สธ. เร่งคัดกรองทารกแรกคลอดขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หวังให้ยาทันใน 2 สัปดาห์ ช่วยลดเเด็กปัญญาอ่อนได้ปีละ 500 คน ร่วม ศธ. จัดทำหลักสูตรสุขอนามัย ให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศปลอดภัย ป้องกันท้องไม่พร้อม สกัดแม่วัยใส ต้นเหตุเด็กพัฒนาการล่าช้า
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ว่า ผลสำรวจของกรมอนามัยปี 2557 พบเด็กอายุ 3 - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้าถึงร้อยละ 34 และผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในปี 2558 ในนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ 5,000 คน พบไอคิวเฉลี่ย 93.1 จุด ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานคือ 100 จุด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีแม่วัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมากขึ้น การที่แม่อายุน้อย จะส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งอัตราการทำแท้ง ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งการติดเชื้อ เจ็บป่วยง่าย และพัฒนาการล่าช้า ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เรื่องพัฒนาการเด็กเป็นวาระระดับชาติ มอบกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ในปี 2558 สธ. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบรอบ 60 พรรษา โดยคัดกรองภาวะการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกคลอด ให้ได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมนได้ทันช่วงเวลาทอง คือ 2 สัปดาห์แรก จะช่วยลดเด็กปัญญาอ่อนได้ปีละกว่า 500 คน นอกจากนี้ ยังมีระบบคัดกรองและให้คำปรึกษาเพื่อยุติการตั้งครรภ์โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง แก้ไขปัญหาโรคอ้วน โรคเด็กตัวเล็ก ตรวจสอบและรักษาผู้ที่มีความล่าช้าในการพัฒนา ตั้งเป้าให้เด็กไทยมีพัฒนาสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ลดอัตราการตายของทารกแรกเกิดไม่เกิน 8 รายต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย
“นอกจากนี้ มีการแจกยาเม็ดโฟลิกเสริมไปโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดขณะเลี้ยงลูกด้วยมนแม่ 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับไอโอดีนและโฟลิกที่เพียงพอต่อพัฒนาการ และจัดทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ 1 ล้านกว่าคนให้คำปรึกษา จัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องสุขอนามัยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ว่า ผลสำรวจของกรมอนามัยปี 2557 พบเด็กอายุ 3 - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้าถึงร้อยละ 34 และผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในปี 2558 ในนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศ 5,000 คน พบไอคิวเฉลี่ย 93.1 จุด ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานคือ 100 จุด สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีแม่วัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมากขึ้น การที่แม่อายุน้อย จะส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งอัตราการทำแท้ง ทารกแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งการติดเชื้อ เจ็บป่วยง่าย และพัฒนาการล่าช้า ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เรื่องพัฒนาการเด็กเป็นวาระระดับชาติ มอบกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันแก้ปัญหา
ทั้งนี้ ในปี 2558 สธ. ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบรอบ 60 พรรษา โดยคัดกรองภาวะการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกคลอด ให้ได้รับยาไทรอยด์ฮอร์โมนได้ทันช่วงเวลาทอง คือ 2 สัปดาห์แรก จะช่วยลดเด็กปัญญาอ่อนได้ปีละกว่า 500 คน นอกจากนี้ ยังมีระบบคัดกรองและให้คำปรึกษาเพื่อยุติการตั้งครรภ์โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง แก้ไขปัญหาโรคอ้วน โรคเด็กตัวเล็ก ตรวจสอบและรักษาผู้ที่มีความล่าช้าในการพัฒนา ตั้งเป้าให้เด็กไทยมีพัฒนาสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ลดอัตราการตายของทารกแรกเกิดไม่เกิน 8 รายต่อการเกิดมีชีพ 1,000 ราย
“นอกจากนี้ มีการแจกยาเม็ดโฟลิกเสริมไปโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดขณะเลี้ยงลูกด้วยมนแม่ 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับไอโอดีนและโฟลิกที่เพียงพอต่อพัฒนาการ และจัดทำคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ 1 ล้านกว่าคนให้คำปรึกษา จัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องสุขอนามัยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงสูง เช่น การสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” รมว.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่