สปสช. ถอยตั้งหลัก ยกเลิกถกตีความวิจัยผู้ป่วยบัตรทองตายมากกว่าข้าราชการ อ้างคนอยากฟังเยอะ ขณะที่ประชาคม สธ. ขอร่วมให้ข้อมูลฝั่งผู้ให้บริการด้วย ด้าน “อานนท์” ยันไม่ตีความผิด ตัวเลขคือตัวเลข บิดเบือนไม่ได้ “หมออภิวัฒน์” ชี้ สปสช. ประหยัดงบ จำกัดสิทธิเข้าถึงยา-วิธีการรักษาผู้ป่วย ส่งผลกระทบการรักษา อาจเข้าข่ายผิดจริยธรรม วอนยอมรับและแก้ไข
วันนี้ (23 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ผลวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยบัตรทองใน 5 กลุ่มโรคมากกว่าผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องหาคำตอบและต้องแก้ไข ซึ่งทางด้านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มองว่าเกิดจากการตีความงานวิจัยที่ไม่ถูกต้อง จึงมีการประชุมอภิปรายเรื่องการตีความงานวิจัยในระบบหลักประกันสุขภาพในวันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งตามกำหนดการจะมี ดร.อานนท์ ศ.นพ.อภิวัฒน์ ศ.อัมมาร สยามวาลา จากทีดีอาร์ไอ ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร จากทีดีอาร์ไอ และ นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วมนั้น โดยจัดขึ้นที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปรากฏว่าได้มีการยกเลิกการอภิปรายดังกล่าวไป
ดร.อานนท์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบ สปสช. แจ้งการยกเลิกการอภิปรายเพราะมีคนต้องการเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มองว่า เรื่องผู้ป่วยบัตรทองตายมากกว่าผู้ป่วยสิทธิข้าราชการไม่ได้เกิดจากการตีความงานวิจัยผิด เพราะงานวิจัยตัวเลขก็คือตัวเลข ออกมาชัดเจน จะไปเสกให้เป็นอย่างอื่นคงไม่ได้ แต่ที่ผ่านมางานวิจัยดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยเรื่องนี้ออกมา เปิดเผยงานวิจัยเพียงแค่ว่าระบบบัตรทองได้รับงบประมาณน้อย จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องให้เครดิตทีดีอาร์ไอที่ทำงานวิจัยดังกล่าวให้เห็นสภาพปัญหาที่แท้จริง แม้จะไม่ได้มีการเปิดเผยผลงานวิจัยก็ตาม ซึ่งตนอยากให้ สปสช.ยอมรับความจริงในงานวิจัยดังกล่าว และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องนี้จำเป็นต้องมีการพูดคุยกัน ยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาและลดอัตราการเสียชีวิตลง เพราะผลการวิจัยที่ออกมาอัตราการเสียชีวิตไม่ใช่น้อยๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิข้าราชการก็พบว่าอัตราการตายสูงกว่ากันมาก แสดงว่า ต้องมีปัญหา ที่เห็นชัดเจนอย่างหนึ่งคือการรักษาตามสิทธิการรักษา ซึ่งทำให้มีการรักษาต่างกัน เพราะ สปสช. ต้องการประหยัดงบประมาณ โดยการจำกัดการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและเสรีภาพการให้ยาของแพทย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรักษา เช่น กำหนดบัญชียาหลัก ซึ่งวงการแพทย์มีการพัฒนายาตัวใหม่ๆ แต่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิใช้ได้ หรือการกำหนดสูตรยาเฉพาะ ซึ่งเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาตัวอื่นในการรักษา เพราะใช้ยาสูตรเฉพาะตามที่ สปสช.กำหนดแล้วไม่ได้ผล แต่ก็ไม่สามารถสั่งยาตัวอื่นมาใช้ได้ ซึ่งหากสั่งยาให้ผู้ป่วย แพทย์ก็ต้องจ่ายค่ายาทั้งหมดเอง ทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งยา หรือการกำหนดวิธีการรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก็กำหนดให้ใช้วิธีการล้างไตผ่านช่องท้องเป็นอันดับแรกเท่านั้น ซึ่งเป้นการกำหนดโดยไม่ผ่านการวิจัยก่อนที่จะกำหนดเป็นนโยบายว่าจะเกิดผลเสียอะไรหรือไม่ สุดท้ายก็มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
“การดำเนินการเช่นนี้อาจผิดจริยธรรม เพราะละเมิดสิทธิคนไข้ที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งหาก สปสช. ไม่ทราบ ก็ถือว่าไม่ผิด แต่ตอนนี้มีคนเตือนแล้ว ก็อยากให้ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองมีอัตราการตายสูงกว่าข้าราชการหรือไม่ก็จำเป็นที่จะต้องยอมรับและแก้ไข และชี้แจงว่าผิดหรือไม่ผิดจริยธรรมอย่างไร และควรชี้แจงว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร หรือหากแก้ไขไม่ได้ก็ควรมีการประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันว่าจะดำเนินการเช่นไร” ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าว
ด้าน นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ดีใจที่ สปสช. จะจัดเวทีอภิปรายตีความงานวิจัยฯ แต่ไม่ทราบว่า เพราะอะไรถึงต้องเลื่อนออกไป ส่วนตัวเห็นว่าเมื่อเป็นงานวิจัยเชิงวิชาการก็ต้องเปิดให้มีแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในส่วนของผู้ให้บริการก็อยากจะมาร่วมแสดงความเห็นด้วย และในการทำวิจัยเหล่านี้ควรจะต้องมีข้อมูลนำเข้าอย่างถูกต้องโปร่งใส เพราะหากข้อมูลไม่ครบตีความอย่างไรก็ไม่ถูกต้อง อย่างกรณีผลการศึกษาของ ศ.อัมมาร ที่ว่า รพ.รัฐ ไม่ได้ขาดสภาพคล่องมากอย่าง สธ. บอก เพราะการบริหารบัญชีที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีระบบการตรวจสอบ ซึ่งพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะไม่เคยลงไปดูการทำงานของ รพ. อย่างนี้ก็ไม่เป็นธรรม
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา และประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยบัตรทองบางโรคเสียชีวิตมากว่าสิทธิข้าราชการร้อยละ 70 ในส่วนของผู้ให้บริการก็ทำงานกันอย่างเต็มที่ภายใต้งบประมาณที่กระเบียดกระเสียน ดังนั้น คิดว่าถ้าเงินกองทุนใหญ่ของ สปสช. ถูกจัดสรรถึง รพ. อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ รพ. ทำงานได้อย่างเต็มที่ ที่มาขอร่วมอภิปรายนั้นก็เพราะอยากให้ข้อมูลอีกด้านจากฝั่งของผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สปสช. จ้างหน่วยงานทำการศึกษาวิจัย ถ้าผลการวิจัยที่ออกมาเป็นลบก็จะเก็บเอาไว้ ไม่ยอมเปิดเผย ดังนั้น สปสช. ต้องยอมรับก่อน และหาทางแก้ไข ส่วนตัวคงต้องหาวิธีการสื่อสารข้อเท็จจริงเหล่านี้ให้กับสังคมได้ทราบต่อไป
ทพ.อรรถพร ลิ้้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า การยกเลิกงาน เพราะตั้งใจจะคุยกันเฉพาะนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการขอเพิ่มรายชื่อบุคคลอื่นๆ มาอีกกว่า 20 คน จึงขอเลื่อนงานออกไป เพราะไม่อยากให้เป็นเวทีมาโต้หรือถกเถียงกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ ศ.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่ผลวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยบัตรทองใน 5 กลุ่มโรคมากกว่าผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องหาคำตอบและต้องแก้ไข ซึ่งทางด้านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มองว่าเกิดจากการตีความงานวิจัยที่ไม่ถูกต้อง จึงมีการประชุมอภิปรายเรื่องการตีความงานวิจัยในระบบหลักประกันสุขภาพในวันที่ 23 มิ.ย. ซึ่งตามกำหนดการจะมี ดร.อานนท์ ศ.นพ.อภิวัฒน์ ศ.อัมมาร สยามวาลา จากทีดีอาร์ไอ ดร.ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร จากทีดีอาร์ไอ และ นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วมนั้น โดยจัดขึ้นที่ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปรากฏว่าได้มีการยกเลิกการอภิปรายดังกล่าวไป
ดร.อานนท์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบ สปสช. แจ้งการยกเลิกการอภิปรายเพราะมีคนต้องการเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มองว่า เรื่องผู้ป่วยบัตรทองตายมากกว่าผู้ป่วยสิทธิข้าราชการไม่ได้เกิดจากการตีความงานวิจัยผิด เพราะงานวิจัยตัวเลขก็คือตัวเลข ออกมาชัดเจน จะไปเสกให้เป็นอย่างอื่นคงไม่ได้ แต่ที่ผ่านมางานวิจัยดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยเรื่องนี้ออกมา เปิดเผยงานวิจัยเพียงแค่ว่าระบบบัตรทองได้รับงบประมาณน้อย จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ต้องให้เครดิตทีดีอาร์ไอที่ทำงานวิจัยดังกล่าวให้เห็นสภาพปัญหาที่แท้จริง แม้จะไม่ได้มีการเปิดเผยผลงานวิจัยก็ตาม ซึ่งตนอยากให้ สปสช.ยอมรับความจริงในงานวิจัยดังกล่าว และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าวว่า เรื่องนี้จำเป็นต้องมีการพูดคุยกัน ยิ่งเร็วยิ่งดี เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาและลดอัตราการเสียชีวิตลง เพราะผลการวิจัยที่ออกมาอัตราการเสียชีวิตไม่ใช่น้อยๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิข้าราชการก็พบว่าอัตราการตายสูงกว่ากันมาก แสดงว่า ต้องมีปัญหา ที่เห็นชัดเจนอย่างหนึ่งคือการรักษาตามสิทธิการรักษา ซึ่งทำให้มีการรักษาต่างกัน เพราะ สปสช. ต้องการประหยัดงบประมาณ โดยการจำกัดการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและเสรีภาพการให้ยาของแพทย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรักษา เช่น กำหนดบัญชียาหลัก ซึ่งวงการแพทย์มีการพัฒนายาตัวใหม่ๆ แต่ผู้ป่วยไม่มีสิทธิใช้ได้ หรือการกำหนดสูตรยาเฉพาะ ซึ่งเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับยาตัวอื่นในการรักษา เพราะใช้ยาสูตรเฉพาะตามที่ สปสช.กำหนดแล้วไม่ได้ผล แต่ก็ไม่สามารถสั่งยาตัวอื่นมาใช้ได้ ซึ่งหากสั่งยาให้ผู้ป่วย แพทย์ก็ต้องจ่ายค่ายาทั้งหมดเอง ทำให้แพทย์ไม่กล้าสั่งยา หรือการกำหนดวิธีการรักษา เช่น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก็กำหนดให้ใช้วิธีการล้างไตผ่านช่องท้องเป็นอันดับแรกเท่านั้น ซึ่งเป้นการกำหนดโดยไม่ผ่านการวิจัยก่อนที่จะกำหนดเป็นนโยบายว่าจะเกิดผลเสียอะไรหรือไม่ สุดท้ายก็มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
“การดำเนินการเช่นนี้อาจผิดจริยธรรม เพราะละเมิดสิทธิคนไข้ที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งหาก สปสช. ไม่ทราบ ก็ถือว่าไม่ผิด แต่ตอนนี้มีคนเตือนแล้ว ก็อยากให้ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองมีอัตราการตายสูงกว่าข้าราชการหรือไม่ก็จำเป็นที่จะต้องยอมรับและแก้ไข และชี้แจงว่าผิดหรือไม่ผิดจริยธรรมอย่างไร และควรชี้แจงว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร หรือหากแก้ไขไม่ได้ก็ควรมีการประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันว่าจะดำเนินการเช่นไร” ศ.นพ.อภิวัฒน์ กล่าว
ด้าน นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ดีใจที่ สปสช. จะจัดเวทีอภิปรายตีความงานวิจัยฯ แต่ไม่ทราบว่า เพราะอะไรถึงต้องเลื่อนออกไป ส่วนตัวเห็นว่าเมื่อเป็นงานวิจัยเชิงวิชาการก็ต้องเปิดให้มีแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในส่วนของผู้ให้บริการก็อยากจะมาร่วมแสดงความเห็นด้วย และในการทำวิจัยเหล่านี้ควรจะต้องมีข้อมูลนำเข้าอย่างถูกต้องโปร่งใส เพราะหากข้อมูลไม่ครบตีความอย่างไรก็ไม่ถูกต้อง อย่างกรณีผลการศึกษาของ ศ.อัมมาร ที่ว่า รพ.รัฐ ไม่ได้ขาดสภาพคล่องมากอย่าง สธ. บอก เพราะการบริหารบัญชีที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีระบบการตรวจสอบ ซึ่งพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะไม่เคยลงไปดูการทำงานของ รพ. อย่างนี้ก็ไม่เป็นธรรม
นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา และประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า ผลการวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยบัตรทองบางโรคเสียชีวิตมากว่าสิทธิข้าราชการร้อยละ 70 ในส่วนของผู้ให้บริการก็ทำงานกันอย่างเต็มที่ภายใต้งบประมาณที่กระเบียดกระเสียน ดังนั้น คิดว่าถ้าเงินกองทุนใหญ่ของ สปสช. ถูกจัดสรรถึง รพ. อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ รพ. ทำงานได้อย่างเต็มที่ ที่มาขอร่วมอภิปรายนั้นก็เพราะอยากให้ข้อมูลอีกด้านจากฝั่งของผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สปสช. จ้างหน่วยงานทำการศึกษาวิจัย ถ้าผลการวิจัยที่ออกมาเป็นลบก็จะเก็บเอาไว้ ไม่ยอมเปิดเผย ดังนั้น สปสช. ต้องยอมรับก่อน และหาทางแก้ไข ส่วนตัวคงต้องหาวิธีการสื่อสารข้อเท็จจริงเหล่านี้ให้กับสังคมได้ทราบต่อไป
ทพ.อรรถพร ลิ้้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า การยกเลิกงาน เพราะตั้งใจจะคุยกันเฉพาะนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการขอเพิ่มรายชื่อบุคคลอื่นๆ มาอีกกว่า 20 คน จึงขอเลื่อนงานออกไป เพราะไม่อยากให้เป็นเวทีมาโต้หรือถกเถียงกัน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่