แก้ รพ. เอกชน แพงได้ 4 ข้อสรุปแก้ปัญหาค่ายาแพง เสนอ คณะอำนวยการชุดใหญ่พิจารณา 5 มิ.ย. ขอก. พาณิชย์ สั่งทุกโรงงานยาติดราคาขายปลีก อย. สำรวจราคายาขายปลีกในตลาดขึ้นเว็บไซต์ รพ. เอกชน แสดงราคายาแยกต่างหาก และให้หมอออกใบสั่งยาให้ ปชช. ซื้อเอง
วันนี้ (2 มิ.ย.) นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ประธานคณะคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหา รพ. เอกชนเก็บค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า จากการประชุมในวันนี้ มีข้อสรุปเรื่องแก้ปัญหาค่ายาแพง 4 ประเด็นที่เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการชุดใหญ่ ซึ่งมี รมว.สาธารณสุข และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ คือ 1. เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการกำหนดให้โรงงานผลิตยาต้องติดราคาขายปลีก 2. ให้ อย. สำรวจราคายาขายปลีกในตลาดทุกตัวมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ อย. ให้ประชาชนทราบว่ายารักษาโรคชนิดหนึ่งมีกี่ประเภท และมีราคาเท่าไร 3. กำหนดให้ รพ. เอกชนแสดงราคายาแยกจากค่าบริการอื่นๆ ให้ชัดเจน ป้องกันความสับสน ส่วนเรื่องกำไรจะพิจารณาอีกที และ 4. แพทย์ออกใบสั่งยาให้ประชาชนไปซื้อหายาจากร้านขายยาได้ แต่ประชาชนต้องมีส่วนในการรับผิดชอบในการซื้อยาเอง ซึ่งจะไปเจรจากับสมาคมประกันชีวิตภาคประชาชนให้ยอมรับตรงนี้ต่อไป
นพ.ศุภชัย กล่าวว่า เรื่องการทำระบบส่งต่อข้อมูลระหว่าง รพ. กับร้านขายยายังไม่ได้หารือ แต่จะให้มีการพัฒนาระบบตรงนี้และระบบการตรวจสอบใบสั่งยา ส่วนข้อกังวลค่ารักษาพยาบาลจะไปโป่งในเรื่องการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็นยังไม่ได้ดำเนินการ อยู่ที่ รมว.สาธารณสุข จะสั่งการอย่างไร แต่เบื้องต้นต้องมีการศึกษารายละเอียดอีกมาก มีการเสนอให้จัดตั้งข้อมูลประเภท และอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาโรคที่สามารถรอได้อย่างจริงจัง เป็นฐานข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจ แต่ประชาชนก็ต้องหาความรู้ให้มากๆ
“อยากให้ทุกคนมั่นใจในการรักษาของ รพ. รัฐ ซึ่งเทียบเท่า หรือมากกว่า รพ. เอกชน ส่วนการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นทุกคนเห็นตรงกันแล้วคือในช่วงวิกฤต 72 ชั่วโมงประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ต้องเซ็นยอมรับค่ารักษา และหลัง 72 ชั่วโมงรัฐ จะหา รพ. รองรับการส่งต่อให้ หากหาไม่ได้ หรือสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย” นพ.ศุภชัย กล่าว
ด้าน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การหารือเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการตั้งคณะกรรมการกลางที่เอาคนนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อป้องกันการสมยอมกันระหว่าง รพ. เอกชน กับร้านขายยา และยังไม่เห็นกระบวนการคุมค่ารักษาพยาบาลในภาพรวมแต่อย่างใด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 มิ.ย.) นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ประธานคณะคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหา รพ. เอกชนเก็บค่ารักษาพยาบาลแพง กล่าวว่า จากการประชุมในวันนี้ มีข้อสรุปเรื่องแก้ปัญหาค่ายาแพง 4 ประเด็นที่เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการชุดใหญ่ ซึ่งมี รมว.สาธารณสุข และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาในวันที่ 5 มิ.ย. นี้ คือ 1. เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการกำหนดให้โรงงานผลิตยาต้องติดราคาขายปลีก 2. ให้ อย. สำรวจราคายาขายปลีกในตลาดทุกตัวมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ อย. ให้ประชาชนทราบว่ายารักษาโรคชนิดหนึ่งมีกี่ประเภท และมีราคาเท่าไร 3. กำหนดให้ รพ. เอกชนแสดงราคายาแยกจากค่าบริการอื่นๆ ให้ชัดเจน ป้องกันความสับสน ส่วนเรื่องกำไรจะพิจารณาอีกที และ 4. แพทย์ออกใบสั่งยาให้ประชาชนไปซื้อหายาจากร้านขายยาได้ แต่ประชาชนต้องมีส่วนในการรับผิดชอบในการซื้อยาเอง ซึ่งจะไปเจรจากับสมาคมประกันชีวิตภาคประชาชนให้ยอมรับตรงนี้ต่อไป
นพ.ศุภชัย กล่าวว่า เรื่องการทำระบบส่งต่อข้อมูลระหว่าง รพ. กับร้านขายยายังไม่ได้หารือ แต่จะให้มีการพัฒนาระบบตรงนี้และระบบการตรวจสอบใบสั่งยา ส่วนข้อกังวลค่ารักษาพยาบาลจะไปโป่งในเรื่องการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็นยังไม่ได้ดำเนินการ อยู่ที่ รมว.สาธารณสุข จะสั่งการอย่างไร แต่เบื้องต้นต้องมีการศึกษารายละเอียดอีกมาก มีการเสนอให้จัดตั้งข้อมูลประเภท และอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาโรคที่สามารถรอได้อย่างจริงจัง เป็นฐานข้อมูลให้ประชาชนตัดสินใจ แต่ประชาชนก็ต้องหาความรู้ให้มากๆ
“อยากให้ทุกคนมั่นใจในการรักษาของ รพ. รัฐ ซึ่งเทียบเท่า หรือมากกว่า รพ. เอกชน ส่วนการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้นทุกคนเห็นตรงกันแล้วคือในช่วงวิกฤต 72 ชั่วโมงประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ต้องเซ็นยอมรับค่ารักษา และหลัง 72 ชั่วโมงรัฐ จะหา รพ. รองรับการส่งต่อให้ หากหาไม่ได้ หรือสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย” นพ.ศุภชัย กล่าว
ด้าน นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การหารือเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการตั้งคณะกรรมการกลางที่เอาคนนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อป้องกันการสมยอมกันระหว่าง รพ. เอกชน กับร้านขายยา และยังไม่เห็นกระบวนการคุมค่ารักษาพยาบาลในภาพรวมแต่อย่างใด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่