แฉ “โนราประยุกต์” สร้างจุดขายแต่งหวิวโชว์ ใช้คำสองแง่สามง่ามเรียกแขก ผิดเพี้ยนจากบรมครู วอน วธ. เข้ามาดูแล เกรงคนรุ่นใหม่ซึมซับจนเคยชิน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดมหกรรมโนรา จ.นครศรีธรรมราช ที่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีนักเรียนจำนวน 129 คน จาก 9 โรงเรียน ใน จ.นครศรีธรรมราช มารำบูชาพระมหาธาตุ โดยนายอนันต์ ชูโชติ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า โนรา เป็นการแสดงท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมมากในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน จึงให้ สวธ. รวบรวมคณะโนราแล้วจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อช่วยอนุรักษ์การแสดง และให้ครูภูมิปัญญา ศิลปินเผยแพร่ความรู้ศิลปะการแสดงสู่คนรุ่นใหม่ และให้เร่งจัดทำทะเบียนโนราให้เป็นระบบ แล้วนำขึ้นเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนสามารถติดต่อจ้างงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ด้าน นายจำเรียง มณีเศวต หัวหน้าคณะโนราจำเรียงดาราศิลป์ ครูภูมิปัญญา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัจจุบันคณะโนรา จ.นครศรีธรรมราช มีไม่ถึง 50 คณะ และช่วงนี้เศรษฐกิจย่ำแย่ ส่งผลให้งานแสดงลดลงตามไปด้วย จากที่เคยได้รับการว่าจ้างเดือนละ 15 - 20 โรง ขณะนี้งานแสดงแต่ละเดือนลดเหลือเพียง 3 - 5 โรง ถือว่า ชาวคณะได้รับผลกระทบอย่างสาหัส อย่างคณะของตนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเลี้ยงคนในคณะกว่า 30 คน ขณะที่การรวมกลุ่มชมรมศิลปินพื้นบ้านโนราหนังตะลุง ที่ดูเหมือนจะเข้ามาช่วยหาทางบรรเทาความเดือดร้อนของคณะต่าง ๆ ก็มีเพียงแต่ตัวชื่อแขวนไว้สวยหรู ดูดี แต่จริง ๆ แล้ว ก็ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้เกิดการรวมกลุ่มของศิลปินที่จะมาแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นต่อการช่วยเหลือคณะนักแสดงตกยากได้เลย
นายจำเรียง กล่าวต่อว่า นอกจากงานแสดงลดลงแล้ว สิ่งที่มีความห่วง ก็คือ มีบางคณะนำนักแสดงแดนเซอร์ โคโยตี้ หรือ หญิงสาวแต่งกายนุ่งน้อยห่มน้อยเข้ามาร่วมโชว์บนเวทีโนรา เพื่อสร้างจุดขาย เรียกความสนใจจากผู้ชม ส่วนตัวมองว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การกระทำเช่นนี้เป็นการไม่ให้การเคารพกับศิลปะการแสดงที่ดีงามที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นมา และยังมีคณะของคนรุ่นใหม่ได้ปรับการแสดงให้เป็นโนราประยุกต์ ด้วยการปรับทั้งท่ารำ แบบดั้งเดิม กลายเป็นท่ารำสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน ขณะที่ บทร้อง ดนตรีที่ใช้บรรเลงก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิมที่คนรุ่นเก่าต้องการอนุรักษ์การใช้ภาษาถิ่น ใช้คำสุภาพ แต่ปัจจุบันมีการใช้คำหยาบคาย สองแง่สามง่าม เพื่อสร้างความสนุกสนาน จนทำให้กลายเป็นการแสดงส่งต่อกันไป คนท้องถิ่นยุคใหม่ก็รับสิ่งเหล่านี้ไปโดยเกิดความคุ้นชิน โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมอันดีแบบดั้งเดิม ปัญหาเหล่านี้อยากฝากไปยังกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาช่วยดูแล และอนุรักษ์ศิลปการแสดงพื้นบ้านแบบรุ่นครู อาจารย์ ให้คงอยู่ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดมหกรรมโนรา จ.นครศรีธรรมราช ที่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีนักเรียนจำนวน 129 คน จาก 9 โรงเรียน ใน จ.นครศรีธรรมราช มารำบูชาพระมหาธาตุ โดยนายอนันต์ ชูโชติ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า โนรา เป็นการแสดงท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมมากในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน จึงให้ สวธ. รวบรวมคณะโนราแล้วจัดตั้งสมาคมศิลปินพื้นบ้าน เพื่อช่วยอนุรักษ์การแสดง และให้ครูภูมิปัญญา ศิลปินเผยแพร่ความรู้ศิลปะการแสดงสู่คนรุ่นใหม่ และให้เร่งจัดทำทะเบียนโนราให้เป็นระบบ แล้วนำขึ้นเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนสามารถติดต่อจ้างงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ด้าน นายจำเรียง มณีเศวต หัวหน้าคณะโนราจำเรียงดาราศิลป์ ครูภูมิปัญญา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัจจุบันคณะโนรา จ.นครศรีธรรมราช มีไม่ถึง 50 คณะ และช่วงนี้เศรษฐกิจย่ำแย่ ส่งผลให้งานแสดงลดลงตามไปด้วย จากที่เคยได้รับการว่าจ้างเดือนละ 15 - 20 โรง ขณะนี้งานแสดงแต่ละเดือนลดเหลือเพียง 3 - 5 โรง ถือว่า ชาวคณะได้รับผลกระทบอย่างสาหัส อย่างคณะของตนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายเลี้ยงคนในคณะกว่า 30 คน ขณะที่การรวมกลุ่มชมรมศิลปินพื้นบ้านโนราหนังตะลุง ที่ดูเหมือนจะเข้ามาช่วยหาทางบรรเทาความเดือดร้อนของคณะต่าง ๆ ก็มีเพียงแต่ตัวชื่อแขวนไว้สวยหรู ดูดี แต่จริง ๆ แล้ว ก็ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้เกิดการรวมกลุ่มของศิลปินที่จะมาแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นต่อการช่วยเหลือคณะนักแสดงตกยากได้เลย
นายจำเรียง กล่าวต่อว่า นอกจากงานแสดงลดลงแล้ว สิ่งที่มีความห่วง ก็คือ มีบางคณะนำนักแสดงแดนเซอร์ โคโยตี้ หรือ หญิงสาวแต่งกายนุ่งน้อยห่มน้อยเข้ามาร่วมโชว์บนเวทีโนรา เพื่อสร้างจุดขาย เรียกความสนใจจากผู้ชม ส่วนตัวมองว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การกระทำเช่นนี้เป็นการไม่ให้การเคารพกับศิลปะการแสดงที่ดีงามที่บรรพบุรุษสร้างขึ้นมา และยังมีคณะของคนรุ่นใหม่ได้ปรับการแสดงให้เป็นโนราประยุกต์ ด้วยการปรับทั้งท่ารำ แบบดั้งเดิม กลายเป็นท่ารำสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน ขณะที่ บทร้อง ดนตรีที่ใช้บรรเลงก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิมที่คนรุ่นเก่าต้องการอนุรักษ์การใช้ภาษาถิ่น ใช้คำสุภาพ แต่ปัจจุบันมีการใช้คำหยาบคาย สองแง่สามง่าม เพื่อสร้างความสนุกสนาน จนทำให้กลายเป็นการแสดงส่งต่อกันไป คนท้องถิ่นยุคใหม่ก็รับสิ่งเหล่านี้ไปโดยเกิดความคุ้นชิน โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมอันดีแบบดั้งเดิม ปัญหาเหล่านี้อยากฝากไปยังกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาช่วยดูแล และอนุรักษ์ศิลปการแสดงพื้นบ้านแบบรุ่นครู อาจารย์ ให้คงอยู่ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่