อาจารย์แพทย์ ม.ขอนแก่น ชี้ 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการมากขึ้น ยันได้รับการรักษาตามมาตรฐานไม่ต่างจากสิทธิอื่น รับบัตรทองตายมากกว่าข้าราชการ แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ไม่ใช่เพราะสิทธิการรักษา ยอมรับทำ รพ.รัฐ ขาดทุน แต่ประชาชนได้กำไร
รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง เรื่อง “30 บาทรักษาทุกโรค vs ข้าราชการ” มีใจความโดยสรุปว่า ตนรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่ยุคก่อนมี 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เมื่อมีระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค พบว่า ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้นมาก ได้รับการรักษาไม่แตกต่างจากสิทธิอื่น ๆ ซึ่งเป็นตามมาตรฐานวิชาชีพที่มีการกำหนดจากสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ก็เป็นไปตามแนวทางการรักษาที่กำหนดโดยสมาคมวิชาชีพ และ กรมการแพทย์ ซึ่งจากการทำโครงการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้นกว่า 200% อัตราการเสียชีวิตลดลงตามลำดับ ส่วนโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยไตวายที่รักษาด้วยล้างไตช่องท้อง ก็ดีกว่าในอดีตที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเสียชีวิตด้วยปัญหาน้ำท่วมปอด โปแตสเซียมสูง หรือขายวัวควายมารักษาระยะหนึ่งก็หมดตัว
ส่วนข้อถกเถียงที่ว่า ผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ตายมากกว่าจริงหรือไม่นั้น เห็นว่าจริง แต่ไม่น่าจะเป็นเพราะสิทธิการรักษาเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีโรคร่วม การมารักษาเร็วหรือช้า ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองก่อนเจ็บป่วยด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนไข้เหล่านี้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น และมีอัตราเสียชีวิตที่ลดลงกว่าในอดีตอย่างแน่นอน แต่ในประเด็น รพ.ขาดทุน ยอมรับว่า รายรับของ รพ. ย่อมลดลง รายจ่ายต้องมากขึ้น เพราะต้องรักษาผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น แต่เป็นการขาดทุนเพื่อกำไร รพ.รัฐ ขาดทุน แต่ประชาชนได้กำไร เพราะเขาเหล่านั้นเจ็บป่วยจริง ๆ เมื่อป่วยก็ควรมาพบแพทย์ เราก็ต้องให้การรักษา ซึ่งแต่เดิมคนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ แล้วต้องไปกังวลใจให้มากทำไมกับผลประกอบการของ รพ. เพราะหน่วยงานของรัฐไม่ได้เป็นหน่วยงานที่แสวงหาผลกำไร
บัตรทองทำให้การรักษาต่าง ๆ ได้มาตรฐาน มีระบบการต่อรองราคายา มีการจัดซื้อยาที่ได้ราคาถูกลง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงระบบการรักษาเพิ่มมากขึ้น ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิพื้นฐานของประชาชนที่ต้องได้รับ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดีขึ้นมากกว่าคำว่าขาดทุนหรือกำไร มากกว่าคำว่าระบบการรักษา 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ดี ทำให้เสียชีวิตมากกว่าสิทธิข้าราชการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความเห็นถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง เรื่อง “30 บาทรักษาทุกโรค vs ข้าราชการ” มีใจความโดยสรุปว่า ตนรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่ยุคก่อนมี 30 บาทรักษาทุกโรค แต่เมื่อมีระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค พบว่า ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้นมาก ได้รับการรักษาไม่แตกต่างจากสิทธิอื่น ๆ ซึ่งเป็นตามมาตรฐานวิชาชีพที่มีการกำหนดจากสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ก็เป็นไปตามแนวทางการรักษาที่กำหนดโดยสมาคมวิชาชีพ และ กรมการแพทย์ ซึ่งจากการทำโครงการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษามากขึ้นกว่า 200% อัตราการเสียชีวิตลดลงตามลำดับ ส่วนโรคอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยไตวายที่รักษาด้วยล้างไตช่องท้อง ก็ดีกว่าในอดีตที่ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเสียชีวิตด้วยปัญหาน้ำท่วมปอด โปแตสเซียมสูง หรือขายวัวควายมารักษาระยะหนึ่งก็หมดตัว
ส่วนข้อถกเถียงที่ว่า ผู้ป่วยสิทธิ 30 บาท ตายมากกว่าจริงหรือไม่นั้น เห็นว่าจริง แต่ไม่น่าจะเป็นเพราะสิทธิการรักษาเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการมีหรือไม่มีโรคร่วม การมารักษาเร็วหรือช้า ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเองก่อนเจ็บป่วยด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง คนไข้เหล่านี้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น และมีอัตราเสียชีวิตที่ลดลงกว่าในอดีตอย่างแน่นอน แต่ในประเด็น รพ.ขาดทุน ยอมรับว่า รายรับของ รพ. ย่อมลดลง รายจ่ายต้องมากขึ้น เพราะต้องรักษาผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น แต่เป็นการขาดทุนเพื่อกำไร รพ.รัฐ ขาดทุน แต่ประชาชนได้กำไร เพราะเขาเหล่านั้นเจ็บป่วยจริง ๆ เมื่อป่วยก็ควรมาพบแพทย์ เราก็ต้องให้การรักษา ซึ่งแต่เดิมคนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ แล้วต้องไปกังวลใจให้มากทำไมกับผลประกอบการของ รพ. เพราะหน่วยงานของรัฐไม่ได้เป็นหน่วยงานที่แสวงหาผลกำไร
บัตรทองทำให้การรักษาต่าง ๆ ได้มาตรฐาน มีระบบการต่อรองราคายา มีการจัดซื้อยาที่ได้ราคาถูกลง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงระบบการรักษาเพิ่มมากขึ้น ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิพื้นฐานของประชาชนที่ต้องได้รับ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดีขึ้นมากกว่าคำว่าขาดทุนหรือกำไร มากกว่าคำว่าระบบการรักษา 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ดี ทำให้เสียชีวิตมากกว่าสิทธิข้าราชการ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่