กรมสุขภาพจิตชี้โรคซึมเศร้ารักษาได้ พบผู้เข้าสู่รับบการรักษา ฆ่าตัวตายสำเร็จเพียง 2 คน สะท้อนการดูแลมีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าคนไทยมีจิตแจ่มใสเป็นสุขในปี 2563
นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ได้นำเสนอผลงานวิชาการหัวข้อ “โรคซึมเศร้า...ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ : การแก้ไขปัญหาความสูญเสียอันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้าและผลการดำเนินงานในระบบการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าของไทย” ในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2558 ว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ประมาณ 350 ล้านคนทั่วโลก โดยมีความชุกอยู่ที่ ร้อยละ 2 - 10 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดว่า ในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพเป็นอันดับ 2 ขณะที่ประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นอันดับที่ 3 ในผู้หญิง รองจากโรคเบาหวาน และหลอดเลือดในสมอง และเป็นอันดับ 8 ในผู้ชาย
นพ.ธรณินทร์ กล่าวว่า โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ โดยในปี 2563 กรมสุขภาพจิตได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยจิตแจ่มใสใจเป็นสุข ด้วยการดำเนินงานตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า (ค้นหา ประเมิน วินิจฉัย รักษา เฝ้าระวัง) ทีได้มาตรฐาน บูรณาการแผนการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ากับระบบสุขภาพอำเภอ พัฒนาระบบสุขภาพ และการบริการตามกลุ่มวัย โดยการทำงานในรูปแบบของเครือข่ายบริการในพื้นที่ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการมากขึ้น จาก ร้อยละ 34 ในปี 2557 เป็น ร้อยละ 38 ในครึ่งปี 2558 โดย ในปี 2557 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงถึง 12 ล้านคน พบมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 6 ล้านคน มีอาการ 1.5 ล้านคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย 6 แสนคน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า 5 แสนคน และมีอาการกลับเป็นซ้ำ 800 คน
“ผู้ที่เข้าสู่ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ เพียง 2 คน ซึ่งสะท้อนได้ว่า ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าที่เราใช้ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้ การแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า จึงมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการ มีการส่งเสริมสร้างความเข้าใจ ลดอคติ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่หรือเมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นที่สุด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดอัตราการฆ่าตัวตาย” ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ ได้นำเสนอผลงานวิชาการหัวข้อ “โรคซึมเศร้า...ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ : การแก้ไขปัญหาความสูญเสียอันเนื่องมาจากโรคซึมเศร้าและผลการดำเนินงานในระบบการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าของไทย” ในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2558 ว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ประมาณ 350 ล้านคนทั่วโลก โดยมีความชุกอยู่ที่ ร้อยละ 2 - 10 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดว่า ในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพเป็นอันดับ 2 ขณะที่ประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นอันดับที่ 3 ในผู้หญิง รองจากโรคเบาหวาน และหลอดเลือดในสมอง และเป็นอันดับ 8 ในผู้ชาย
นพ.ธรณินทร์ กล่าวว่า โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ โดยในปี 2563 กรมสุขภาพจิตได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยจิตแจ่มใสใจเป็นสุข ด้วยการดำเนินงานตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า (ค้นหา ประเมิน วินิจฉัย รักษา เฝ้าระวัง) ทีได้มาตรฐาน บูรณาการแผนการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ากับระบบสุขภาพอำเภอ พัฒนาระบบสุขภาพ และการบริการตามกลุ่มวัย โดยการทำงานในรูปแบบของเครือข่ายบริการในพื้นที่ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการมากขึ้น จาก ร้อยละ 34 ในปี 2557 เป็น ร้อยละ 38 ในครึ่งปี 2558 โดย ในปี 2557 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงถึง 12 ล้านคน พบมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 6 ล้านคน มีอาการ 1.5 ล้านคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย 6 แสนคน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า 5 แสนคน และมีอาการกลับเป็นซ้ำ 800 คน
“ผู้ที่เข้าสู่ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ เพียง 2 คน ซึ่งสะท้อนได้ว่า ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าที่เราใช้ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้ การแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า จึงมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการ มีการส่งเสริมสร้างความเข้าใจ ลดอคติ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่หรือเมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นที่สุด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดอัตราการฆ่าตัวตาย” ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่