนำไปสู่การโอ้อวด การอวดลูก หรือชื่นชมลูกเกินความสามารถหรือศักยภาพของลูก ซึ่งอาจส่งผลกลับมาที่ตัวลูก ทำให้ลูกถ้าไม่หลงตัวเอง ก็จะมองว่าตัวเองเก่งหรือโดดเด่นกว่าคนอื่น หรือไม่ก็เป็นการสร้างความกดดันให้กับลูกได้
เชื่อเถอะค่ะ การเลี้ยงลูกเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่เราควรเลี้ยงให้เขาเป็นธรรมชาติ และเติบโตขึ้นมาอย่างสมวัยตามศักยภาพของเขา โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครองคอยเป็นโค้ชในการส่งเสริมและแนะนำให้เขาได้ค้นหาตัวเอง
จะว่าไปแล้วตัวเราเองบางครั้งเราก็ไม่ได้ดั่งใจตัวแองเหมือนกัน แล้วทำไมเราถึงจะไปคาดหวังให้ลูกได้ดั่งใจเราด้วยเล่า!
การเลี้ยงลูกให้ได้ดั่งใจ ต้องเริ่มจากการปรับที่ใจพ่อแม่ก่อนค่ะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่