สธ. เผย 130 องค์กร รวมกว่า 9,492 แห่ง เป็นพื้นที่ปลอดโฟม 100% ไม่ใช่โฟมบรรจุอาหาร หันใช้วัสดุจากธรรมชาติแทน เล็งขยายหน่วยงานปลอดโฟมมากขึ้น พร้อมคลอดคำแนะนำภายใต้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข ในการลด ละ เลิก การใช้โฟม
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหารใน สธ. ขณะนี้มีผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย สามารถดำเนินการเป็นองค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2557 สำหรับปี 2558 สธ. ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัด สธ. ทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาล ศูนย์วิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 5 แห่ง ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมลงนามความร่วมมือจำนวน 14 แห่ง โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินองค์กร หรือพื้นที่ปลอดโฟมบรรจุอาหารอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน และต้องใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งผลการประเมินมีหน่วยงาน 130 องค์กรทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นพื้นที่ปลอดโฟม 100% รวมทั้งสิ้นจำนวน 9,492 แห่ง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีนั้น กรมอนามัยได้ดำเนินการภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. สร้างเขตพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร เช่น ทุกกรมใน สธ. ไม่มีการใช้โฟม แต่ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย กล่องกระดาษ หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานสังกัด สธ. ทั่วประเทศร่วมรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานราชการอื่น 2. ทดแทนโฟมด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวสำหรับห่อข้าว หรือ ขนม ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลังซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายถึง 1,000 ปี และทดแทนด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. และ 3. ปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ โฟมด้วยวิธีต่างๆ เช่น ไม่ซื้ออาหารประเภทใส่กล่องโฟม (Say No To Foam)
“กรมฯ ได้เพิ่มมาตรการทางด้านกฎหมาย โดยออกคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร พ.ศ. 2558 ภายใต้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เป็นการคุ้มครองสุขภาพประชาชนและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ 1. ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียส และไม่ใช้บรรจุอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง 2. สนับสนุน ส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติ หรือ ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ และ 3. กรมอนามัยทำหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ และแนวทางการรณรงค์ฯ และในปี 2559 จะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น หน่วยงานภาครัฐที่สังกัด สธ. หน่วยงานราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัดปลอดโฟม ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารแฟรนไชส์ สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์อาหาร และตลาดสด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้โฟม (No Foam) บรรจุอาหารใน สธ. ขณะนี้มีผู้ประกอบการค้าอาหารในโรงอาหารและตลาดนัด รวม 311 ราย สามารถดำเนินการเป็นองค์กรปลอดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 100% เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2557 สำหรับปี 2558 สธ. ได้ขยายพื้นที่การรณรงค์ไปยังหน่วยงานในสังกัด สธ. ทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาล ศูนย์วิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบนำร่อง 5 แห่ง ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนที่ร่วมลงนามความร่วมมือจำนวน 14 แห่ง โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินองค์กร หรือพื้นที่ปลอดโฟมบรรจุอาหารอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน และต้องใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งผลการประเมินมีหน่วยงาน 130 องค์กรทั่วประเทศ ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นพื้นที่ปลอดโฟม 100% รวมทั้งสิ้นจำนวน 9,492 แห่ง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีนั้น กรมอนามัยได้ดำเนินการภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. สร้างเขตพื้นที่ปลอดการใช้โฟมใส่อาหาร เช่น ทุกกรมใน สธ. ไม่มีการใช้โฟม แต่ใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย กล่องกระดาษ หรือกล่องพลาสติกชีวภาพ อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานสังกัด สธ. ทั่วประเทศร่วมรณรงค์ลด ละ เลิกการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่หน่วยงานราชการอื่น 2. ทดแทนโฟมด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติดั้งเดิม เช่น ใบตอง ใบบัวสำหรับห่อข้าว หรือ ขนม ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย ชานอ้อยผสมเยื่อไผ่ มันสำปะหลังซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ในเวลา 45 วัน ต่างจากโฟมที่ใช้เวลาย่อยสลายถึง 1,000 ปี และทดแทนด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. และ 3. ปฏิเสธการใช้โฟมทุกรูปแบบ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ โฟมด้วยวิธีต่างๆ เช่น ไม่ซื้ออาหารประเภทใส่กล่องโฟม (Say No To Foam)
“กรมฯ ได้เพิ่มมาตรการทางด้านกฎหมาย โดยออกคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง แนวทางการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟม (Polystyrene) บรรจุอาหาร พ.ศ. 2558 ภายใต้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เป็นการคุ้มครองสุขภาพประชาชนและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ 1. ไม่ใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียส และไม่ใช้บรรจุอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง 2. สนับสนุน ส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติ หรือ ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ และ 3. กรมอนามัยทำหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ และแนวทางการรณรงค์ฯ และในปี 2559 จะขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น เช่น หน่วยงานภาครัฐที่สังกัด สธ. หน่วยงานราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา โรงเรียน ชุมชน อำเภอ จังหวัดปลอดโฟม ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารแฟรนไชส์ สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์อาหาร และตลาดสด” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่