สธ. ชงพาณิชย์ ออกประกาศ กกร. คุมค่ายา รพ. เอกชน ออกใบเสร็จแยกราคาขายปลีก กับราคาบริหารจัดการยาให้ชัดเจน เปิดทางขอใบสั่งยาซื้อร้านขายยาภายนอกได้ คาดแล้วเสร็จใน 1 เดือน อธิบดีกรมการค้าภายในเผย หลังออกประกาศโทษแรงขึ้น ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
วันนี้ (9 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการแก้ปัญหา รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาแพง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ว่า ประเด็นการควบคุมราคายานั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ยาเป็นสินค้าควบคุม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ คือ ต้องติดป้ายราคาขายปลีกในยาทุกชนิด และจะขายยาเกินราคาในป้ายไม่ได้ แต่คณะกรรมการเข้าใจดีว่า รพ. เอกชน จะมีราคาต้นทุนค่าบริหารจัดการยาต่างกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าเภสัชกร ค่าเก็บรักษายา กำไรทางธุรกิจ คณะกรรมการจึงมีมติมาตรการคุมค่ายา รพ. เอกชน คือ 1. ใบเสร็จค่ายาต้องแดสง 2 รายการ ประกอบด้วย ค่ายาที่เป็นราคาขายปลีกตามที่ปิดป้าย ซึ่งจะเท่ากันในทุกโรงพยาบาล และต้องแสดงค่าบริหารจัดการยาที่บวกเพิ่มเข้าไป เช่น ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษายา ค่าเภสัชกร เป็นต้น ซึ่ง รพ. แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปตามการลงทุน จะทำให้ประชาชนรับรู้ค่ายาได้
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า และ 2. หากเห็นว่าราคายานั้นแพงเกินไป ระหว่างที่จะรับยาจากเภสัชกรใน รพ. เอกชน สามารถขอใบสั่งยาออกไปซื้อยาจากร้านขายยาภายนอกเองได้ ถือเป็นทางเลือก โดยหลังจากนี้ สธ. จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อออกเป็นประกาศ กกร. คาดว่า จะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน และจะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อสื่อสารไปยังบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ในเรื่องการปิดป้ายราคาขายปลีก และทำหนังสือถึง รพ. เอกชน ทุกแห่งแล้วว่าให้ขึ้นป้ายแสดงราคายาและค่าหัตถการในที่ที่ประชาชนสามารถเห็นได้และในเว็บไซต์ของ รพ. หากประชาชนสงสัยว่า รพ. เอกชน คิดค่ารักษาเกินจริง สามารถร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน 02-193-7999, 1330 และ 1166
นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ประธานคณะคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหา รพ. เอกชน เก็บค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า ใบเสร้จยา รพ. เอกชน ต้องแสดง 2 รายละเอียด คือ ราคาขายปลีกที่จะเท่ากันทุก รพ. และค่าบริหารจัดการยา ซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเมื่อผู้ป่วยมารับยา รพ. เอกชน จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และหากผู้ป่วยเห็นว่าราคาแพงก็สามารถขอใบสั่งยาออกไปซื้อที่ร้านขายยาภายนอกได้ แต่จะต้องรับผิดชอบเรื่องร้านขายยามาตรฐานเอง และเรื่องของการแพ้ยาและอันตรายจากการใช้ยาด้วย
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ร้านยาคุณภาพขณะนี้ทั่วประเทศมี 1,000 กว่าแห่ง มีเภสัชกรประจำร้าน สามารถจำหน่ายได้ทั้งยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และ ยาทั่วไปได้ ดังนั้น จึงมีความพร้อมในมาตรการที่จะให้ผู้ป่วยนำใบสั่งยามาซื้อที่ร้านขายยาเหล่านี้ ส่วนยาที่มีข้อกำหนดให้ใช้เฉพาะใน รพ. เช่น ยาที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ก็จะต้องสั่งจ่ายเฉพาะใน รพ. เท่านั้น
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า บทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯในส่วนของการปิดป้ายแสดงราคา เดิมมีโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท แต่หากมีประกาศ กกร.ให้ต้องปิดป้ายแสดงราคายาออกมาแล้ว ยังมีการกระทำความผิดโทษจะเพิ่มขึ้น ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
เมื่อถามถึงข้อเรียกร้องของภาคประชาชนให้ควบคุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ไม่เฉพาะค่ายา แต่ไม่เรียกร้องให้ควบคุมในส่วนค่าบริการ น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ดำเนินการได้เพียงการจัดแสดงราคาค่ารักษาพยาบาลและค่าหัตถการต่างๆ ของแต่ละโรงพยาบาลบนเว็บไซต์ของ สบส. เพื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบและเลือกใช้บริการเท่านั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 เดือน คงยังไม่สามารถใช้มาตรการใดเข้าไปควบคุมค่ารักษาพยาบาลส่วนอื่นนอกเหนือจากค่ายาได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการแก้ปัญหา รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาแพง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ว่า ประเด็นการควบคุมราคายานั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ยาเป็นสินค้าควบคุม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ คือ ต้องติดป้ายราคาขายปลีกในยาทุกชนิด และจะขายยาเกินราคาในป้ายไม่ได้ แต่คณะกรรมการเข้าใจดีว่า รพ. เอกชน จะมีราคาต้นทุนค่าบริหารจัดการยาต่างกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าเภสัชกร ค่าเก็บรักษายา กำไรทางธุรกิจ คณะกรรมการจึงมีมติมาตรการคุมค่ายา รพ. เอกชน คือ 1. ใบเสร็จค่ายาต้องแดสง 2 รายการ ประกอบด้วย ค่ายาที่เป็นราคาขายปลีกตามที่ปิดป้าย ซึ่งจะเท่ากันในทุกโรงพยาบาล และต้องแสดงค่าบริหารจัดการยาที่บวกเพิ่มเข้าไป เช่น ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษายา ค่าเภสัชกร เป็นต้น ซึ่ง รพ. แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปตามการลงทุน จะทำให้ประชาชนรับรู้ค่ายาได้
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า และ 2. หากเห็นว่าราคายานั้นแพงเกินไป ระหว่างที่จะรับยาจากเภสัชกรใน รพ. เอกชน สามารถขอใบสั่งยาออกไปซื้อยาจากร้านขายยาภายนอกเองได้ ถือเป็นทางเลือก โดยหลังจากนี้ สธ. จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อออกเป็นประกาศ กกร. คาดว่า จะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน และจะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อสื่อสารไปยังบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ในเรื่องการปิดป้ายราคาขายปลีก และทำหนังสือถึง รพ. เอกชน ทุกแห่งแล้วว่าให้ขึ้นป้ายแสดงราคายาและค่าหัตถการในที่ที่ประชาชนสามารถเห็นได้และในเว็บไซต์ของ รพ. หากประชาชนสงสัยว่า รพ. เอกชน คิดค่ารักษาเกินจริง สามารถร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน 02-193-7999, 1330 และ 1166
นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ประธานคณะคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหา รพ. เอกชน เก็บค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า ใบเสร้จยา รพ. เอกชน ต้องแสดง 2 รายละเอียด คือ ราคาขายปลีกที่จะเท่ากันทุก รพ. และค่าบริหารจัดการยา ซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเมื่อผู้ป่วยมารับยา รพ. เอกชน จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และหากผู้ป่วยเห็นว่าราคาแพงก็สามารถขอใบสั่งยาออกไปซื้อที่ร้านขายยาภายนอกได้ แต่จะต้องรับผิดชอบเรื่องร้านขายยามาตรฐานเอง และเรื่องของการแพ้ยาและอันตรายจากการใช้ยาด้วย
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ร้านยาคุณภาพขณะนี้ทั่วประเทศมี 1,000 กว่าแห่ง มีเภสัชกรประจำร้าน สามารถจำหน่ายได้ทั้งยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย และ ยาทั่วไปได้ ดังนั้น จึงมีความพร้อมในมาตรการที่จะให้ผู้ป่วยนำใบสั่งยามาซื้อที่ร้านขายยาเหล่านี้ ส่วนยาที่มีข้อกำหนดให้ใช้เฉพาะใน รพ. เช่น ยาที่จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ก็จะต้องสั่งจ่ายเฉพาะใน รพ. เท่านั้น
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า บทลงโทษของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการฯในส่วนของการปิดป้ายแสดงราคา เดิมมีโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท แต่หากมีประกาศ กกร.ให้ต้องปิดป้ายแสดงราคายาออกมาแล้ว ยังมีการกระทำความผิดโทษจะเพิ่มขึ้น ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
เมื่อถามถึงข้อเรียกร้องของภาคประชาชนให้ควบคุมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ไม่เฉพาะค่ายา แต่ไม่เรียกร้องให้ควบคุมในส่วนค่าบริการ น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ดำเนินการได้เพียงการจัดแสดงราคาค่ารักษาพยาบาลและค่าหัตถการต่างๆ ของแต่ละโรงพยาบาลบนเว็บไซต์ของ สบส. เพื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบและเลือกใช้บริการเท่านั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 เดือน คงยังไม่สามารถใช้มาตรการใดเข้าไปควบคุมค่ารักษาพยาบาลส่วนอื่นนอกเหนือจากค่ายาได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่