ประชุมวิชาการ 24 ประเทศเอเชียแปซิฟิก จัดทำแผนด้านสุขภาพ 3 มาตรการ พัฒนากำลังคนด้านระบาดวิทยา ห้องตรวจเชื้อโรค และป้องกันเชื้อดื้อยา หวังควบคุมโรคร่วมกัน
วันนี้ (6 พ.ค.) ที่โรงแรมแมนดาริน กทม. ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ วาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพรุนแรงในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 24 ประเทศ ว่า ปัญหาสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศให้ความสนใจ ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ผลักดันให้แต่ละประเทศเพิ่มศักยภาพการป้องกันควบคุมโรคให้มีความเข้มแข็ง และมีแผนความร่วมมือระหว่างประเทศ เบื้องต้นเน้น 3 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคที่แม่นยำ รวดเร็ว ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ 2.พัฒนากำลังคนด้านระบาดวิทยา ทำหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรค ทั้ง 2 เรื่องนี้ ไทยจะรับหน้าที่เป็นผู้นำแก่ทั่วโลก และ 3.การป้องกันเชื้อจุลชีพดื้อยา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ทั้ง 24 ประเทศ จะร่วมกันหาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของแต่ละประเทศ และจัดทำแผนความร่วมมือพัฒนาร่วมกันทั้งด้านองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ งบประมาณ ความช่วยเหลือจากห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้แต่ละประเทศมีความพร้อมในการรับมือกับภัยสุขภาพที่มีความร้ายแรงเป็นระบบเดียวกันได้ เช่น อีโบลา เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางสุขภาพโลก มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สธ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย โดยได้จัดทำแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่มาเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอาทิ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เช่น ส่งผู้เชียวชาญต่างๆ ไปให้ความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การจัดทุนการศึกษา การฝึกอบรม การตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 พ.ค.) ที่โรงแรมแมนดาริน กทม. ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ วาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพรุนแรงในประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 24 ประเทศ ว่า ปัญหาสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศให้ความสนใจ ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ผลักดันให้แต่ละประเทศเพิ่มศักยภาพการป้องกันควบคุมโรคให้มีความเข้มแข็ง และมีแผนความร่วมมือระหว่างประเทศ เบื้องต้นเน้น 3 เรื่อง คือ 1.การพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคที่แม่นยำ รวดเร็ว ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ 2.พัฒนากำลังคนด้านระบาดวิทยา ทำหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรค ทั้ง 2 เรื่องนี้ ไทยจะรับหน้าที่เป็นผู้นำแก่ทั่วโลก และ 3.การป้องกันเชื้อจุลชีพดื้อยา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ทั้ง 24 ประเทศ จะร่วมกันหาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของแต่ละประเทศ และจัดทำแผนความร่วมมือพัฒนาร่วมกันทั้งด้านองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ งบประมาณ ความช่วยเหลือจากห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้แต่ละประเทศมีความพร้อมในการรับมือกับภัยสุขภาพที่มีความร้ายแรงเป็นระบบเดียวกันได้ เช่น อีโบลา เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีที่สุด
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางสุขภาพโลก มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สธ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย โดยได้จัดทำแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่มาเข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอาทิ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เช่น ส่งผู้เชียวชาญต่างๆ ไปให้ความช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ การจัดทุนการศึกษา การฝึกอบรม การตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่