เยาวชนชี้ไม่กำหนดรัศมีห้ามขายเหล้ารอบสถานศึกษา กระทบปฏิบัติหน้าที่แน่ หวั่นมีปัญหาเหมือนการให้ตั๋วขายเหล้า วอนเร่งออกประกาศโซนนิง ระบุนายกฯ ลงนามแล้ว เหลือแค่บังคับใช้
วันนี้ (28 ก.ค.) นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวถึงกรณีคำสั่ง คสช. ที่ให้คุมเข้มบังคับใช้กฎหมายการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา โดยไม่มีการกำหนดระยะที่ชัดเจน ว่า ยืนยันว่า การไม่กำหนดระยะร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา จะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากหากใช้ดุลพินิจย่อมแตกต่างกันไป และอาจเกิดปัญหาเหมือน พ.ร.บ.สุราฯ ของกรมสรรพสามิตที่ห้ามออกใบอนุญาตแก่สถานบริการที่เปิดใกล้เคียงสถานศึกษา แต่ก็พบว่าออกใบอนุญาตให้ร้านค้าไปกว่า 6 แสนรายต่อปี และยังมีอีกมากที่เปิดโดยไม่มีใบอนุญาต จึงอยากให้มีข้อกำหนด แต่ทางที่ดีที่สุด คือ อยากให้มีการบังคับใช้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 ซึ่งนายกฯลงนามแล้ว เหลือเพียงการประกาศใช้
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนเข้าใจร้านค้าที่เปิดมานานอาจได้รับผลกระทบ แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเข้าถึงง่ายของเยาวชนจะทำให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ง่ายขึ้น เพราะต้องยอมรับว่า เมื่อเดินออกมาจากสถานศึกษาแล้วเจอร้านเหล้า หรือขับรถมาไม่ไกลก็เจอ ย่อมมีโอกาสให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ ๆ ง่ายขึ้น ดังนั้น หากกำหนดคุมเข้มระยะของการเปิดร้านเหล้ารอบสถานศึกษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็มีการให้เวลาปรับตัว เพราะในร่างประกาศสำนักนายกฯ ระบุชัดว่า หากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้เวลาอีก 30 วันในการปรับตัว ซึ่งตนมองว่าหากผู้ประกอบการเห็นว่าน้อยไป ก็น่าจะให้เวลาได้ถึง 1 ปี เพราะพวกเขาเปิดมานาน อาจต้องให้เวลาปรับตัว แต่ขณะเดียวกัน ร้านใหม่ต้องห้ามเปิดในรัศมีที่กฎหมายกำหนด
“ผมไม่แน่ใจว่าโดยปกติเมื่อนายกฯลงนามแล้วจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม หากผ่านไปประมาณ 1 เดือนยังไม่มีการบังคับใช้ อาจต้องทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการ สธ. เพื่อขอให้ติดตามเรื่องดังกล่าว” นายธีรภัทร์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ก.ค.) นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวถึงกรณีคำสั่ง คสช. ที่ให้คุมเข้มบังคับใช้กฎหมายการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถานศึกษา โดยไม่มีการกำหนดระยะที่ชัดเจน ว่า ยืนยันว่า การไม่กำหนดระยะร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา จะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เนื่องจากหากใช้ดุลพินิจย่อมแตกต่างกันไป และอาจเกิดปัญหาเหมือน พ.ร.บ.สุราฯ ของกรมสรรพสามิตที่ห้ามออกใบอนุญาตแก่สถานบริการที่เปิดใกล้เคียงสถานศึกษา แต่ก็พบว่าออกใบอนุญาตให้ร้านค้าไปกว่า 6 แสนรายต่อปี และยังมีอีกมากที่เปิดโดยไม่มีใบอนุญาต จึงอยากให้มีข้อกำหนด แต่ทางที่ดีที่สุด คือ อยากให้มีการบังคับใช้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 ซึ่งนายกฯลงนามแล้ว เหลือเพียงการประกาศใช้
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ตนเข้าใจร้านค้าที่เปิดมานานอาจได้รับผลกระทบ แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเข้าถึงง่ายของเยาวชนจะทำให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ง่ายขึ้น เพราะต้องยอมรับว่า เมื่อเดินออกมาจากสถานศึกษาแล้วเจอร้านเหล้า หรือขับรถมาไม่ไกลก็เจอ ย่อมมีโอกาสให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ ๆ ง่ายขึ้น ดังนั้น หากกำหนดคุมเข้มระยะของการเปิดร้านเหล้ารอบสถานศึกษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็มีการให้เวลาปรับตัว เพราะในร่างประกาศสำนักนายกฯ ระบุชัดว่า หากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้เวลาอีก 30 วันในการปรับตัว ซึ่งตนมองว่าหากผู้ประกอบการเห็นว่าน้อยไป ก็น่าจะให้เวลาได้ถึง 1 ปี เพราะพวกเขาเปิดมานาน อาจต้องให้เวลาปรับตัว แต่ขณะเดียวกัน ร้านใหม่ต้องห้ามเปิดในรัศมีที่กฎหมายกำหนด
“ผมไม่แน่ใจว่าโดยปกติเมื่อนายกฯลงนามแล้วจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม หากผ่านไปประมาณ 1 เดือนยังไม่มีการบังคับใช้ อาจต้องทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการ สธ. เพื่อขอให้ติดตามเรื่องดังกล่าว” นายธีรภัทร์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่