ห่วงคนไทยกินหวานจัด หมอฟันชี้ “น้ำขวด” ใส่ฟลุกโตสเข้มข้น เผาผลาญไม่หมดเสี่ยงอ้วนลงพุง น้ำตาลเกาะตับ เสี่ยงตับอักเสบ ตับแข็ง เหตุร่างกายดึงน้ำตาลจากส่วนอื่นไปเป็นพลังงานก่อนตับ
ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า น้ำตาลถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ร่างกายต้องการ โดยพบว่าอาหารทุกประเภทจะมีน้ำตาลประกอบอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผลไม้ หรืออาหารประเภทต่างๆ โดยร่างกายต้องการน้ำตาลกลูโคส เพื่อส่งพลังงานไปเลี้ยงสมอง โดยน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติไม่น่าเป็นห่วงนัก เพราะพบว่ามีปริมาณน้อย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำตาลที่เติมลงในอาหาร หรือ เครื่องดื่ม ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา สูงกว่าคำแนะนำที่ให้บริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อน
ทพญ.จันทนา กล่าวว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกิดไปทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคอ้วน ซึ่งพบว่าตัวเลขของโรคอ้วนนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะพบว่าผู้หญิงในช่วงวัยกลางคนจะมีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ชายเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ยังพบปัญหาที่เกิดจากน้ำตาล คือ ฟันผุ ซึ่งพบว่า เด็กอายุ 5 ขวบ ฟันผุถึงร้อยละ 80 ส่วนเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่าสถานการณ์ฟันผุดีขึ้น หลังจากประเทศไทยมีกฎหมายห้ามเติมน้ำตาลในนมของเด็ก ทำให้อัตราฟันผุร้อยละ 60 ลดลงเหลือร้อยละ 49 แต่โดยรวมถือว่าสถานการณ์ฟันผุของเด็กไทยยังสูง เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
“พฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลของคนไทย พบว่า แหล่งน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มบรรจุขวดที่หันมาใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์แทนน้ำตาลทราย โดยน้ำตาลฟลุกโตสจะมีความเข้มข้นสูงกว่า ทำให้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่น้ำตาลประเภทนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปและร่างกายเผาผลาญไม่หมดจะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ทำให้อ้วนลงพุง และเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็ง เพราะน้ำตาลประเภทนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายจะตรงไปที่ตับก่อน แต่ร่างกายจะดึงพลังงานไปใช้ จะเลือกดึงน้ำตาลจากส่วนอื่นของร่างกายก่อนตับ เมื่อเผาผลาญหรือใช้ไม่หมดก็จะเกาะอยู่ที่ตับ ดังนั้น ประชาชนควรอ่านฉลากและเลือกดื่มเครื่องดื่มหวานจัดอย่างพอเหมาะ” ทพญ.จันทนา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า น้ำตาลถือเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ร่างกายต้องการ โดยพบว่าอาหารทุกประเภทจะมีน้ำตาลประกอบอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผลไม้ หรืออาหารประเภทต่างๆ โดยร่างกายต้องการน้ำตาลกลูโคส เพื่อส่งพลังงานไปเลี้ยงสมอง โดยน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติไม่น่าเป็นห่วงนัก เพราะพบว่ามีปริมาณน้อย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ น้ำตาลที่เติมลงในอาหาร หรือ เครื่องดื่ม ซึ่งพบว่าปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา สูงกว่าคำแนะนำที่ให้บริโภคน้ำตาลได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อน
ทพญ.จันทนา กล่าวว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกิดไปทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคอ้วน ซึ่งพบว่าตัวเลขของโรคอ้วนนั้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะพบว่าผู้หญิงในช่วงวัยกลางคนจะมีน้ำหนักตัวมากกว่าผู้ชายเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ยังพบปัญหาที่เกิดจากน้ำตาล คือ ฟันผุ ซึ่งพบว่า เด็กอายุ 5 ขวบ ฟันผุถึงร้อยละ 80 ส่วนเด็กอายุ 3 ขวบ พบว่าสถานการณ์ฟันผุดีขึ้น หลังจากประเทศไทยมีกฎหมายห้ามเติมน้ำตาลในนมของเด็ก ทำให้อัตราฟันผุร้อยละ 60 ลดลงเหลือร้อยละ 49 แต่โดยรวมถือว่าสถานการณ์ฟันผุของเด็กไทยยังสูง เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
“พฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลของคนไทย พบว่า แหล่งน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มบรรจุขวดที่หันมาใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์แทนน้ำตาลทราย โดยน้ำตาลฟลุกโตสจะมีความเข้มข้นสูงกว่า ทำให้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่น้ำตาลประเภทนี้ถ้ารับประทานมากเกินไปและร่างกายเผาผลาญไม่หมดจะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ทำให้อ้วนลงพุง และเสี่ยงเป็นตับอักเสบ ตับแข็ง เพราะน้ำตาลประเภทนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายจะตรงไปที่ตับก่อน แต่ร่างกายจะดึงพลังงานไปใช้ จะเลือกดึงน้ำตาลจากส่วนอื่นของร่างกายก่อนตับ เมื่อเผาผลาญหรือใช้ไม่หมดก็จะเกาะอยู่ที่ตับ ดังนั้น ประชาชนควรอ่านฉลากและเลือกดื่มเครื่องดื่มหวานจัดอย่างพอเหมาะ” ทพญ.จันทนา กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่