กรมควบคุมโรคเตือน มิ.ย. เป็นต้นไป เสี่ยงโรคฉี่หนูระบาด เหตุเข้าฤดูฝนและทำนา เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย เผยตั้งแต่ต้นปีพบป่วยแล้ว 378 ราย ตาย 5 ราย เกินครึ่งเป็นเกษตรกร ย้ำอย่าแช่น้ำนาน มีแผลไม่ควรลงลุยน้ำ หากจำเป็นต้องสวมถุงมือ รองเท้าบูตป้องกัน
วันนี้ (2 มิ.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝนและการทำนา ต้องเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิส หรือ โรคฉี่หนู ซึ่งจากขอมูลเฝาระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแตวันที่ 1 ม.ค. - 24 พ.ค. 2558 พบผูปวยโรคฉี่หนูแล้ว 378 ราย ในพื้นที่ 48 จังหวัด เสียชีวิต 5 ราย สวนใหญเป็นเกษตร รอยละ 52.1 และรับจาง รอยละ 22.8 ส่วนสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคฉี่หนู 6 ราย และพบผู้ป่วยสงสัย 82 ราย ซึ่งก่อนป่วยทั้งหมด มีประวัติไปขุดลอกคูคลอง จึงคาดว่าจะมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคฉี่หนูเพิ่มขึ้นตั้งแต่ มิ.ย. เป็นต้นไป โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 1 - 12 ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่ง และ อสม. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อป้องกันโรคและการดูแลเมื่อมีอาการป่วย ป้องกันการเสียชีวิต
“โรคนี้อาจติดเชื้อและป่วยซ้ำได้ ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยในคน โดยเชื้อจะอยู่ในฉี่ของสัตว์ โดยเฉพาะหนู ทั้งหนูนา หนูป่า หนูบ้าน หนูท่อ รวมทั้งสัตว์อื่นๆ เช่น สุนัข แมว โค แพะ แกะ เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน เยื่อบุของตา จมูก ปาก หรือผิวหนังปกติที่แช่น้ำเป็นเวลานาน และอาจติดเชื้อตรงจากการสัมผัสเชื้อและกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่" อธิบดี คร. กล่าวและว่า อาการของโรคฉี่หนู ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง มีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวขอให้รีบพบแพทย์ ยาซื้อยากินเอง เพราะอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการป่วยรุนแรงจนเสียชีวิตมีน้อยราย การป้องกันขอให้ 1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ 2. ผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อโรค เช่น เกี่ยวข้าว ดำนา ไม่ควรลงแช่น้ำขณะมีบาดแผล หากจำเป็นควรปิดบาดแผลให้มิดชิด และสวมถุงมือยาง ใส่รองเท้าบูทต 3. รีบล้างตัวทำความสะอาดทันทีเมื่อขึ้นจากแหล่งน้ำ และ 4. กำจัดขยะไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่